เรื่อง นวัตกรรมกล่องจุ่มจับคู่พยัญชนะไทย
ผู้วิจัย นางอลิสา ขาวรุ่งเรือง
ปีที่วิจัย 2567
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้นวัตกรรมกล่องจุ่มจับคู่พยัญชนะไทยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย หญิง อายุระหว่าง 3 4 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1/5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครระยอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จํานวน 22 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ (1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยกล่องจุ่มจับคู่พยัญชนะไทยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านพยัญชนะไทย ของเด็กปฐมวัยชั้นโรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครระยอง (2) แบบทดสอบพัฒนาการทางด้านการอ่านสําหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรม โดยใช้กล่องจุ่มจับคู่พยัญชนะไทย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าร้อยละและการ ทดสอบค่า (t test dependent)
สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ปรากฏว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้นวัตกรรมกล่องจุ่มจับคู่พยัญชนะไทย มีพัฒนาการด้านการอ่านพยัญชนะไทย ที่สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 และยังทำให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียน ตั้งใจในการเรียน จนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จึงเป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเป็นมา
เด็กเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าได้ต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและมีการศึกษา เด็กจึงควรได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วนทั้งในด้านของการเลี้ยงดู การเอาใจใส่ ความรัก ความอบอุ่น โดยเฉพาะในวัยของเด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์นับว่าเป็นวัยที่สำคัญที่สุดเพราะพัฒนาการทุกด้านเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องกันและเป็นพื้นฐานในการวางรากฐานของพัฒนาการทุกๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสติปัญญา ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" "การพัฒนาที่ยั่งยืน" และ "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" พัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีทักษะ ความรู้และความสามารถ ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ อาทิ ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาทักษะทางสมองและทางสังคมที่เหมาะสมตามวัย เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นมีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี 2560 -2564)
เด็กอายุ 3 - 6 ปี เป็นวัยที่สมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต เด็กต้องการความรักความเอาใจใส่ในการดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กวัยนี้มีโอกาสเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้สำรวจเล่น ทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา เลือกตัดสินใจ ใช้ภาษาความหมาย คิดริเริ่มสร้างสรรค์และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ผู้ที่รับผิดชอบจึงมีหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูและจัดประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมให้เด็กสังเกต สำรวจ สร้างสรรค์ และยิ่งเด็กมีความกระตือรือร้นยิ่งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบจึงต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่เด็กวัยนี้เป็นพิเศษ เพราะจะเป็นพื้นฐานที่ช่วยเตรียมพร้อมให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนและในชีวิตของเด็กต่อไป การนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแต่ละแห่ง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเด็ก (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560)
เด็กวัยปฐมวัย อายุ 1-3 ปีเป็นวัยที่มีการ เปลี่ยนแปลงทางสติปัญญามาก (Sower, 2000, p. 143; เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์, 2549, หน้า 99) มีพัฒนาการด้านการฟังและพูดอย่างรวดเร็ว พัฒนาการ การอ่านในช่วงนี้จึงส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนอ่าน เขียนและนิสัยรักการอ่าน ซึ่งจะติดตัวไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ (Gunning,1990, pp. 48-49; เม็ม ฟ็อกซ์, 2553, หน้า 88-89) จากการสำรวจด้านการอ่านหนังสือของ คนไทย พ.ศ.2551 พบว่า เด็กปฐมวัยที่มีผู้ใหญ่อ่านหนังสือ ให้ฟัง หรืออ่านหนังสือเองร้อยละ 36 คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3ของเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ (สำนักงานสถิติแห่ง ชาติ, 2552, หน้า 1-3) และจากการสำรวจสถานการณ์ศูนย์เด็กเล็กทุกสังกัดทั่วประเทศของสำนักอนามัย สิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552 พบว่า เด็กก่อนวัยเรียนอายุ2-5 ปีที่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กมีพัฒนาการเติบโตล่าช้ามากในด้านภาษา (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2554, ออนไลน์) ผลการสำรวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า เด็กไทยมีประสบการณ์การอ่านน้อย เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนจึงทำให้เกิดอุปสรรคในการเรียนอ่านที่ถือเป็นทักษะสำคัญที่ต้อง ใช้ในการเรียน (กรองแก้วฉายสภาวธรรม, 2537, หน้า 16-17) จากการศึกษาพบว่าเด็กที่ได้รับประสบการณ์ทักษะการอ่านเริ่มแรกมาตั้งแต่วัยทารกและวัยเตาะแตะ จะมีพื้นฐานในการเรียนอ่านดีกว่าเด็กที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน (Sower,2000, p. 140) เด็กที่มีประสบการณ์ด้านการอ่านมากกว่าจะมีพัฒนาการการอ่านดีกว่า มีความพร้อม ความสนใจ และความสุขเมื่อเรียนการอ่าน ในโรงเรียน (Stewig & Simpson, 1995, pp. 180 182; บังอร พานทอง, 2541, หน้า 24-25 อ้างถึงใน Cochrane et al., 1984) การปลูกฝังให้เด็ก วัยเตาะแตะรักการอ่านและมีทักษะการอ่านจึงเป็นแนวทาง ช่วยแก้ไขปัญหาคนไทยไม่อ่านหนังสือและไม่รักการอ่าน ได้(ปรีดา ปัญญาจันทร์, 2554, สัมภาษณ์) เกมการศึกษาเป็นกิจกรรม 1 ใน 6 กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้พัฒนาได้หลายๆ ด้าน รวมทั้งช่วยในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ โดยเฉพาะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นองค์ประกอบ และรากฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทางด้านสติปัญญา และเกมการศึกษาเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เล่น มีการสังเกต ช่วยให้มองเห็นในสิ่งที่ควรได้เห็น ได้ฟังหรือคิดอย่างรวดเร็ว เกมการศึกษาต่างจากการเล่นอย่างอื่น เช่น การเล่นตุ๊กตา เครื่องเล่นสนาม หรือเกมทางพลศึกษาตรงที่ว่าแต่ละชุดมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูกต้องหรือไม่ได้ด้วยตนเองและยังเป็นผลพลอยได้ตามมาอีกหลายประการ เช่น ฝึกให้เด็กจัดภาพให้ขอบเสมอกัน วางเรียงกันเป็นชุดๆ ให้เป็นระเบียบ นอกจากช่วยให้เด็กทำงาน เป็นระเบียบแล้วยังช่วยฝึกประสาทสัมผัสอีกด้วย ในการเล่นเด็กมักเล่นด้วยกันหลายคน เด็กเรียนรู้การเล่นร่วมกัน เด็กต้องพยายามปรับตนให้เข้ากับเพื่อนกิจกรรมเช่นนี้ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์และสังคม (วรรณี วัจนสวัสดิ์, 2552: 55)
ทักษะภาษาเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะภาษาเป็นพื้นฐานของการ เรียนรู้ในด้าน อื่น ๆและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทักษะภาษาประกอบไปด้วย การฟังการพูดการอ่าน และการ เขียน ซึ่ง ในระดับอนุบาลจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมของทักษะภาษาในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวอย่าง เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป โดยเฉพาะช่วงเชื่อมต่อของ การศึกษา ใน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 กับระดับชั้นระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ซึ่งในระดับชั้นระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 นี้มีการ ปรับเปลี่ยนในด้านเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้เชิงวิชาการที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจทางด้านภาษาเป็นอย่าง มาก ดังนั้น นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในสถานศึกษาปฐมวัยหลาย ๆ แห่งจึงมักถูกคาดหวังว่าจะต้องมี 2 ความพร้อมเพียงพอสำหรับการเรียนรู้วิชาการในระดับชั้นระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 และได้เน้นให้เด็กปฐมวัยมี ความรู้ความเข้าใจในด้านการรู้หนังสือมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้อย่าง เหมาะสมตามวัย บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงต้องให้ความสนใจต่อการจัดการศึกษาทั้งสองระดับเพื่อให้เด็ก สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงในช่วงรอยเชื่อมต่อได้เป็นอย่างดีสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างราบรื่น และประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายหลักสูตรที่กำหนดไว้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2561: 176) การรู้หนังสือเป็น สิ่งที่เด็กแสดงพฤติกรรมการอ่านเขียนขั้นต้นและการที่เด็กมีความรู้เกี่ยวกับ ตัวอักษรและเสียง ตัวหนังสือและ ภาพ คำและประโยค ความตระหนักเกี่ยวกับตัวอักษร ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับตัวอักษร และ การออกเสียงสะกดคำเบื้องต้น ซึ่งสังเกตได้จากการที่เด็กพยายาม ออกแบบข้อความสื่อสารโดยใช้สัญลักษณ์ ด้วยตนเอง รวมถึงการแทนที่คำด้วยพยัญชนะหนึ่ง สอง หรือสาม พยัญชนะ (ภิญญดาพัชญ์เพ็ชรรัตย์, 2554: 15) เมื่อเด็กมีทักษะการรู้หนังสือเบื้องต้นจะเป็นการนำไปสู่ความ พร้อมที่จะอ่านหนังสือต่อไป สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปีเด็กจะต้องสามารถบอกความแตกต่างของชุดพยัญชนะที่คล้ายกันได้ตามสมรรถนะของเด็กปฐมวัยใน การพัฒนาตามวัย 3 - 5 ปี(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2552: 99) ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความสามารถทักษะด้านการอ่านของนักเรียนชั้น อนุบาล 1/5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง(วัดตรีรัตนาราม) ซึ่งจากการสังเกต พบว่า นักเรียนมีปัญหาด้านการอ่าน กล่าวคือ ไม่ สามารถบอกหรืออ่านพยัญชนะที่มีความคล้ายคลึงกันได้ประกอบกับทักษะภาษาและการรู้หนังสือเป็น พื้นฐาน ของการสื่อสารเป็นทักษะกระบวนการที่เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดและมีการพัฒนาต่อเนื่องไปตลอด ทุกช่วงวัยซึ่งมี ความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะช่วงรอยต่อของการศึกษา หากไม่ได้รับการพัฒนาอาจจะส่งผล กระทบต่อทักษะ การอ่านของเด็กในอนาคต การศึกษาและทบทวนเอกสารด้านการพัฒนาการอ่านพยัญชนะที่สอดคล้องกับ ปัญหาดังกล่าว พบว่า เกมการศึกษาสามารถนำมาพัฒนาทักษะด้านการอ่านพยัญชนะได้และสามารถส่งเสริม ทักษะการอ่าน ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีการเรียนรู้ของกานเย (Gagne and briggs, 1974: 121- 136 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2563: 72-76) ที่กล่าวว่า การสนทนา ซักถาม ทายปัญหา หรือมีวัสดุอุปกรณ์ ต่าง ๆ สามารถ ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากสิ่งยั่วยุภายนอกและแรงจูงใจ ที่เกิดจากตัว ผู้เรียนเองด้วยที่กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว และมีความสนใจที่จะเรียนร้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่าการควรพัฒนาทักษะการอ่านพยัญชนะไทย โดยใช้นวัตกรรมกล่องจุ่มจับคู่พยัญชนะไทยของเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านพยัญชนะไทยของเด็กปฐมวัย และการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยต่อไป