ประเทศ ภายใต้แรงกดดันจากกระแสโลกาภิวัตน์ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2555) การจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงต้องปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองกับทิศทางการผลิตและ การพัฒนา กำลังคน ซึ่งในยุคศตวรรษที่ 21 ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ โดยทักษะที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) ที่มุ่งเน้นความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตลอดจน การเตรียมความพร้อม ด้านต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนเกิดการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ซึ่งเป็นระบบแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เป็นชุดโปรแกรมรวบรวมเนื้อหาใน ๘ ประเภทเนื้อหา รองรับการค้นหา และการกรองเนื้อหาตามหมวดหมู่เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง ๓ หมวดหมู่ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับชั้น และระบบทศนิยมดิวอี้ โดยเผยแพร่ ให้กับนักเรียน ครูผู้สอน บุคลากรทางการ ศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้เข้าใช้งาน ใช้เป็นคลังสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียน นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่รองรับระบบการดาวน์โหลดและเข้าถึงแอปพลิเคชันผ่านช่องทาง Play Store, Apple ios, Windows และ Website ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการตามหลักนโยบาย และจุดเน้น ประจำปีงบประมาณ 2567 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2564) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรพลิกโฉมระบบการศึกษาไทยด้วยการนํานวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษา
ดังนั้นเพื่อให้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดังกล่าวมีความสอดคล้องกับขอบข่ายการเรียนรู้ตามแผนพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนในทุกมิติให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถนําสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัลและแพลตฟอร์มการเรียนรู้นี้ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ผู้สอน และสถานศึกษา ทั้งนี้โรงเรียนบ้านหาดจิก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ในสถานศึกษา ให้นักเรียน และครูผู้สอนได้พัฒนาสื่อการสอน แผนการสอน นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 วัตถุประสงค์
1. เพื่อขับเคลื่อนและสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับนักเรียน และครูผู้สอนเกี่ยวกับระบบ OBEC Content Center
2. เพื่อนิเทศ ติดตาม ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ในการพัฒนาการสอนของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วย C-BIO Model ผ่านกระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพของครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านหาดจิก ด้านการจัดการเรียนรู้ สื่อ และนวัตกรรมด้วยระบบ OBEC Content Center
1.2.2 เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนของโรงเรียนบ้านหาดจิกจำนวน ๖๐ คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
2) ร้อยละ 70 ของครูโรงเรียนบ้านหาดจิกเกิดการเรียนรู้ และนำสื่อจากระบบ OBEC Content Center มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3) ร้อยละ 70 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหาดจิก สามารถเข้าใช้งาน และค้นคว้าข้อมูล ผ่านระบบ OBEC Content Center ได้
เชิงคุณภาพ
1) ครูในสถานศึกษามีผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้กับสถานศึกษา เป็นแหล่งข้อมูลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนได้
2) โรงเรียนมีการรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) ของสถานศึกษาเป็นการจัดทำสรุปผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่สะท้อนภาพความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพครูและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา จากการขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ในสถานศึกษา