ผู้วิจัย อุษณา ป้อมลิขิตกุล
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 230 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 โรงเรียนดงดาวแจ้งพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครพนม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน พร้อมชุดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 24 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย
1.1 หลักการของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเอง
1.2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มุ่งเน้นเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาทักษะอาชีพโดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เนื้อหาของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความรู้ 2) ขั้นขยายความรู้ 3) ขั้นปรับสมดุลทางปัญญา 4) ขั้นพัฒนาโดยใช้การคิดสร้างสรรค์ และ 5) ขั้นการบูรณาการสู่สังคม
1.3 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และในระหว่างการดำเนินกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน ใช้แบบประเมินโครงงาน การสังเกตการณ์แสดงออกเป็นรายบุคคล การนำเสนอผลงาน เพื่อประเมินการเกิดหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางปัญญา แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.31 และ 27.00 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียนพบว่า คะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ตามเกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2545) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.31 โดยที่รายการที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ข้อ 4 กิจกรรมการเรียนการสอนนี้ทำให้สรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง (x̄ = 4.65, S.D. = 0.48) และข้อ 12 กิจกรรมการเรียนการสอนสามารถศึกษาได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน (x -bar = 4.65, S.D. = 0.48) รองลงมาคือ ข้อ 13 รูปแบบการเรียนการสอนนี้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (x̄ = 4.64, S.D. = 0.48) และรายการที่มีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ข้อ 9 รูปแบบการเรียนการสอนนี้ทำให้กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น (x̄ = 4.32, S.D. = 0.47)