1. ความเป็นมาและความสำคัญ
ในปัจจุบันวงการการศึกษาโลกกำลังให้ความสนใจในเรื่องของการศึกษาไร้พรมแดนเป็นอย่างมาก ด้วยแนวคิดที่ว่า การศึกษาดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 และเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและครูผู้สอน ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำคลังเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ OBEC Content Center เพื่อเป็นตัวช่วยนักเรียนและครูเรียนรู้อยู่ที่บ้านหรือในทุก ๆ ที่ซึ่งคลังเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ OBEC Content Center คือ โปรแกรมสำหรับให้บริการเผยแพร่เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์แก่นักเรียน ครู ศึกษานิเทศ และบุคลากรทางการศึกษา สามารถใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารพกพาได้ทุกที่ทุกเวลา และสื่อสังคมออนไลน์ทำให้การสื่อสารในปัจจุบัน มีการพัฒนาอย่าง รวดเร็ว และพัฒนาการออกแบบสื่อต่าง ๆ ออกมาหลายรูปแบบ เช่น Infographic ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในโลกของ Social Network มานำเสนอให้น่าสนใจ และทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน
จากรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานที่ทางสถานศึกษากำหนดไว้ เมื่อทำการวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคลโดยกระบวนการทดสอบ การสอบถาม และการสังเกต จึงพบปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลต่อการเรียนภาษาอังกฤษจำนวน 3 ประการ ได้แก่ 1) นักเรียนขาดความรู้ด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เนื่องจาก โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมค่อนข้างเยอะ และในรายวิชาภาษาอังกฤษส่วนใหญ่คาบเรียนจะเป็นช่วงเวลาก่อนพักกลางวันหรือคาบสุดท้ายก่อนกลับบ้าน จึงต้องย่นระยะเวลาในการสอนลง ทำให้เวลาเรียนไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอื่น ๆ ด้วย คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และ ทักษะการเขียน 2) นักเรียนขาดความรู้เรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการเรียน กล่าวคือนักเรียนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในด้านการศึกษาได้ และ 3) นักเรียนขาดเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ เนื่องจากนักเรียนเกิดความกังวลและความเครียดในการเรียน การทำกิจกรรมในห้องเรียน และการวัดผล ประเมินผล ครูจำเป็นจะต้องปรับวิธีการเรียนการสอน (Pedagogy) ตามรูปแบบการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนการสอนแบบ Hybrid Learning คือ การนำส่วนที่ดีที่สุดของรูปแบบการเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ คือ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และส่วนที่ดีที่สุดของการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน คือ การมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง มาผสมผสานจนเกิดรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ซึ่งยังคงเน้นความสำคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนด้วยกันเอง แต่สิ่งที่ต่างออกไปจากชั้นเรียนธรรมดาคือมีการปฏิสัมพันธ์การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น และนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เว็บไซต์ OBEC Content Center และออกแบบวิธีการสอนที่เหมาะสม เข้าไปในกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียน ซึ่งวิธีการเรียนการสอนดังกล่าวจะสอดคล้องกับการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยนักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจเรียน เพื่อก่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจใหม่ ๆ ด้วยตนเอง และสามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ทางออนไลน์กับชั้นเรียนเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ
โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ จึงได้ออกแบบนวัตกรรม ห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบ Hybrid Learning ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) ขึ้น โดยการสอดแทรกคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการของโรงเรียนคุณธรรมไปด้วย คือ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ และอุดมการณ์คุณธรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาด้านการเรียนและส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดีมีคุณภาพในยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนควบคู่ไปกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้ห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบ Hybrid Learning ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center)
2.1.2 เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการศึกษา
2.1.3 เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ และมีคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการของโรงเรียนคุณธรรม
4. ผลการดำเนินงาน
4.1 ผลที่เกิดขึ้นบรรลุตามกิจกรรม
จากผลการใช้ห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบ Hybrid Learning ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) พบว่านักเรียนมีการปรับเปลี่ยนด้านพฤติกรรมการเรียนมากขึ้น ดังนี้
4.1.1 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิซา ภาษาอังกฤษ ระดับดีมากขึ้นไป (เกรด 3) คิดเป็นร้อยละ 35.29 และในปีการศึกษา 2566 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ ระดับดีมากขึ้นไป (เกรด 3) คิดเป็นร้อยละ 68.75 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2565 คิดเป็นร้อยละ 33.46 และผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ (O-Net) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2565 และ ปี 2566 เพิ่มขึ้น 5.58 คิดเป็นร้อยละ 17.01
4.1.2 นักเรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการศึกษา โดยมีสมรรถนะด้านเทคโนโลยี ในปีการศึกษา 2566 ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 87.50
4.1.3 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ และมีคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการของโรงเรียนคุณธรรม โดยมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในรายวิชาภาษาอังกฤษ ระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 81.25
4.2 ประโยชน์ที่ได้รับ
4.2.1 ด้านนักเรียน
1) นักเรียนสามารถนำความรู้ด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ มีความพยายามมุ่งมั่นในการเรียนรู้และพัฒนา ทักษะความสามารถ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี คือ สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิด ประโยชน์กับการเรียนมากขึ้น เช่น สืบค้นข้อมูล ฝึกทักษะต่าง ๆ และใช้เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ อีกด้วย
2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดการทำงานอย่างมีระบบและมีเหตุผลมากขึ้น สามารถวิเคราะห์ ปัญหาด้านการเรียนของตนเองและวางแผนการพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นระบบ เช่น นักเรียน สามารถแก้ปัญหาด้านการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของตนเองได้ โดยการใช้เครื่องมือประเภท Grammarly for Chrome นักเรียนมีความพยายามมุ่งมั่นในการฝึกฝนตนเอง และสามารถพัฒนาทักษะการใช้ไวทยากรณ์ภาษาอังกฤษของตนเองได้
3) นักเรียนใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในด้านการเรียนมากขึ้น สนุกไปกับการเรียนรูปแบบใหม่ ทำให้ผลการเรียนสูงขึ้น มีเจตคติต่อการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น
4) นักเรียนมีวินัยในการเรียนและการพัฒนาตนเองมากขึ้น มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาจุดด้อยของ ตนเอง พัฒนาทักษะทางภาษาต่าง ๆ ได้แก่ ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ด้วย รูปแบบวิธีการที่ถูกต้องโดยการเลือกใช้แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม และยังสามารถจัดสรรเวลาใน การฝึกฝนตนเองนอกห้องเรียนได้อีกด้วย
4.2.2 ด้านครูผู้สอน
1) เป็นสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการใช้งานโปรแกรม Scratch ในการสร้างเกม ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน ชั้นเรียนของตนได้หรือพัฒนาเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้
2) เป็นสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และจุดหมายของหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่เน้นสมรรถนะผู้เรียน มาตรฐาน และตัวชี้วัด ที่ นำไปสู่การปฏิบัติโดยเฉพาะสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่มุ่งให้เกิด ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการคิด
4.2.3 ด้านโรงเรียน
โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) ที่เปรียบเสมือนห้องสมุดออนไลน์ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ทุกรายวิชา
5. บทเรียนที่ได้รับ
5.1 ความเข้าใจในการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Hybrid Learning ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) สามารถวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยการนำเทคโนโลยี สื่อ ICT สื่อการเรียนการสอนจากระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) เข้ามาเพื่อใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดกรรมต่าง ๆ ใน ห้องเรียน การเลือกเนื้อหาให้เหมาะสมกับนักเรียน และการเลือกวิธีการวัดผลประเมินผลให้เหมาะสมกับทักษะแต่ละประเภท และตรงตามตัวชี้วัด เพื่อจะที่ดำเนินกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.2 การทำงานร่วมกันเป็นทีม ทั้งครู ผู้บริหาร นักเรียน และผู้ปกครอง มีการร่วมกันวางแผนการทำงานมีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ และแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นแล้การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักเรียน ผู้ปกครอง บุคคลภายนอกและชุมชน ยังเป็นอีกแรง ขับเคลื่อนที่ช่วยให้การดำเนินงาน ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ สำเร็จได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
5.3 การนำระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) มาเริ่มใช้ นักเรียนอาจไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน ครูควรให้คำแนะนำและสร้างความเข้าใจการใช้งานระบบที่ถูกต้อง นักเรียนสามารถต่อยอดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ ได้ เผยแพร่ให้กับครูผู้สอนในโรงเรียนให้ใช้เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น รวมทั้งแนะนำวิธีการใช้ให้กับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้เรียนรู้และใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกัน และควรมีการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับขอบข่ายการเรียนรู้ ครอบคลุมทั้งระบบแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ และครูควรพัฒนาตนเองจากผู้ใช้สื่อเป็นผู้สร้างสื่อที่เหมาะสม สามารถนำมาใช้กับบริบทของสถานศึกษาให้มากยิ่งขึ้น
6. ปัจจัยความสำเร็จ
ห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบ Hybrid Learning ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) จะประสบความสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น มีปัจจัยสำคัญ คือ การใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องตามหลักการทฤษฎีที่กำหนด ศึกษาวิธีการนำระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) ไปใช้ให้หลากหลาย วิธีการที่ช่วยให้ปะสบความสำเร็จ คือ ครูผู้สอนต้องมีทักษะและความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนถ่องแท้ต่อการออกแบบการสอนในเชิงปฏิสัมพันธ์ การใช้รูปแบบการเรียนแบบ Hybrid Learning และระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลักสูตรที่ออกแบบหรือกำหนดไว้ โดยนวัตกรรมนี้ ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ฝ่ายงานวิชาการ คณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีส่วนช่วยให้ครูสามารถนำนวัตกรรมการสอนที่คิดค้นขึ้นไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนได้สำเร็จ การวางแผนการทำงานกันอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ที่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน การศึกษาหาความรู้เทคนิควิธีการสอนจากงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ครูครูสามารถนำโลกแห่งความจริงปัจจุบันเข้าสู่ห้องเรียนได้ นักเรียนมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น เพราะนักเรียนสามารถเลือกเรียนรู้และฝึกฝนทักษะความสามารถของตนเองจากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่มีประโยชน์ ตรงตามหลักสูตร เข้าศึกษาเรียนรู้จากคลังสื่อด้วยตนเองได้จากทุกที่ทุกเวลา