ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ว ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center
ผู้เสนอผลงาน นางสาวนวพร อินทร์ทองดี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนวัดจำปา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ผลงานประเภท
ครูผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center
ความเป็นมาและความสำคัญ
ปัจจุบันโลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ของทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน กระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ผู้สอนจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษ ที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ดังกล่าว
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลายโดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้ ความรู้ ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จนักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้ความยืดหยุ่นและการปรับตัวการริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคปัจจุบันที่ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่อเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว จากหลากหลายรูปแบบ บนอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงได้อย่าง โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเลต เป็นต้น สื่อสังคมออนไลน์ คือ สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคมเพื่อใช้ในการสื่อสารกันระหว่างบุคคลในสังคม ผ่านเว็บไซต์หรือโปรแกรมประยุกต์ ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง ในรูปแบบของ รูปภาพ ข้อมูล เสียง VDO ผู้คนเชื่อมต่อถึงกันโดยอาศัยสื่อสังคมออนไลน์เป็นตัวเชื่อม อันประกอบไปด้วย Facebook TikTok Youtube Line Instagram จากการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคปัจจุบันทำให้ผู้คนมีการตื่นตัวในหลายด้านไม่เว้นแม้แต่ด้านการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายด้านการพลิกโฉมระบบการศึกษาไทยด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาในทุกระดับการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบาย เรียนดี มีความสุข เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งมีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้โดยผู้เรียน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายให้ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ทันสมัย และ การบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการเรียนรู้ของ ผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ที่นักเรียน ครูและ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและประชาชน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ได้ทุกอย่างเท่าเทียมทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา โดยได้จัดทำระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ที่ให้บริการสำหรับผู้ใช้งานตั้งแต่ระดับนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ใช้งานทั่วไป ได้สามารถเข้าถึงและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เป็นชุดโปรแกรมรวบรวมเนื้อหาใน 8 ประเภทเนื้อหา ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอ รูปภาพ เสียง แอฟพลิเคชัน ข้อสอบ เทมเพลต และมัลติมีเดีย โดยสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้จากหลากหลายอุปกรณ์ ได้ทุกที่ ทุกเวลา การใช้งานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) แบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ใช้สื่อ และผู้สร้างสื่อ ในรูปแบบดิจิทัลแล้วนำสื่อเข้าสู่ระบบคลังสื่อ
โรงเรียนวัดจำปาได้จัดให้มีการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมีนโยบาย ในการพัฒนาครูและบุคลากรของสถานศึกษาให้มีศักยภาพในการพัฒนาสื่อนวัตกรรม สภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ คุณครูฝ่ายวิชาการได้ไปอบรม และได้รับรางวัล ได้นำการฝึกอบรมมาขยายผลต่อยอดการเข้าใช้งานระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยเฉพาะสาระที่ 1 การอ่าน และ สาระที่2 การเขียน การจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญในการพัฒนานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้อ่านออกเขียนได้ เนื่องจากเป็นทักษะที่สำคัญต่อพัฒนาการหลายๆ วิชาของผู้เรียน ถูกจัดอยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 1 และสาระที่ 2 มาตรฐานการเรียนรู้ ท 1.1 ป.2/1 อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความสั้น ๆ ท 1.1 ป.1/2 บอกความหมายของคำ และข้อความที่อ่าน
ท 2.1 ป.2/2 อธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่าน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ ฝึกอ่าน ฝึกเขียน คำควบกล้ำ ว ให้นักเรียนได้อ่านออกเขียนได้ และเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข และสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนจะต้องเกิดทักษะ 3 ด้านคือ ทักษะดานการเรียนรูและนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีและทักษะชีวิตและอาชีพ
ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หรือการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างดียิ่ง
จากความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะ ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม เช่นด้านการอ่าน หากนักเรียนมีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ในการเรียนรู้แล้ว จะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ดังนั้นผู้ศึกษาจึงให้ความสนใจระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ที่มีสื่อเพื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ให้เลือกอย่างหลากหลาย มีความตื่นเต้นน่าสนใจ ทั้งรูปภาพประกอบที่มีสีสัน บางประเภทเป็นสื่อภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ ช่วยครูผู้สอนประหยัดเวลาในการเตรียมการสอน หรือหากครูผู้สอนจะทำการสร้างหรือผลิตสื่อเอง และนำสื่อเข้าสู่ระบบก็สามารถทำได้เช่นกัน ผู้ศึกษาได้ทำการคัดเลือกสื่อที่ได้จากเข้าใช้งานในระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) เรื่อง คำควบกล้ำ ว ของนางบุศรา สำเร โรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อประกอบในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็นเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 คำควบกล้ำ ว ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มากยิ่งขึ้น และส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การอ่านการเขียนคำควบกล้ำ ว ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center
2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อ่านออกเขียนได้
3. เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาภาษาไทย
เป้าหมาย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 29 คน ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดจำปา อำเภออุทัย
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ครูผู้สอนเข้าประชุมกับคณะครูโรงเรียนวัดจำปา นำโดยท่านผู้อำนวยการโรงเรียนและคุณครูที่ได้รับ
รางวัล ปี 2566 มาแนะนำให้ความรู้ การใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
2. วางแผน เพื่อกำหนดเนื้อหาในเรื่องที่ต้องการฝึกฝนทักษะให้กับนักเรียน สำหรับเนื้อหาที่ต้องการ
ให้นักเรียนเกิดทักษะ คือ การอ่านเขียนคำควบกล้ำ ว ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยนำรูปแบบการเรียนแบบเชิงรุก (Active Learning) มาใช้ในการ
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
4. นักเรียนเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติตามสื่อการจัดการเรียนรู้ คำควบกล้ำ ว ผ่านระบบคลังสื่อ
เทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ร่วมนำเสนอ และอภิปรายความรู้ที่ได้จากการศึกษาในระบบคลังสื่อ
5. สร้างและใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน หลังเสร็จสิ้นการเรียนรู้ การอ่านเขียนคำควบกล้ำ ว ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) บันทึกและสรุปผลการจัดการเรียนรู้พร้อมทั้งระบุปัญหา และอุปสรรค นำผลที่ได้ มาวิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่พบระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6. เผยแพร่ผลงานการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนวิชาภาษาไทย ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2 การอ่านเขียนคำควบกล้ำ ว ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center บนเว็บไซต์
ผลการดำเนินงาน
ผลที่เกิดขึ้นบรรลุตามกิจกรรม
ผลที่เกิดกับนักเรียน
1. นักเรียนได้เรียนรู้การอ่านเขียนคำควบกล้ำ ว ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC
Content Center คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2. นำผลการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชา
ภาษาไทยต่อไปในอนาคต และนักเรียนอ่านเขียนคำควบกล้ำ ว ได้ทุกคน
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาภาษาไทย มีความสุขในการเรียนรู้และ
มีความชอบในการเรียนการอ่านการเขียนคำควบกล้ำ ว
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียน ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนคำควบกล้ำ ว จนอ่านออกเขียนได้
ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center
2. ครูมีคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน
รายวิชาอื่นๆต่อไป และสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผู้สร้างและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
3. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
OBEC Content Center ที่เปรียบเสมือนห้องสมุดออนไลน์ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ทุกรายวิชา