ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะ
การเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นายเกษม สุทธิสาร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์
อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ปีที่วิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนารูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ซึ่งแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟุตบอล ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระยะที่ 4 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบ
การสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 35 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เพื่อให้สะดวกในการจัดการเรียนรู้ และตรงตามตารางเรียนของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า
ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอน รูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการเรียนรายวิชาฟุตบอล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ด้วยสถานการณ์เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด19 อย่างรุนแรง ทำให้การจัดเรียนการสอนที่ผ่านมา เป็นการสอนเน้นเนื้อหารูปแบบ Online มากกว่าการปฏิบัติจริง ผู้เรียนยังมีปัญหาเรื่องทักษะการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง ไม่สามารถนำทักษะมาเชื่อมโยงในการเรียนรายวิชาพลศึกษาหรือพัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอลและเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ขาดการฝึกพื้นฐานทักษะการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องต่อเนื่อง นักเรียน
มีสมรรถภาพทางกายที่ต่ำลง ทั้งในด้านความเร็ว ด้านความคล่องแคล่ว ว่องไว ผู้เรียนมีความเบื่อหน่ายในรูปแบบการสอน ครูขาดเทคนิคการสอนใหม่ๆ ไม่มีความท้าทาย ขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอนที่ขาดสื่อนวัตกรรมที่ทันสมัยและไม่มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม ให้เกิดประสบการณ์ ส่งผลให้มีปัญหา ไม่สามารถพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษา กีฬาฟุตบอลให้สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบ Active Learning ให้มีความเข้มข้นขึ้นมาอีก โดยเน้นการเรียนแบบโค้ช (Coaching) นั้นคือ ครูนำหลักการวิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา (Science of coaching) มาใช้ในการวางแผน การออกแบบชุดฝึกทักษะ และการจัดรูปแบบกิจกรรม วิธีการสอน ตลอดจนการจัดขั้นตอนการฝึก เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องให้กับผู้เรียนแต่ละบุคคลได้อย่างถูกต้อง และชุดฝึกทักษะนี้มีลักษณะใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงสภาพที่ใช้จริง
ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากกระบวนการจัดทำรูปแบบการสอนโดยอาศัยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ผู้วิจัยได้ศึกษาและทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบและวิธีการที่เหมาะสม จึงทำให้รูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสม
ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ การจัดการเรียนการสอน รายวิชาฟุตบอล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีการนำแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ
มาประกอบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน ประสิทธิภาพของ รูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 94.05/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.7012 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.12
ระยะที่ 4 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบโค้ช (COACHING) ประกอบแบบฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบ SAQ รายวิชาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในระดับพึงพอใจมากที่สุด