1. ความเป็นมาและความสำคัญ
การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนบุคลากรทางการศึกษา และ ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานระบบสร้างสื่อระบบคลังข้อสอบ และการใช้สื่อทั้งระบบ Online และ Offline มาประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ. , ๒๕๖๕)
OBEC Content Center เป็นแอปพลิเคชันสำหรับเข้าถึงและใช้งานเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ใน 8 ประเภทเนื้อหา ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แอปพลิเคชั่น วีดิทัศน์ เสียง ภาพ ข้อสอบ เทมเพลต และแฟลชมัลติมีเดีย รองรับการค้นหาและการกรองเนื้อหาตามหมวดหมู่เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 3 หมวดหมู่ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น และระบบทศนิยมดิวอี้ ชุดโปรแกรมและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ครบวงจรที่ครอบคลุมประเภทเนื้อหามากที่สุด และรองรับการใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ Authoring Tool (AT): สร้างและอัปโหลดเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ Content Verification System (CVS): ตรวจสอบเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ Content Center (CC): ใช้งานเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ Content Management System (CMS): บริหารจัดการเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ และ Local Content Server (LCS): ให้บริการเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ (สพฐ. ,๒๕๖๗)
2. วัตถุประสงค์
๒.๑ วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(OBEC Content Center) ด้วย KN TPACK MODEL โรงเรียนบ้านเข็กน้อย
2.1.2 เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
2.1.3 เพื่อพัฒนาครูให้ใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) และนำไปประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
๒.๒ เป้าหมาย
2.2.1 เชิงปริมาณ
- ครูผู้สอนร้อยละ 100 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
- ครูผู้สอนร้อยละ ๑๐๐ ใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) และนำไปประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
2.2.2 เชิงคุณภาพ
- โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(OBEC Content Center)
- ครูผู้สอนใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) และนำไปประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. วิเคราะห์สภาพบริบทของสถานศึกษา ศึกษาสภาพบริบทของชุมชนในการวางแผนพัฒนาคุณภาการศึกษา จัดทำข้อมูลสารสนเทศการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) สังเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
2. ออกแบบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(OBEC Content Center) ด้วย KN TPACK MODEL
3. ประชุมวางแผนการดำเนินงานรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ด้วย KN TPACK MODEL
3.1 พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา การพัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
3.2 ครูแกนนำขยายผลการอบรมพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
3.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหารส่งเสริมและสนันสนุนให้มีการสร้างสภาพแวดล้อมบรรยากาศตั้งแต่ระดับอนุบาลหรือประถมศึกษาให้เป็นระบบที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลา ส่งเสริมการประยุกต์ใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยชุมชนทางวิชาชีพหรือ PLC มาใช้เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีคุณภาพ
3.4 ครูผู้สอนใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) และนำไปประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
4. การดำเนินงานรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ด้วย KN TPACK MODEL
5. การนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ด้วย KN TPACK MODEL
๖. สรุปผลรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ด้วย KN TPACK MODEL
๗. เผยแพร่รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ด้วย KN TPACK MODEL
4. ผลการดำเนินงาน
1. โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ด้วย KN TPACK MODEL
2. ครูผู้สอนร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
3. ครูผู้สอนร้อยละ ๑๐๐ ใช้งานระบบสร้างสื่อ และการใช้สื่อจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) และนำไปประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
5. บทเรียนที่ได้รับ
1. รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ด้วย KN TPACK MODEL ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสถานศึกษา โดยบุคลากรมีการปรับเปลี่ยนมาให้ความสําคัญกับการนําเทคโนโลยีมาใช้ในพัฒนางานเพิ่มมากขึ้น
2.การพัฒนางานร่วมกัน ความจริงจังในการปฏิบัติงาน การทํางานเป็นทีม การมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันในการปฏิบัติงาน ความร่วมมือร่วมใจ การเอาใจใส่ เสียสละ การอุทิศตนของบุคลากร ส่งผลให้งานประสบผลสําเร็จได้ผลงานที่มีคุณภาพ
6. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
๖.๑ ผู้บริหารสถานศึกษามีวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
๖.๒ ความพร้อมของสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ในด้านสื่อและอุปกรณ์
๖.๓ ครูผู้สอนมีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ทั้งด้านการสร้างสื่อ และการใช้สื่อ
7. การเผยแพร่
- การจัดนิทรรศการและเปลี่ยนเรียนรู้ที่โรงเรียนบ้านเข็กน้อย
- การเผยแพร่บนเว็บไซต์ของโรงเรียน