ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

A Development of Achievement And Innovative Thinking for Mathayom Suksa 4 students by Project-based Learning

ยุภาวดี พลเยี่ยม1

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

2) เพื่อพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนโพนทองวิทยายน จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 12 แผนการเรียนรู้ แผนละ 1 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินชิ้นงาน/ผลงาน แบบ rubric score แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน และแบบสัมภาษณ์นักเรียน เนื้อหาในการวิจัย ได้แก่ สาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 ตัวชี้วัด ระยะเวลาในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

บทนำ

ภูมิหลัง

การจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องและตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีการขับเคลื่อนโดยการพัฒนาโดยใช้การเรียนรู้ องค์ความรู้ และนวัตกรรมในการพัฒนาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ แนวคิด กระบวนการที่จะสามารถสร้างนวัตกรรมด้วยตนเอง มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติจึงมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้ทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย ทักษะและ คุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 )

จากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสุขศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพนทองวิทยายน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสุขศึกษา ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ถึงแม้ผู้เรียนจะมีความคิดว่าเป็นวิชาที่ง่ายและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามกระบวนการที่ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้ศึกษาค้นคว้าได้พบว่า ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผู้เรียนที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ตามตัวชี้วัดในเรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ เป็นจำนวนมากคิดเป็นร้อยละ 57.14 จากนักเรียน 20 คน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ต่ำ มีคะแนนเฉลี่ยของการสอบปลายภาคเรียนที่ 1/2565 คือ ร้อยละ 64.06 ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดคือ ร้อยละ 75 และนอกจากนี้จากการวิเคราะห์แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ในประเด็น พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่า นักเรียนขาดความสนใจในการ ทำกิจกรรมกลุ่ม ไม่สามารถแบ่งงานที่รับมอบหมายอย่างเหมาะสม ตลอดจนนักเรียนไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดจินตนาการจากนามธรรมเป็นรูปธรรมในเกณฑ์ รวมถึงการวางแผนในการทำงานหรือแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนสุขศึกษา เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูถึงแม้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะปฏิบัติ และเจตคติ แต่รูปแบบของกิจกรรมยังทำให้ผู้เรียนไม่ได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยวิธีของตนเองที่มีความสนใจและลองคิดสิ่งใหม่ๆในการแก้ไขปัญหา คือการคิดเชิงนวัตกรรมโดยจะประกอบไปด้วยทักษะ ต่าง ๆ ในการพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรม โดยการคิดเชิงนวัตกรรมคือ การคิดหรือกระบวนการแก้ไขปัญหาโดยการค้นหา การผสมผสานและจัดเรียงจากข้างในเพื่อให้ได้แนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆ (Weiss and Legrand. 2011) โดยทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมประกอบด้วย 6 ทักษะดังนี้ 1.การใส่ใจหรือเอาใจใส่ 2.การเห็นคุณค่าคุณลักษณะส่วนบุคคล 3.การถ่ายทอดจินตนาการ 4.การเล่นอย่างจริงจัง 5.การร่วมมือในการสืบค้น 6.การปั้นแต่ง ซึ่งจากนิยามของ วีชและเลแกนด์ ผู้วิจัยเห็นความสอดคล้องของการจัดการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่จะนำไปสู่การคิดเชิงนวัตกรรมข้างต้นคือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (project based learning) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กำหนดสิ่งที่สนใจ แนวทาง วิธีการแก้ไขปัญหา รวมถึงกระบวนการทำงานอย่างเสรีอหลากหลายมิติผ่านกระบวนการกลุ่ม เป็นไปตามหลักแนวคิดของการเรียนรู้ constructionist ผู้เรียนจะมีอิสระในการเลือกทำโครงงานตามความสนใจของตนเองอย่างเสรีกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงการที่ตนสนใจ โดยร่วมกันสำรวจ สังเกต และกำหนดเรื่องที่ตนสนใจ วางแผนในการทำโครงการร่วมกัน ศึกษาหาข้อมูลความรู้ที่จำเป็น และลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้จนได้ข้อค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ แล้วจึงเขียนรายงานและนำเสนอต่อสาธารณชน เก็บข้อมูล แล้วนำผลงานประสบการณ์ทั้งหมดมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกัน และสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ที่ได้รับทั้งหมด (ทิศนา แขมมณี. 2560) การเรียนรู้ผ่านโครงงานเป็นฐานจึงมีจุดประสงค์เพื่อค้นพบความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ และวิธีการใหม่ด้วยตัวของผู้เรียนเองโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา ความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์. 2553) โดยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชาที่ผู้สอนกำหนดไว้ เริ่มจากการกำหนดสถานการณ์ปัญหาร่วมกันภายในกลุ่ม สู่การตั้งสมมติฐาน การออกแบบกระบวนการในการแก้ไขปัญหาหรือสร้างชิ้นงาน ตามกระบวนการที่วางแผนไว้ สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกคนอย่างมีความสุขเพราะเป็นปัญหาที่ผู้เรียนให้ความสนใจร่วมกัน ครูมีบทบาทในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวทางในการแก้ปัญหาของผู้เรียนทำหน้าที่สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานจึงเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะกระบวนการ ในการแก้ไขปัญหาอย่างเสรีนำไปสู่การคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรมที่เป็นทักษะที่สำคัญของเด็กในในยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นการพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมผู้วิจัยได้นำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ประเภทโครงงานสิ่งประดิษฐ์ โดยยึดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของ (วิมลศรี สุวรรณรัตน์. 2550) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนา ซึ่งมีความสอดคล้องกับทักษะที่เป็นองค์ประกอบของการคิดเชิงนวัตกรรม (Horth and Buchner. 2009) ดังนี้ ขั้นนำผู้เรียนรับรู้จุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียน ขั้นทบทวนความรู้เดิมผู้เรียนแสดงออกถึงความรู้เดิมโดยการอภิปรายกลุ่ม ขั้นปรับเปลี่ยนแนวคิดผู้เรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติในการแสวงหาความรู้ ขั้นสร้างความรู้ผู้เรียนนำเสนอผลงาน จากข้อค้นพบและมีการประเมินผลงาน ขั้นนำความรู้ไปใช้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ประเภทโครงงานสิ่งประดิษฐ์ จึงเป็น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้เกิดกระบวนการคิดเชิงนวัตกรรมแก่ผู้เรียน ผู้เรียนจะมีการใส่ใจหรือเอาใจใส่ในประเด็นปัญหาตามจุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษาที่ครูนำเสนอในขั้นกระตุ้นความสนใจ ผ่านการเห็นคุณค่าคุณลักษณะส่วนบุคคลในกิจกรรมการทำงานกลุ่มและร่วมกันกำหนดปัญหาที่สนใจอย่างเสรี ผ่านการถ่ายทอดจินตนาการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ มีความสุข ในการลงมือปฏิบัติงานผ่านการค้นคว้าในบรรยากาศการเล่นอย่างจริงจังด้วยกระบวนการร่วมมือในการสืบค้นเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสร้างชิ้นงานเพื่อส่งเสริมสุขภาพตามรายวิชาสุขศึกษาสู่การปั้นแต่ง โดยการคิดอย่างสร้างสรรค์ ครบตามทักษะที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิดเชิงนวัตกรรมได้ ครูจะสามารถประยุกต์ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา เพื่อที่จะพัฒนาทักษะการคิดเชิงวัตกรรมแก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่องให้มีคุณในระดับสูงขึ้นไป ทำให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียนเพราะเป็นรูปแบบกิจกรรมที่สามารถปรับให้ทันสมัย ไม่ยึดรูปแบบการสอนแบบเดิม โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานครูทำหน้าที่บริหารจัดการชั้นเรียนและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้เครื่องมือที่มีมาตรฐานทำให้การจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา มีความหมายมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสุข เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ตามกระบวนการคิดเชิงนวัตกรรม

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

2.เพื่อพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

วิธีการดำเนินการวิจัย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนโพนทองวิทยายน จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดจำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน สาระการเรียนรู้สุขศึกษา การ

สร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 แผน 12 ชั่วโมง

2. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้สุขศึกษา การสร้างเสริมสุขภาพ

สมรรถภาพและการป้องกันโรค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ จำนวน 2 ชุด โดยผู้วิจัยคัดเลือกข้อสอบที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00

3. แบบประเมินชิ้นงาน/ผลงาน แบบ rubric score อิงตามการคิดเชิงนวัตกรรม โดยประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินแต่ละข้อกับองค์ประกอบการคิดเชิงนวัตกรรมมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องโดยใช้สูตร IOC โดยค่าที่ได้จริงมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00

4. แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบ rubric score อิงตามการคิดเชิงนวัตกรรมโดยประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินแต่ละข้อกับองค์ประกอบการคิดเชิงนวัตกรรมมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องโดยใช้สูตร IOC โดยค่าที่ได้จริงมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00

5. แบบสัมภาษณ์นักเรียน อิงตามการคิดเชิงนวัตกรรมโดยประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินแต่ละข้อกับองค์ประกอบการคิดเชิงนวัตกรรมมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องโดยใช้สูตร IOC โดยค่าที่ได้จริงมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00

การดำเนินการวิจัย

ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนตามวงรอบ PAOR เก็บรวบรวมข้อมูล 2 วงรอบ ซึ่งแต่ละวงรอบประกอบไปด้วย ขั้น Plan (P) เริ่มจากการวิเคราะห์บริบทผู้เรียน บริบทสถานศึกษา เนื้อหาวิชาสุขศึกษา สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัดในการสอน สู่การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรม และการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน แล้วออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน พร้อมทั้งออกแบบเครื่องมือในการวัดผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินชิ้นงาน แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสัมภาษณ์ ขั้น Act (A) ขั้นปฏิบัติการสอน จำนวน 6 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง ขั้น Observe (O) สังเกตพฤติกรรม สัมภาษณ์ และทดสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน และสะท้อนผลในขั้น Reflect (R) นำผลจากขั้นที่ 1 พัฒนาใน วงรอบ ที่ 2 ตามวงรอบ PAOR หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทั้ง 2 วงรอบแล้วจึงประเมินชิ้นงาน เพื่อนำผลทั้งหมดมาสรุปและอภิปรายผล

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้สุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 80

2. วิเคราะห์ผลการประเมินชิ้นงานตาม การคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน กับเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยเทียบเกณฑ์ระดับการประเมินดังนี้

ค่าเฉลี่ย ระดับการประเมิน

80 - 100 ดีเยี่ยม

70 - 79 ดีมาก

60 - 69 ดี

50 - 59 ปานกลาง

0 - 49 ต่ำ

3. วิเคราะห์ผลการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน การคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน โดยกับเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยเทียบเกณฑ์ระดับการประเมินดังนี้

ค่าเฉลี่ย ระดับการประเมิน

80 - 100 ดีเยี่ยม

70 - 79 ดีมาก

60 - 69 ดี

50 - 59 ปานกลาง

0 - 49 ต่ำ

4. วิเคราะห์ผลสัมภาษณ์นักเรียน การคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

ผลการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน วงรอบที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 16.50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.00 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนเท่ากับ 0.68 และวงรอบที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 17.90 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.25 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนเท่ากับ 0.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 80

2. ผลพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงานเป็นฐาน จากคะแนนประเมินชิ้นงาน/ผลงาน มีคะแนนรวมเท่ากับ 329 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.45 จากคะแนนเต็ม 18 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 91.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.02 โดยอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม

จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนสามารถบอกรายละเอียดของเนื้อหาในการส่งเสริมสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรคสอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน สามารถนำกระบวนการทำงานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการเรียนหรือการดำเนินชีวิตการถ่ายทอดจินตนาการ และสามารถจำแนกข้อดี ข้อเสีย ของการทำงานอย่างเสรี กับการทำงานตามคำสั่ง มีการร่วมมือกันในการสืบเสาะ ปฏิบัติตามขั้นตอนสู่ขั้นตอนของการปั้นแต่ง มีการหลอมรวมความคิดจากสถานการณ์ที่กำหนดได้อย่างเหมาะสม

อภิปรายผล

1. ผลการจัดกิจกรรม ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน วงรอบที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 16.50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.00 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนเท่ากับ 0.68 และวงรอบที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 17.90 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.25 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนเท่ากับ 0.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 80 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แล้ววิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนโพนทองวิทยายน อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด แล้วออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ในรายวิชาสุขศึกษา สาระการเรียนรู้ที่ 4 การส่งเสริมสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรคอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นความรู้หรือขั้นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การคิด เชิงนวัตกรรมในด้าน การใส่ใจหรือเอาใจใส่ (Paying attention) โดยสามารถรับรู้รายละเอียดอย่างถี่ถ้วนจากเนื้อหาสาระวิชาสุขศึกษาร่วมกับการสังเกตสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุต่อพฤติกรรมสุขภาพ ความรุนแรง และผลกระทบที่อยู่รอบตัว จนสามารถรับรู้ได้ถึงความผิดปกติในสิ่งที่สนใจ มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพได้อย่างมีหลักการ โดยใช้มุมมองที่หลากหลายจะทำให้เห็นปัญหาได้อย่างมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ อมิลิงค์ (Amelink. 2013) ด้านแรกที่จะนำไปสู่การคิดเชิงนวัตกรรม คือความสามารถในการรับความรู้ (Knowledge Acquire) เป็นการซึมซับหรือกลั่นกรองความรู้ เพื่อให้ตนเองเข้าใจและจดจำได้ โดยการใช้กลวิธีการฝึกซ้อม (Rehearsal Strategies) ในรูปแบบต่างๆ เช่นการอ่านหลายๆ ครั้ง การท่องจำคำสำคัญเพื่อให้ตนเองสามารถนึกถึงเนื้อหาที่เป็นประเด็นสำคัญในวิชาที่เรียน และยังสอดคล้องกับ ฮอร์ท และบัคเนอร์ (Horth and Buchner. 2009) ได้กล่าวว่า ในด้านแรกที่จะนำไปสู่การคิดเชิงนวัตกรรมผู้เรียนต้องมี การใส่ใจ (Paying Attention) ซึ่งเป็นความสามารถในการรับรู้รายละเอียดอย่างถี่ถ้วน ในการติดตามสถานการณ์ต่างๆ จนสังเกตเห็นความเป็นไป และสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถี่ถ้วน ด้วยสายตาที่แหลมคม โดยจะพิจารณาในมุมมองที่แตกต่างและใช้ข้อมูลอย่างหลากหลาย จากแหล่งต่างๆ เพื่อทำให้มองเห็นมุมมองใหม่ๆ

การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมผู้สอนจึงต้องเลือกหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีลำดับขั้นตอนแรกในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ในสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาอย่างชัดเจนและถูกต้อง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามขั้นการสอนของ วิมลศรี สุวรรณรัตน์ (2550 ) ที่ให้ความสำคัญในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ตามลำดับในการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ศึกษาองค์ความรู้ในเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงสู่การมองปัญหาจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวันคือ ขั้นนำ นักเรียนจะรับรู้จุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นกิจกรรมกลุ่มใหญ่ใช้กับนักเรียนทุกคนในการศึกษาหาความรู้อย่างอิสระในเนื้อหารายวิชาสู่ขั้นทบทวนความรู้เดิมให้นักเรียนแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน โดยการอภิปรายกลุ่ม ให้นักเรียนเขียนเพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เป็นกิจกรรมกลุ่มใหญ่ใช้กับนักเรียนทุกคนและตลอดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้เรียนยังต้องศึกษาองค์ความรู้ในการพัฒนาชิ้นงานอยู่เป็นระยะๆ ต่อเนื่องเนื้อหารายวิชาทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ในเนื้อหาสาระซึ่งเป็นความรู้จากการสืบค้นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทำให้เป็นความรู้ที่คงทนจนนำไปสู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและยังสอดคล้องกับงานวิจัยของสุวิษา ไครฉวี (2560) ได้ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ประกอบการเรียนรู้แบบโครงงานวิชาวิทยาศาสตร์ขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลการศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ แบบโครงงานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ สังคม ไชยสงเมือง (2560) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการใช้เทคโนโลยี สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามผลการวิจัยคือ ระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการใช้เทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.21/81.75 4. นักเรียนที่เรียนด้วยระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานมีทักษะการแก้ปัญหาโดยรวมทั้ง 5 ด้าน และทักษะการใช้เทคโนโลยีโดยรวมและรายด้าน 7 ด้าน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ผลพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงานเป็นฐาน จากคะแนนประเมินชิ้นงาน/ผลงาน มีคะแนนรวมเท่ากับ 329 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.45 จากคะแนนเต็ม 18 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 91.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.02 โดยอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม สามารถอภิปรายผลพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมได้เป็นประเด็นดังต่อไปนี้ การใส่ใจหรือเอาใจใส่ (Paying attention) โดยผู้เรียนสามารถรับรู้รายละเอียดของเนื้อหาสาระการเรียนรู้ จากการสังเกตสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ความรุนแรง และผลกระทบที่อยู่รอบตัว จนสามารถรับรู้ได้ถึงความผิดปกติในสิ่งที่สนใจ มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพได้อย่างมีหลักการ โดยใช้มุมมองที่หลากหลายจะทำให้เห็นปัญหาได้อย่างมากขึ้น การเห็นคุณค่าคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personalizing) ผู้เรียนให้ความสำคัญในคุณค่าของการมองปัญหาของแต่ละบุคคลในสมาชิกในกลุ่ม จากการศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ แลกเปลี่ยนมุมมองที่แตกต่างมากยิ่งขึ้นยอมรับและหาข้อตกลงร่วมกัน การถ่ายทอดจินตนาการ (Imaging) มีการผสมผสานองค์ความรู้ของตนเองในการพัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพจากแนวคิดที่เป็นจากนามธรรมสู่รูปธรรมที่สามารถเป็นไปได้โดยการแสดงข้อมูลด้วยภาพ เรื่องราว สถานการณ์ความประทับใจ การเล่นอย่างจริงจัง (Serious Play) มีการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนของนักเรียนในรายวิชาสุขศึกษา หรือแนวคิดที่สร้างสรรค์ต้องมาจากความรู้สึกที่สนุกสนานมีอิสรเสรีในการค้นคว้า ดังนั้นการเล่นอย่างจริงจังจึงเป็นวิธีการที่นอกจากจะได้เตรียมสภาพจิตใจที่พร้อมในการสร้างสรรค์ผลงานแล้วยังได้รับองค์ความรู้ที่แฝงอยู่ด้วย การร่วมมือในการสืบค้น (Collaborative in query) ผู้เรียนรวมกลุ่มและมีความสนใจในสถานการณ์ปัญหาสุขภาพในแนวทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกันผ่านกระบวนการทำงานกลุ่มในการสร้างนวัตกรรม โดยมาจากการแบ่งปันความคิดที่หลากหลายกว้างขวางหลายมุมมองโดยมีความยอมรับนับถือและไว้วางใจ และ การปั้นแต่ง (Crafting) ผู้เรียนสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ขัดแย้งของสมาชิกในกลุ่มขณะปฏิบัติการให้เกิดนวัตกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพสามารถคิดและพิจารณาภาพรวม ทั้งสนับสนุนและเห็นแย้งอย่างมีหลักการ โดยการปั้นแต่งยังเป็นการ แยกปัญหาเป็นส่วนๆ ข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกันที่สมบูรณ์ที่สุด นักเรียนสามารถรับฟังข้อเสนอแนะจากครูผู้สอนหรือบุคคลอื่นนอกกลุ่มจากการนำเสนอเพื่อปั้นแต่งนวัตกรรมของตนเองให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

การสัมภาษณ์ผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนสามารถบอกรายละเอียดของเนื้อหาสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา สาระที่ 4 การส่งเสริมสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรคที่มีความสอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบันมีการพิจารณาในมุมมองที่แตกต่างและใช้ข้อมูลอย่างหลากหลาย จากสถานการณ์ที่กำหนด รู้จัก ให้เหตุผลในประสบการณ์ของแต่ละบุคคลจอย่างเหมาะสมพร้อมทั้งจำแนกลักษณะส่วนตัวบุคคลที่เป็นประสบการณ์ นำกระบวนการทำงานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการเรียนหรือการดำเนินชีวิตการถ่ายทอดจินตนาการ สะท้อนมุมมองในระหว่างทำกิจกรรมผู้เรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ที่สะท้อนแนวคิดจากสถานการณ์ที่กำหนดให้เหตุผลแสดงข้อมูลด้วยภาพ หรือเรื่องราว สู่การทำงานที่มีการเชื่อมโยงกระบวนการทำงานที่เป็นแบบแผนกับกระบวนการทำงานอย่างเป็นอิสระ บอกประโยชน์ของการทำงานที่ไม่ต้องมีกฎเกณฑ์ และสามารถจำแนกข้อดี ข้อเสีย ของการทำงานอย่างเสรี กับการทำงานตามคำสั่ง มีการร่วมมือกันในการสืบเสาะ ปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานกลุ่มสามารถระบุข้อดีของการทำงานกลุ่มที่ผ่านกระบวนการคิดแบบเสรีบอกประโยชน์ของการการร่วมมือกันในการสืบเสาะผ่านวิธีการปฏิบัติโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และมีการระบุแหล่งเรียนรู้หลากหลายทั้งในท้องถิ่น สู่ขั้นตอนของการปั้นแต่งมีการหลอมรวมความคิดที่ขัดแย้งกันจากสถานการณ์ที่กำหนดได้อย่างเหมาะสมโดยมีการระบุแนวคิดที่มีการพัฒนาต่อยอดโดยสัมพันธ์สถานการณ์ที่กำหนดและเลือกใช้แนวคิดที่มีคุณค่าในการพัฒนาชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานงานยังเป็นที่นิยมที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นรูปแบบกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ทำงานกลุ่ม รู้คุณค่าของความคิดเห็นที่แตกต่างของสมาชิกในกลุ่มและรับฟังการอภิปรายจากผู้อื่นเพื่อพัฒนาและปรับปรุงผลงานของตนเองให้มีคุณค่าเป็นเช่นนี้เพราะ ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพนทองวิทยายน อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้สอนได้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมตามกระบวนการของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพราะเป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ผ่านกระบวนการของโครงงานอย่างเป็นระบบในการคิด และแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนา และสร้างสิ่งใหม่ โดยมีครูผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาชิ้นงานตามรูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานวิมลศรี สุวรรณรัตน์ (2550) ทั้ง 5 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นนำ นักเรียนจะรับรู้จุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียน เป็นกิจกรรมกลุ่มใหญ่ใช้กับนักเรียนทุกคน

2. ขั้นทบทวนความรู้เดิม ให้นักเรียนแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน โดยการอภิปรายกลุ่ม ให้นักเรียนเขียนเพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เป็นกิจกรรมกลุ่มใหญ่ใช้กับนักเรียนทุกคน

3. ขั้นปรับเปลี่ยนแนวคิด ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย

4. ขั้นสร้างความรู้ นักเรียนนำเสนอผลงาน ข้อค้นพบ ความรู้ ครูเป็นที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้อง ร่วมกันประเมินผลตามสภาพจริง

5. ขั้นนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นตอนที่นักเรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย เป็นการแสดงว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยมีความสอดคล้องกับการพัฒนาชิ้นงานตามองค์ประกอบของ ฮอรทและบัคเนอร (Horth and Buchner. 2009) ชิ้นงานและพฤติกรรมจึงสะท้อนการหลอมรวมความคิดที่ขัดแย้งกันจากสถานการณ์ที่กำหนดได้อย่างเหมาะสม สามารถระบุแนวคิดที่มีการพัฒนาต่อยอดโดยสัมพันธ์กับสถานการณ์ที่กำหนดโดยเมื่อผู้เรียนได้ผ่านกระบวนการสร้างชิ้นงานอย่างเสรีตามขั้นตอนโครงงานและการคิดเชิงนวัตกรรมที่มีครูผู้สอนคอยเป็นผู้สนับสนุนชี้แนะแนวทางในการศึกษาและสร้างองค์ความรู้ของชิ้นงาน

ผู้สอนได้ออกแบบเกณฑ์การวัดและและประเมินผลชิ้นงานให้มีความสอดคล้องกับกระบวนการสร้างชิ้นงานอิงการคิดเชิงนวัตกรรมและยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ออลานดิ (Orlandi. 2010) ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาการออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการการพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษา จากงานวิจัยพบว่า การออกแบบการเรียนรู้แบบโครงงานโดยบูรณาการกับเทคโนโลยีและจัดสถานการณ์การเรียนรู้ให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์ส่งผลต่อพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี การพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษา ผู้สอนจะมีบทบาทที่สำคัญคือเป็นผู้คอยสนับสนุน อำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดสิ่งแปลกใหม่ และกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน โดยสิ่งที่ผู้สอนควรระวังคือการกำหนดการถูกผิด เพราะการกำหนดถูกผิดมากจนเกินไปก็จะเป็นการสกัดกั้นการคิดเชิงนวัตกรรมและคณะ (Lai and others. 2015) เสนอแนะในการส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรมโดยบูรณาการการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มีกลุ่มเป้าหมายเป็น นักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการด้วยโครงงาน สามารถส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาสาขาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเสนอแนะอีกว่า การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการด้วยโครงงานเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ น่าสนใจมาก หากนำเทคโนโลยีมาร่วมบูรณาการน่าจะส่งผลให้การจัดการเรียนรู้มีคุณภาพมากขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้เรียนมีหลายปัจจัย ได้แก่ วิธีการสอนของครู ความมั่นใจของครูความเชื่อของครูที่มีต่อความสามารถของผู้เรียน ลักษณะของผู้เรียน ดาลิมเปลิล (Dalrymple. 2015)

ข้อเสนอแนะ

1.ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 ควรให้เสรีแก่ผู้เรียนในการเลือกเข้ากลุ่มตามความสมัครใจ โดยผู้เรียนแต่ละคนอาจมีความมุ่งหมายหรือความสนใจอยากจะสร้างชิ้นงานที่คล้ายคลึงกัน

1.2 ผู้สอนต้องคอย ติดตาม และควบคุมบริบทชั้นเรียนบ้าง ตามความเหมาะสมเพราะรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่พัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้แสดงอิสระในการทำงานอย่างเสรี

2.ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรทำการศึกษาวิจัยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสาระการเรียนรู้สุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เน้นศึกษาบริบทปัญหาที่เป็นบริบทชุมชนที่ผู้เรียนมีความผูกพันและใกล้ชิด เป็นสถานการณ์ปัญหาใกล้ตัว แล้วเน้นสืบเสาะหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

2.2 การวัดผลการคิดเชิงนวัตกรรมในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสาระการเรียนรู้สุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้การวัดผลจากการประเมินชิ้นงาน การสังเกตพฤติกรรมและการสัมภาษณ์ โดยในการทำวิจัยครั้งต่อไปสามารถออกแบบเครื่องมือที่เป็นปรนัย เช่น แบบทดสอบวัดผลการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

โพสต์โดย jumjim : [15 ก.ค. 2567 (15:41 น.)]
อ่าน [43] ไอพี : 49.48.130.111
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,673 ครั้ง
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ขอสินเชื่อใหม่ไม่ยากอย่างที่คิด
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ขอสินเชื่อใหม่ไม่ยากอย่างที่คิด

เปิดอ่าน 11,732 ครั้ง
อย่ารีรอ !! เรื่องสุขภาพหน้าจอ
อย่ารีรอ !! เรื่องสุขภาพหน้าจอ

เปิดอ่าน 58,289 ครั้ง
การนำรูปเรขาคณิตมาวางเรียงกันทำให้เกิดลวดลาย
การนำรูปเรขาคณิตมาวางเรียงกันทำให้เกิดลวดลาย

เปิดอ่าน 12,394 ครั้ง
ท็อป 10 ยอดศิลปินของตลาดโลก
ท็อป 10 ยอดศิลปินของตลาดโลก

เปิดอ่าน 16,077 ครั้ง
ชุมเห็ดเทศ
ชุมเห็ดเทศ

เปิดอ่าน 25,197 ครั้ง
10 นวัตกรรมออกแบบ แปลกใหม่-ไฮเทคแห่งปี 52
10 นวัตกรรมออกแบบ แปลกใหม่-ไฮเทคแห่งปี 52

เปิดอ่าน 9,257 ครั้ง
ชมหรือยัง เพลงหาเสียงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.
ชมหรือยัง เพลงหาเสียงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.

เปิดอ่าน 11,505 ครั้ง
คอมพิวเตอร์ วิชั่น-ออฟฟิศ ซินโดรม โรคฮิตของคนเมืองทางแก้เริ่มที่ตัวเอง
คอมพิวเตอร์ วิชั่น-ออฟฟิศ ซินโดรม โรคฮิตของคนเมืองทางแก้เริ่มที่ตัวเอง

เปิดอ่าน 11,118 ครั้ง
เคล็ดลับดี ๆ ที่อยากส่งต่อ
เคล็ดลับดี ๆ ที่อยากส่งต่อ

เปิดอ่าน 19,685 ครั้ง
ประโยชน์ต้นอ่อนทานตะวัน
ประโยชน์ต้นอ่อนทานตะวัน

เปิดอ่าน 11,027 ครั้ง
กินอาหารเร็วเป็นเบาหวานได้ง่าย ชาวโลกพากันป่วยกันขนานใหญ่
กินอาหารเร็วเป็นเบาหวานได้ง่าย ชาวโลกพากันป่วยกันขนานใหญ่

เปิดอ่าน 10,890 ครั้ง
รวยด้วยมรรค 8
รวยด้วยมรรค 8

เปิดอ่าน 16,257 ครั้ง
เกร็ดควรรู้สำหรับผู้ที่จะสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย
เกร็ดควรรู้สำหรับผู้ที่จะสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย

เปิดอ่าน 9,071 ครั้ง
เจาะ..."ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"ครูควรรับมืออย่างไร ?
เจาะ..."ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"ครูควรรับมืออย่างไร ?

เปิดอ่าน 18,193 ครั้ง
กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว

เปิดอ่าน 37,309 ครั้ง
การประเมินวิทยฐานะช่วงเปลี่ยนผ่านจากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA (ศึกษานิเทศก์)
การประเมินวิทยฐานะช่วงเปลี่ยนผ่านจากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA (ศึกษานิเทศก์)
เปิดอ่าน 26,875 ครั้ง
การศึกษาไทยอาการหนัก คุณหมอต้องส่งเข้าห้อง ICU
การศึกษาไทยอาการหนัก คุณหมอต้องส่งเข้าห้อง ICU
เปิดอ่าน 12,776 ครั้ง
คิดสักนิด...เพื่อจิตบริสุทธิ์
คิดสักนิด...เพื่อจิตบริสุทธิ์
เปิดอ่าน 1,326 ครั้ง
Intrend ให้แบบไม่ OUT กับ 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้
Intrend ให้แบบไม่ OUT กับ 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้
เปิดอ่าน 3,308 ครั้ง
พิกเซล (Pixel)
พิกเซล (Pixel)

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ