ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รูปแบบการนิเทศภายใน

เอกสารรูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษา 4C MINE Model โรงเรียนบ้านวังวน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 เล่มนี้ ฝ่ายบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านวังวน จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการนิเทศภายในโรงเรียน กระบวนการนิเทศ การติดตามและประเมินผลภายในโรงเรียน ให้ดำเนินการได้อย่างเป็นระบบและมีความเข้มแข็ง เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ใช้ทักษะในการปฏิบัติการ และมีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน อีกทั้งยังเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ สร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้ครู ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และคุณภาพของนักเรียนเป็นไปตามมาตรฐานที่โรงเรียนกำหนด

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “รูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษา 4C MINE Model” จะช่วยเติมเต็ม

ความรู้ความเข้าใจที่จะเป็นประโยชน์สำหรับการนิเทศภายในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี และขอขอบคุณ

คณะทำงานทุกท่าน ที่ได้ให้กรอบแนวคิด ทฤษฎีในการจัดทำเอกสารฉบับนี้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี

ชื่อรูปแบบ 4C MIND MODEL

1. สภาพปัจจุบัน/ปัญหา/ความสำคัญของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

1.1 สภาพในปัจจุบัน / ปัญหา

ในปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านวังวน ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการปีการศึกษา 2564 โครงการนิเทศภายในสถานศึกษาในรูปแบบ 4C MIND Model (กการมีส่วนร่วมในการทำงานด้วยใจ) โรงเรียนบ้านวังวนบรรลุเป้าหมายการนิเทศภายในของโรงเรียนขนาดเล็ก ครูมีความสามารถในการวิเคราะห์หลักสูตร ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด ของหลักสูตร ส่งให้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET, NT และ RT มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4

ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (Covid-19) ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น "การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ" โดยมุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาส ทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นพัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา จากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีสามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ส่งเสริมความปลอดภัยสร้างความมั่นใจให้สังคม เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือหรือเยียวยา และแก้ไขปัญหา มีความเป็นเอกภาพ มีข้อมูล สารสนเทศที่เป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืนด้วยการ บริหารจัดการตามมาตรการ 3 ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม ให้เกิดความปลอดภัยให้ มากที่สุด และไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำอีกเพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป ในการที่จะได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และเกิดความปลอดภัยอย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (กระทรวงศึกษาธิการ,2565)

ในปีการศึกษา 2565 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องหลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันศึกษา ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมีแนวโน้มของสถานการณ์ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยมติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 ได้กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ให้ ปรับสถานการณ์พื้นที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 65 จังหวัด และพื้นที่นำร่อง การท่องเที่ยว (สีฟ้า) 12 จังหวัด เป็นผลให้สถานศึกษาทุกระดับสามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อการ จัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ, 2565)

กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน และการสอบ เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษาสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้มากที่สุด ได้ทบทวน และพัฒนาปรับปรุงแนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาตามมาตรการการเปิดเรียน On site ปลอดภัยอยู่ ได้กับโควิด 19 ในสถานศึกษา เตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 เพื่อให้นักเรียน ครู บุคลากร และสถานศึกษา เปิด On site

จัดให้มีการเรียนการสอนที่โรงเรียน มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน และอยู่ได้กับโควิด-19 อย่างปลอดภัยด้วยหลักการ “ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน” ด้วย 3T1V และมาตรการสร้างความปลอดภัย 6-6-7 (6หลัก 6 เสริม 7 เข้ม) (กระทรวงสาธารณสุข ,2565)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1 ได้รับนโยบายมาตรการเปิด เรียน On site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด 19 ในสถานศึกษา เตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสำรวจสภาพปัญหา เพื่อมาวางแผนปรับปรุงแก้ไข แลกเปลี่ยนเรียนรู้คณะครู ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสนับสนุนให้ ระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลให้มีความเหมาะสมกับสภาพบริบทมากที่สุด และเตรียมความ พร้อมในการเปิดภาคเรียน On Site ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 มีภารกิจในการติดตามรวบรวมปัญหา และวางแผนแก้ไขปัญหา ส่งเสริม สนับสนุน โดยได้มอบหมายให้คณะศึกษานิเทศก์ วางแผนนิเทศและติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ เพื่อรับทราบปัญหาและวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในช่วงวันที่ 17-31 พฤษภาคม 2565 และ ร่วมกันวิเคราะห์และดำเนินการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อม เปิดภาคเรียน วิธีการปฏิบัติที่ดีที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความสุข ความปลอดให้กับนักเรียน ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับนักเรียน ในการเรียน On site ปลอดภัยอยู่ได้กับโควิด 19 ของ สถานศึกษา เพื่อจะได้หาแนวทางในการพัฒนาการศึกษาให้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและเพื่อ คือเป้าหมายสูงสุดตามแนวคิด “การเรียนรู้นำการศึกษา” โดยจัดการเรียนการสอนคำนึงถึงความสุข และปลอดภัยสูงสุดของทุกคน

สภาพปัจจุบันในการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่มีประสิทธิผลในยุคดิจิทัล ในภาพรวมของปัญหาพบว่าสถานศึกษามีภาระงานอื่นๆ มาก มีอัตรากำลังบุคลากรไม่ครบกลุ่มสาระและไม่ตรงวิชาเอก ครูผู้สอนยังไม่เข้าใจวิธีการสร้างเครื่องมือและวิธีการประเมินผลที่ถูกต้อง นักเรียนมีความหลากหลายทั้งด้านการเรียนรู้ ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติยังไม่ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนความต้องการพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรลดภาระงานอื่นๆ มีการนิเทศติดตามผลการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้ขวัญและกำลังใจที่เป็นรูปธรรม กระตุ้นให้ครูผู้สอนเห็นความสำคัญและประโยชน์อันเกิดจากการประเมินผล การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและสถานภาพทางครอบครัวที่อาจส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่เสี่ยงในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.2 แนวคิด หลักการ ทฤษฎี รูปแบบ วิธีการ

Model มาจากคำในภาษาอังกฤษที่นำมาใช้ให้มีบทบาทในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ โดยใช้คำที่ใช้ในภาษาไทยคือ รูปแบบ ต้นแบบ แบบแผน แบบจำลอง เป็นต้น

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ

1.2.1 ความหมายของรูปแบบ นักวิชาการได้ให้ความหมายของรูปแบบ พอสรุปได้ดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546, น. 965) ให้ความหมายไว้ว่า รูปแบบ หมายถึง รูปที่

กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนว ซึ่งเป็นที่ยอมรับแสดงว่า เป็นสิ่งนั้น ๆ เช่น รูปแบบบ้าน เป็นแผนผัง ไดอะแกรม หรือ แผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น รูปแบบจึงเป็นเครื่องมือทางความคิดที่บุคคลใช้ในการสืบเสาะหาคำตอบ ความรู้ ความเข้าใจใน ปรากฏการณ์ทั้งหลาย

บุญชม ศรีสะอาด (Online) รูปแบบ หมายถึง โครงสร้างแสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ หรือตัวแปรต่าง ๆ สามารถใช้รูปแบบอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ประกอบต่าง ๆ หรือตัวแปรต่าง ๆ ที่มีในปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือในระบบต่าง ๆ อธิบาย ลำดับขั้นตอนขององค์ประกอบ หรือกิจกรรมในระบบ

รัตนะ บัวสนธ์ (2552) ได้ให้ความหมายรูปแบบจ าแนกออกเป็น 3 ความหมาย ดังนี้

1.แผนภาพหรือภาพร่างของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ยังไม่สมบูรณ์เหมือนของจริงรูปแบบในความหมายนี้

มักเรียกทับศัพท์ภาษาไทยว่า "โมเดล" ได้แก่ โมเดลบ้าน โมเดลรถยนต์ โมเดลเสื้อ เป็นต้น

2.แบบแผนความสัมพันธ์ของตัวแปร หรือสมการทางคณิตศาสตร์ที่รู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า

"Mathematical Model"

3. แผนภาพที่แสดงถึงองค์ประกอบการทำงานของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รูปแบบในความหมายนี้

บางทีเรียกกันว่าภาพย่อส่วนของทฤษฎีหรือแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น รูปแบบการสอน รูปแบบการ

บริหาร รูปแบบการประเมิน เป็นต้น

คัมภีร์ สุดแท้ (2553) กล่าวว่า รูปแบบ หมายถึง สิ่งที่สร้าง หรือพัฒนาขึ้น แสดงให้เห็นถึง องค์ประกอบสำคัญๆ ของเรื่องให้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

กูด (Good, 12005 : 177) ในพจนานุกรมการศึกษาได้รวบรวมความหมายของรูปแบบเอาไว้ 4

ความหมาย คือ 1) เป็นแบบอย่างของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหรือทำซ้ำ 2) เป็นตัวอย่างเพื่อ เลียนแบบ เช่น ตัวอย่างในการออกเสียงภาษาต่างประเทศเพื่อให้ผู้เรียนได้เลียนแบบ เป็นต้น 3) เป็นแผนภูมิ หรือรูปสามมิติซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลักการหรือแนวคิด 4) เป็นชุดของปัจจัย ตัวแปรที่มี ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งรวมตัวกันเป็นตัวประกอบหรือเป็นสัญลักษณ์ทางระบบสังคม อาจจะเขียน ออกมาเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์หรือบรรยายเป็นภาษาก็ได้

ทิงค์เอ็กชิสท์ (Thinkexist, 2008 : 1) ได้ให้ความหมายของค าว่ารูปแบบ (Model) ไว้ว่า เป็น

แบบจำลองระบบการปฏิบัติงาน หรือแบบแปลนของการก่อสร้างที่วาดไว้ล่วงหน้า หรือสิ่งของที่เป็นตัวแทน แสดงความของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือสิ่งที่เตรียมเอาไว้ล่วงหน้า อาร์ดิกชั่นนารี (Ardictionaary, 2008 : 1) ได้นิยามความหมายของรูปแบบ (Model) ว่า หมายถึง แบบจำลองที่เป็นสัดส่วนหรือเป็นประเภทเดียวกัน กับของจริงหรือสัญลักษณ์ของการเป็นตัวแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต หรือแบบแผนของสิ่งที่เตรียมไว้

การให้ความหมายของรูปแบบ (Model) ในหนังสือ Encyclopedia of Psychology and

Education ไว้ 2 ความหมาย ดังนี้

1.รูปแบบ คือ รูปย่อของความจริงของปรากฏการณ์ ซึ่งแสดงด้วยข้อความ จำนวน หรือ ภาพ

โดยการลดทอนเวลาและเทศะ ทำให้เข้าใจความจริงของปรากฏการณ์ได้ดียิ่งขึ้น

2. รูปแบบ คือ ตัวแทนของการใช้แนวความคิดของโปรแกรมที่กำหนดเฉพาะ

เรย์ (Raj, 1996 :197) รูปแบบ หมายถึง รูปย่อที่เลียนแบความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ใด

ปรากฏการณ์หนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยจัดระบบความคิดในเรื่องนั้นให้ง่ายขึ้น

สารานุกรมสแตนฟอร์ดด้านปรัชญา (Stanford Encyclopedia of Philosophy, 2006 : 671)

ได้ให้ความหมายของรูปแบบในลักษณะสอดคล้องกับการให้ความหมายของ Good ว่า รูปแบบเป็นระบบหรือ โครงสร้างที่ถูกสร้างขึ้นมาจากทฤษฎีทั่วไปเพื่อพรรณนาและอธิบายปรากฏการณ์นั้น ๆ

Husen and Postlethwaite (1994 : 3895) ได้ให้ความหมายว่า รูปแบบ คือ โครงสร้างที่ถูก

นำเสนอเพื่อใช้วินิจฉัยความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่สร้างมาจากเหตุการณ์ การหยั่งรู้ ด้วยวิธีการอุปมาอุปมัย หรือได้มาจากทฤษฎี

ดังนั้นรูปแบบจึงหมายถึง วิธีการบริหารของสถานศึกษา หรือ กรอบความคิด ทางด้านหลักการ

วิธีการดำเนินงาน และเกณฑ์ต่างๆ ของระบบ ที่สามารถยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้โดยสามารถใช้รูปแบบอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ลำดับขั้นตอนของกิจกรรมในระบบ หรือ ความสัมพันธ์ของ 2 ชุดตัวแปร ประกอบด้วย กระบวนการปฏิบัติงานกับงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่มีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน

2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

2.1 วัตถุประสงค์ของการนิเทศ

1) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนเชิงคีรี(สุวิชานวรวุฒิ)

2) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นส าคัญของครู

3) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกระดับให้สูงขึ้น

2.2 เป้าหมายการนิเทศภายใน

1) ครูร้อยละ 100 สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของผู้เรียน และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

2) นักเรียนได้รับการจัดประสบการณ์และการเรียนรู้ในรูปแบบ On-Site รวมเฉลี่ย ร้อยละ 100

3) ผู้ปกครองร้อยละ 80 มีความพึงพอใจ ระดับ ดี ขึ้นไป ต่อการจัดการเรียนการสอนของครู

3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน

โรงเรียนบ้านวังวน ใช้การนิเทศภายในเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้การนิเทศภายในแบบ 4C MIND Model (การมีส่วนร่วมในการทำงานด้วยใจ) ร่วมกับการประเมินสถานการณ์แบบรอบด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา Covid Dynamic ภายใต้การควบคุมโดยวงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้

Covid Dynamic คือ กระบวนการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการประเมินรอบด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อกำหนดทิศทางและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน มีขั้นตอน ดังนี้

1. คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร และคณะครู ร่วมกันประชุมวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยประเมินข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ทุกระดับ ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และข้อมูลจากชุมชนบ้านวังวน กำหนดทิศทางการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน

2. ครูผู้สอนสำรวจความพร้อมของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน

3. ครูผู้สอนกำหนดการจัดประสบการณ์และกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

4. ครูผู้สอนบันทึกข้อมูลการเข้ารับการจัดประสบการณ์และการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาการจัดประสบการณ์และการจัดการเรียนรู้ในระยะต่อไป

4C MIND Model

P M : Management : การบริหารจัดการและวางแผนดำเนินการการนิเทศภายในสถานศึกษา

D I : ICT and Innovation : การใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างใช้นวัตกรรมการนิเทศ

C N : Network : เครือข่ายการเรียนรู้ของโรงเรียน

A D : Development : การปรับปรุงพัฒนา

ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการรูปแบบดังกล่าว ได้นำหลักการบริหารวงจรเดมมิ่ง PDCA มาใช้ในการขับเคลื่อนรูปแบบ มีขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นวางแผน (Plan)

C1 = CO - Planing : การร่วมวางแผนการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษา

M Management การบริหารจัดการและวางแผนดำเนินการการนิเทศภายในสถานศึกษา

ประชุมผู้นำชุมชน คณะครู และผู้ปกครอง เพื่อร่วมมือกันปฏิบัติงานร่วมกัน วางแผนการนิเทศภายในที่ชัดเจน โดยยึดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จัดระบบโครงสร้างการบริหารให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานนิเทศ จัดวางตัวบุคลากรและคณะกรรมการรับผิดชอบ จัดทำแผนการนิเทศภายใน จัดการงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์สำหรับการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล และรายงานผลเพื่อใช้ข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา

2. ขั้นดำเนินงาน (Do)

C2 = CO - Acting : การร่วมปฏิบัติงานตามที่วางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษาไว้

I ICT and Innovation : การใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างใช้นวัตกรรมการนิเทศ

ครูนำเทคโนโลยีมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเพื่อสร้างนวัตกรรม ในรูปแบบเอกสาร ใบ

งาน รูปภาพ คลิปวีดีโอ ไฟล์นำเสนอ ให้เชื่อมโยงกับสื่อสังคมออนไลน์เช่น Facebook หรือ LINE Group เพื่อใช้นวัตกรรมที่สร้างเป็นฐานข้อมูลสำหรับวางแผนการนิเทศภายในและเพื่อเป็นฐานข้อมูลของโรงเรียน

3. ขั้นตรวจสอบประเมินผล (Check)

C3 = CO - Visiting : การร่วมนิเทศติดตามเยี่ยมชมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

N Network : เครือข่ายการเรียนรู้ของโรงเรียน

จัดทีมนิเทศติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล ในระหว่างที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ดำเนินการกำกับ ติดตาม ตามแผนการนิเทศที่โรงเรียนได้จัดทำไว้ โดยคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน ซึ่งนำโดยผู้บริหาร ครูและครูวิชาการ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของครู ร่องรอยหลักฐาน ชิ้นงาน ใบงานของผู้เรียน นำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดประสิทธิผลตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนดไว้ บันทึกผลการนิเทศเพื่อสรุปผลการจัดการศึกษา เพื่อนำข้อมูลมาส่งเสริมและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู

จัดทำกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้ของเพื่อนร่วมงานภายในสภาพแวดล้อมการทำงานเดียวกัน โดยให้ผู้บริหาร ทีมนิเทศและครูผู้สอน ได้แลกเปลี่ยนสนทนาถึงปัญหาในการจัดการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และนำผลมาพัฒนาต่อไป และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับครู ซึ่งเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ได้ข้อมูลของผู้เรียนและเทคนิค วิธีการสอน วิธีการควบคุมชั้นเรียน ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำปัญหาหรือข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนกัน

4. ขั้นปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา (Act)

C4 = CO - Congratulations : การร่วมเสริมแรงและชื่นชมยินดี

D Development : การปรับปรุงพัฒนา

ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ร่วมกันสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนการสอนในชั่วโมงนั้น ๆ ผู้นิเทศให้การเสริมแรงโดยการกล่าวชื่นชมยินดีให้แก่ผู้รับนิเทศ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยคงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ รวมทั้งมีการบันทึกและถอดบทเรียนที่ได้รับ เพื่อใช้เป็นข้อมูลหรือความรู้ในการทำงานครั้งต่อ ๆ ไป เพื่อให้ผู้รับการนิเทศนำผลการสะท้อนการเรียนรู้ไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

การดำเนินงานตามกิจกรรม

กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย

1. การวางแผน (Planning-P)

2. การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing-I)

3. การปฏิบัติการนิเทศ (Doing-D)

4. การสร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R)

5. การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E)

6. การรายงานผลการนิเทศ (Reporting-R)

1. การวางแผน (Planning-P) เป็นขั้นตอนที่ผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะทำการประชุม ปรึกษาหรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการประชุม ปรึกษาหารือ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการนิเทศ ที่จัดขึ้น

2. การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing-I) เป็นขั้นตอนของการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงสิ่งที่จะดำเนินการ ว่าต้องอาศัยความรู้ ความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไรให้ ผลงานออกมาอย่างมีคุณภาพ ขั้นตอนนี้จำเป็นทุกครั้งสำหรับเริ่มการนิเทศที่จัดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม และมี ความจำเป็นสำหรับงานนิเทศที่ยังเป็นไปไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่ถึงขั้นที่พอใจ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทบทวนให้วามรู้ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

3. การปฏิบัติการนิเทศ (Doing-D) ประกอบด้วยการปฏิบัติงาน 3 ลักษณะ คือ การปฏิบัติงานของผู้รับ การนิเทศ (ครู) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ (ผู้นิเทศ) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ (ผู้นิเทศ)

การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ (ผู้บริหาร)

4. การสร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R) เป็นขั้นตอนของการเสริมแรงของผู้บริหาร เพื่อให้ผู้รับการนิเทศมีความมั่นใจและบังเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขั้นนี้อาจดำเนินไปพร้อม ๆ กับผู้รับการนิเทศที่กำลังปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงานได้เสร็จสิ้นแล้วก็ได้

5. การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E) เป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศทำการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านไป แล้วว่าเป็นอย่างไร หลังจากการประเมินผลการนิเทศ หากพบว่ามีปัญหาหรือมีอุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้ การดำเนินงานไม่ได้ผล จ้ะองมีการปรับปรุง แก้ไข ซึ่งการปรับปรุงแก้ไข อาจทำได้โดยการให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ปฏิบัติใหม่อีกครั้ง ในกรรีที่ผลงานยังไม่ถึงขั้นน่าพอใจหรือได้ดำเนินการปรับปรุงการดำเนินงานทั้งหมดไปแล้ว ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ สมควรที่จะต้องวางแผนร่วมกันวิเคราะห์หาจุดที่ควรพัฒนา หลังใช้นวัตกรรมด้านการเรียนรู้เข้ามานิเทศ

ซึ่งการดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านวังวน ได้ประยุกต์ใช้วิธีการนิเทศแบบปกติมาบูรณาการร่วมกับแนวคิดการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ Social Media สื่อออนไลน์ มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้

1. Covid Dynamic คือ กระบวนการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการประเมินรอบด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อกำหนดทิศทางและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน มีขั้นตอน ดังนี้

1) คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร และคณะครู ร่วมกันประชุมวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยประเมินข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ทุกระดับ ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และข้อมูลจากชุมชนบ้านวังวนและชุมชนใกล้เคียง มากำหนดทิศทางการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน

2) ครูผู้สอนสำรวจความพร้อมของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของ On-Site,

On Line, On Demand และ On hand

3) ครูผู้สอนกำหนดการจัดประสบการณ์และกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

4) ครูผู้สอนบันทึกข้อมูลการเข้ารับการจัดประสบการณ์และการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาการจัดประสบการณ์และการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป

2. กระบวนการนิเทศแบบ 4C MINE Model

ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน (CO - Planing การร่วมวางแผน)

โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายและทำบันทึกข้อตกลงร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างรอบด้านกับ

ชุมชนร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (ครูแดร์) ในการส่งเสริมและ

ป้องกันพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้โรงเรียนยังได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐใน

การขับเคลื่อนกิจกรรมของโรงเรียนในด้านอื่น ๆ ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรเมืองเก่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านวังตะคร้อ เทศบาลตำบลเมืองเก่า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า ดำเนินการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการศิษย์เก่า เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาด้านกายภาพของโรงเรียน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน

จัดบรรยากาศให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าอยู่ น่าเรียน โรงเรียนพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา และการวัดผลประเมินผล โดยการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครองทุกชั้นเรียน และทุกเขตบริการ เพื่อเป็นตัวแทนร่วมนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ร่วมวัดผลและประเมินผลการ

จัดการเรียนรู้ และทางโรงเรียนมีการดำเนินการการนิเทศดังนี้

1.1 ครูวางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการกำหนดปัญหาและจัดประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

1.2 ครูสำรวจสภาพปัจจุบันของผู้เรียน ดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยยึดตาม มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสมรรถนะที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน ภายใต้ความเหมาะสมกับบริบทของ ผู้เรียน และสอดคล้องกับการเรียน

1.3 ตั้งค่าเป้าหมายและจัดประชุมอบรมครู ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยผ่านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.4 ครู และทีมนิเทศร่วมเสนอแนะ และบันทึกผลการนิเทศ

1.5 ครูผู้สอนนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ ก่อนนำมาจัดการเรียน การสอน

ขั้นที่ 2 ขั้นจัดการเรียนรู้ (CO - Acting การร่วมลงมือปฏิบัติงาน)

ปีการศึกษา 2564 และ 2565 ครูผู้สอนจัดทำการเรียนการสอน แบบ On - Line ผ่านช่องทางออนไลน์ google meet จัดการเรียนแบบ On - Demand ผ่านระบบแอปพลิเคชัน โดยใช้ช่องทาง Group Line หรือ กลุ่มบนเฟซบุ๊ก (Facebook) ของแต่ละห้องเรียน จัดการเรียนแบบ On - Hand ครูผู้สอนจัดส่งหนังสือ แบบเรียน แบบฝึกหัด หรือใบงานที่โรงเรียนจัดทำขึ้นไปยังนักเรียนผ่านผู้ปกครอง

ปีการศึกษา 2566 จัดการเรียนแบบ On - Site นักเรียนเดินทางมาเรียนที่โรงเรียนซึ่งจัดพื้นที่แบบเว้นระยะห่างและเข้มงวดการสวมหน้ากากอนามัยตามมาตรการด้านสาธารณสุข โรงเรียนมีการส่งเสริม สนับสนุนให้ครูมีการเตรียมการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์นักเรียนเป็น รายบุคคล ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีเครื่องมือวัดผลและประเมินผล จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผนพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยดำเนินการอย่าง เป็นรูปธรรม ที่ความเหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน ดังนี้

ขั้นวางแผนการดำเนินการ (P)

1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์ และลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการ

เรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ตามมาตรฐานการศึกษา

2. ประชุมชี้แจงให้ความรู้และมอบหมายงาน/ภารกิจแก่ครูผู้สอนประจำวิชาและครูประจำชั้นและ

ประชุมชี้แจงรูปแบบการนิเทศการสอน

3. วางแผนการนิเทศ จัดทำปฏิทินนิเทศและชี้แจงรูปแบบการนิเทศการสอนอย่างเป็นระบบ

ขั้นดำเนินการ (D)

1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โดยให้หัวหน้ากลุ่มสาระฯ เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อน

2. คณะครูทั้ง 8 กลุ่มสาระร่วมดำเนินการวางแผนและขับเคลื่อน

3. ส่งเสริมให้คณะครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญและสอนโดยใช้กระบวนการ

Active Learning ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

4. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยจัดกิจกรรม PLC บูรณาการทุกกลุ่มสาระฯ

5. ส่งเสริมสนับสนุนโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย

6. ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถมาใช้ในการจัดทำสื่อ

และนวัตกรรมการเรียนการสอน

7. ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม สัมมนา ในงานที่เกี่ยวข้องตามความถนัด ความสนใจ และ

ความต้องการ

8. ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน/สหวิทยาเขต/เขตพื้นที่/จังหวัด ตาม

ความถนัดและความต้องการ

9. ดำเนินการให้ครูผู้สอนจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานักเรียน

10. จัดทำแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้แบบ

ยั่งยืนและเกิดความรู้ที่คงทน และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้

11. สร้างความตระหนักและส่งเสริมให้ครูผู้สอนวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

12. จัดทำฐานข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายบุคคล

ขั้นตอนการตรวจสอบ (C)

1. มีการวัดผลประเมินผลเพื่อการพัฒนานักเรียนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ตลอดจนสนับสนุนผู้ที่

เรียนดี เก่ง ให้ได้ศึกษา และซ่อมเสริมนักเรียนที่อ่อนโดยใช้บทเรียนออนไลน์และบทเรียนสำเร็จรูปร่วมกับผู้ปกครอง

2. ตรวจสอบฐานข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3. ตรวจรายงานการอบรมของครูและบุคลากรทางการศึกษา

4. ประเมินผลการนิเทศการสอนอย่างเป็นทางการ

5. ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้และวิจัยในชั้นเรียน

6. รายงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข (A)

ประเมินผลทุกระยะ เพื่อให้ทราบสภาพจริง แก้ไขและวางแผนพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง

ขั้นที่ 3 ขั้นนิเทศ (CO - Visiting การร่วมนิเทศติดตามเยี่ยมชั้นเรียนและให้กำลังใจ)

โรงเรียนใช้กระบวนการนิเทศ กำกับ ติดตาม ในระหว่างที่ดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดย

คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน ตรวจสอบการปฏิบัติงานของครู ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา

ด้วยกระบวนการ AAR หรือ After Action Review หลังเสร็จสิ้นแต่ละกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็น

การทบทวนวิธีการทำงานทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นผู้บริหาร คณะครู และตัวแทน

เครือข่ายผู้ปกครอง จัดทำกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) สนทนาแลกเปลี่ยน

แนวทางพัฒนาและร่วมกันแก้ปัญหา เพื่อประเมินการดำเนินการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป

โดยดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

ขั้นวางแผนการดำเนินการ (P)

1. แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูวิชาการและตัวแทน

เครือข่ายผู้ปกครองทุกชั้นเรียน

2. ประชุมชี้แจงให้ความรู้และมอบหมายงาน/ภารกิจแก่ครูผู้สอน ครูประจำกลุ่มสาระต่าง ๆ

และประชุมชี้แจงรูปแบบการนิเทศการสอน

3. จัดทำแผนนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านวังวน

4. จัดทำปฏิทินการนิเทศ โดยกำหนดปฏิทินนิเทศ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ภาคเรียน

ขั้นดำเนินการ (D)

1. Covid Dynamic มีขั้นตอนดังนี้

1.1. คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร และคณะครู ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์การ

แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยประเมินข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาด

ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ทุกระดับ ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล

และข้อมูลจากชุมชนบ้านวังวนและชุมชนใกล้เคียง เพื่อกำหนดทิศทางการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนตามความเหมาะสม

1.2. ครูผู้สอนสำรวจความพร้อมของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนทั้ง 5 รูปแบบ

สร้างเป็นฐานข้อมูลรายบุคคล

1.3. ครูผู้สอนกำหนดการจัดประสบการณ์และกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามความ

เหมาะสมของนักเรียน และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

1.4. ครูผู้สอนบันทึกข้อมูลการเข้ารับการจัดประสบการณ์และการเรียนรู้ของนักเรียน

เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาการจัดประสบการณ์และการจัดการเรียนรู้ในระยะต่อไป

2. ดำเนินการนิเทศติดตามครูผู้ สอน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายในเป็นรายบุคคล ดังนี้

2.1 กรณีสถานศึกษาเปิดเรียนได้ตามปกติ (On-Site)

- ผู้บริหารเยี่ยมชั้นเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

- คณะกรรมการนิเทศดำเนินการนิเทศติดตามครูผู้สอน โดยใช้กระบวนการนิเทศ

ภายในเป็นรายบุคคล ตามปฏิทินการนิเทศอย่างน้อยภาคเรียนละ 4 ครั้ง

- คณะกรรมการนิเทศร่วมสะท้อนการเรียนรู้รายบุคคลและบันทึกผลการนิเทศ

2.2 กรณีสถานศึกษาปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน (Online, On-Demand,

On-Air และOn-Hand) คณะกรรมการนิเทศ เข้านิเทศกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูทุกวัน ตามวันที่

ประกาศปรับรูปแบบ โดยดำเนินการดังนี้

1) การเรียนแบบ On-Line มีขั้นตอนการนิเทศ ดังนี้

- คณะกรรมการนิเทศร่วมสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนและการ

เรียนรู้ของนักเรียนผ่านช่องทางออนไลน์

- คณะกรรมการนิเทศร่วมสะท้อนการเรียนรู้ รายบุคคลและบันทึกผลการนิเทศ

2) การเรียนแบบ On-Demand มีขั้นตอนการนิเทศ ดังนี้

- คณะกรรมการนิเทศร่วมสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนและการ

เรียนรู้ของนักเรียน ที่บันทึกไว้ในกลุ่มบนเฟซบุ๊ก (Facebook) หรือ กลุ่มไลน์ (LINE Group)

- คณะกรรมการนิเทศร่วมสะท้อนการเรียนรู้ รายบุคคลและบันทึกผลการนิเทศ

3) การเรียนแบบ On – Hand มีขั้นตอนการนิเทศ ดังนี้

- คณะกรรมการนิเทศร่วมติดตามการเข้ารับการจัดประสบการณ์และการจัดการเรียนรู้จากการสอบถามผู้ปกครอง โดยการสอบถามข้อมูลทางโทรศัพท์ หรือการเยี่ยมบ้านนักเรียน และร่วมสะท้อนการเรียนรู้รายบุคคลและบันทึกผลการนิเทศ

3. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการกลุ่มสาระอื่นและสนับสนุนการนำ

ความรู้สู่กาปฏิบัติด้วยกระบวนการ PLC ให้มีการจัดทำสื่อนวัตกรรม และทำแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่

ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน

อย่างน้อย 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

ขั้นตอนการตรวจสอบ (C)

สรุปผลการนิเทศ ติดตาม รายงานผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข (A)

นำผลการประเมินมาทำการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปผลการนิเทศ (CO - Congratulations การร่วมเสริมแรงและร่วมชื่นชมยินดี)

ครูผู้สอนและทีมนิเทศ ร่วมประชุมสรุปผล สะท้อนผล ให้ข้อคิดเห็น และเสนอแนะเพื่อ

ปรับปรุง พัฒนา

3.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน

1. โรงเรียนมีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งด้านกายภาพ และด้าน

คุณภาพที่เข้มแข็ง

2. ครูได้รับการ นิเทศ กำกับติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้ครู มีคุณภาพด้าน

การจัดการเรียนรู้อยู่ใน ระดับดีขึ้นไป และนักเรียนมีคุณภาพอยู่ใน ระดับดีขึ้นไป

3. โรงเรียนมีแผนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างได้ สามารถนิเทศการจัดการเรียนรู้

ได้ทั้ง 5 รูปแบบ (On-Site, On-line, On-Demand, On-Air และOn-Hand)

3.4 การใช้ทรัพยากรและงบประมาณ

โรงเรียนจัดทำโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา ได้รับจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติการ

ประจำปี และดำเนินงานตามกิจกรรมตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรอย่างเหมาะสม คุ้มค่า สอดคล้องกับ

ความต้องการตามระเบียบปฏิบัติของราชการ และจัดทำสรุปรายงานหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ

4. ผลการดำเนินการ/ ผลสัมฤทธิ์/ ประโยชน์ที่ได้รับ

4.1 ผลการดำเนินการ

1) โรงเรียนบ้านวังวน มีรูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษา 4C MINE MODEL

2) โรงเรียนบ้านวังวน มีแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และดำเนินการตามแผน

เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญของครู และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนทุกระดับให้สูงขึ้น

2) โรงเรียนบ้านวังวน มีแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และดำเนินการตามแผน

เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญของครู และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนทุกระดับให้สูงขึ้น

5. ปัจจัยความสำเร็จ

1) โรงเรียนมีการกำหนด มาตรฐานการศึกษาและเป้าหมายความสำเร็จ ระดับปฐมวัยและระดับ

ขั้นพื้นฐาน ประกาศให้รับทราบอย่างชัดเจน

2) โรงเรียนมีแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และดำเนินการตามแผน เพื่อพัฒนาคุณภาพ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญของครู และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุก

ระดับให้สูงขึ้น

3) โรงเรียนมีบันทึกข้อตกลงร่วมกับครูประจำชั้นและตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อพัฒนา

ความสามารถในการอ่าน และเขียนของนักเรียนให้สูงขึ้น ซึ่งได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี

4) โรงเรียนมีแผนนิเทศภายในสถานศึกษา และปฏิทินการนิเทศ โดยกำหนดปฏิทินนิเทศอย่างน้อย

4 ครั้ง/ภาคเรียน

5) คณะกรรมการนิเทศ มีประสบการณ์ มีความรู้ สามารถให้คำแนะนำผู้รับการนิเทศได้เป็นอย่างดี

6) ผู้บริหารมีการบริหารจัดการที่ดี มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมใน

การนิเทศการจัดการเรียนรู้

6. บทเรียนที่ได้รับ

โรงเรียนบ้านวังวนดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้รูปแบบการนิเทศภายใน

ของสถานศึกษา 4C MINE MODEL ทำให้ครูมีการพัฒนาและส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน เพื่อให้มีการดำเนินการ

อย่างต่อเนื่อง เกิดผลการพัฒนาที่ยั่งยืน และทำให้การบริหารจัดการของโรงเรียนและการนิเทศภายในมี

ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงนำผลการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2566 มาใช้ในพัฒนาครูสู่การพัฒนาคุณภาพ

นักเรียน ปีการศึกษา 2567 ดังนี้

1. พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และนำไปใช้ในการ

จัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานและคุณลักษณะเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถ

ทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาการคำนวณ มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน หรือสร้างนวัตกรรม

ได้เหมาะสมกับช่วงวัย

2. พัฒนาครูให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ผลการประเมินระดับชาติ และนำผลการประเมินไป

ใช้ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

3. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศแบบเรียลไทม์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการประยุกต์ใช้

Canva ที่มีเครื่องมือสำหรับใช้งานด้านการศึกษาและสร้างสื่อที่หลากหลายสามารถจัดการและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ สร้างชิ้นงาน วารสารข่าว นำเสนอความรู้ในรูปแบบเอกสาร คลิปวีดีโอ ในรูปแบบออนไลน์ต่อไป

7. การเผยแพร่ การได้รับการยอมรับ รางวัลที่ได้รับ

7.1 การเผยแพร่

7.2 การได้รับการยอมรับ รางวัลที่ได้รับ

1.รางวัลโรงเรียน

1.1 โรงเรียนบ้านวังวน ได้รับการประกันคุณภาพภายนอก (พ.ศ.2564-2568) จากสำนักงาน

รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ผลการประเมินรอบที่ 4 มาตรฐาน อยู่ในระดับดี ทั้งระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.2 โรงเรียนบ้านวังวน มีผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกด้าน(ด้านคณิตศาสตร์และภาษาไทย) ระดับยอดเยี่ยม การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564

1.3 โรงเรียนบ้านวังวน มีผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกด้าน(ด้านคณิตศาสตร์และภาษาไทย) ระดับยอดเยี่ยม การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565

1.4 โรงเรียนบ้านวังวน เป็นโรงเรียนระดับยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทั้ง 2 ด้าน จากการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2566

1.5 โรงเรียนบ้านวังวน ได้รับรางวัลโรงเรียนยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทั้ง 2 ด้าน จากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ปีการศึกษา 2564

1.6 โรงเรียนบ้านวังวน ได้รับรางวัลโรงเรียนยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทั้ง 2 ด้าน จากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ปีการศึกษา 2565

1.7 โรงเรียนบ้านวังวน ได้รับรางวัลห้องเรียนดีเด่น ระดับ เหรียญเงิน ในการประเมิน ลูกพ่อขุนราม “อ่านออก เขียนได้ ลายมืองาม” ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2566

1.8 โรงเรียนบ้านวังวน เป็นโรงเรียนระดับยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1.9 โรงเรียนบ้านวังวน เป็นโรงเรียนระดับยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1.10 โรงเรียนบ้านวังวน เป็นโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รอบที่ 2 ปีการศึกษา 2566 - 2568

2. รางวัลครู

ครูผู้สอนทุกคนสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอน จัดหาและจัดทำสื่อการเรียนการสอน ใบความรู้ ใบงาน ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้

2.1ผู้อำนวยการ สุวารี วงศ์คำจันทร์ ได้รับกียรติบัตร เพื่อแสดงว่า ได้เผยแพร่นวัตกรรม

เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านวังวน I AM BWS MODEL

2.2นางสาวชุตินันท์ สุขคำ ได้รับกียรติบัตร เพื่อแสดงว่า ได้เผยแพร่นวัตกรรม

เรื่อง การพัฒนาความสามารถทางการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา

2.3นางสาวสรินทร์ภัสร์ อินทร์สม ได้รับรางวัลครูผู้สอนยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มี

คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทั้ง 2 ด้าน จากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564

2.4นางสาวสรินทร์ภัสร์ อินทร์สม ได้รับรางวัลครูผู้สอนยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มี

คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทั้ง 2 ด้าน จากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565

2.5นางสาวสรินทร์ภัสร์ อินทร์สม ได้รับรางวัลครูผู้สอนยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มี

คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทั้ง 2 ด้าน จากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566

2.6นางสาวสรินทร์ภัสร์ อินทร์สม ได้รับรางวัลครูผู้สอนยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มี

คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ด้านภาษาไทย จากผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566

2.7 นางสาวสรินทร์ภัสร์ อินทร์สม ได้รับรางวัล “อ่านออก เขียนได้ ลายมืองาม” ระดับเหรียญทอง ในการประเมิน ลูกพ่อขุนราม “อ่านออก เขียนได้ ลายมืองาม” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2566

2.8 นางสาวสรินทร์ภัสร์ อินทร์สม เป็นผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองแดง กิจกรรมการแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย ชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71

ปีการศึกษา 2566

2.9 นางสาวจันทร์แก้ว เรืองรอน ได้รับเกียรติบัตร เป็นครูผู้สอน ยอดเยี่ยม ที่ทำให้โรงเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ จากการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564

2.10 นางสาวจันทร์แก้ว เรืองรอน ได้รับเกียรติบัตร เป็นครูผู้สอน ยอดเยี่ยม ที่ทำให้โรงเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ จากการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565

2.11 นางสาวจันทร์แก้ว เรืองรอน ได้รับเกียรติบัตร เป็นครูผู้สอน ยอดเยี่ยม ที่ทำให้โรงเรียน

มีผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ จากการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566

2.12 นางสาวจันทร์แก้ว เรืองรอน ได้รับเกียรติบัตร เป็นครูผู้สอนระดับยอดเยี่ยม ที่ทำให้โรงเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565

2.3 นางสาวจันทร์แก้ว เรืองรอน ได้รับเกียรติบัตร เป็นครูผู้สอนระดับยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564

2.14 นางสาวจันทร์แก้ว เรืองรอน ได้รับเกียรติบัตร เป็นครูผู้สอนระดับยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2566

2.15 นางสาวจันทร์แก้ว เรืองรอน เป็นผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองแดง กิจกรรมการแข่งขันเวทคณิต ชั้น ป.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566

2.16 นางสุเพ็ญ แก้วหริ่ง เป็นผู้ฝึกสอนระดับยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564

2.17 นางสุเพ็ญ แก้วหริ่ง เป็นครูผู้สอนระดับยอดเยี่ยม ประเภทโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ย

สูงกว่าระดับประเทศ ด้านภาษาไทย จากผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ปีการศึกษา 2566

2.18 นางสุเพ็ญ แก้วหริ่ง ได้รับรางวัล “อ่านออก เขียนได้ ลายมืองาม” ระดับเหรียญทอง

ในการประเมิน ลูกพ่อขุนราม “อ่านออก เขียนได้ ลายมืองาม” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

ปีการศึกษา 2566

2.19 นางสุเพ็ญ แก้วหริ่ง ได้รับรางวัล “อ่านออก เขียนได้ ลายมืองาม” ระดับเหรียญทอง

ในการประเมิน ลูกพ่อขุนราม “อ่านออก เขียนได้ ลายมืองาม” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

ปีการศึกษา 2566

2.20 นางสาวสุพัชราวดี เขียนน้อย ได้รับรางวัล “อ่านออก เขียนได้ ลายมืองาม” ระดับเหรียญทอง ในการประเมิน ลูกพ่อขุนราม “อ่านออก เขียนได้ ลายมืองาม” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2566

2.21 นางสางสุนารี สนิทรักษ์ เป็นผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง กิจกรรมการแข่งขันการเล่านิทาน (Story Telling) ชั้น ป.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566

2.22 นายอนุวัฒน์ เนียนเฮียน ได้ผ่านการอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ หลักสูตรลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ระหว่างวันที่ 22 - 24 เดือนธันวาคม พุทธศักราช 2566

3. รางวัลผู้เรียน

3.1 เด็กหญิงกัญญาวีร์ แดงสูงเนิน ได้รับรางวัลนักเรียนยอดเยี่ยม คะแนนเต็ม 100 คะแนน จากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565

3.2 เด็กชายณัฐภัทร นุ่มพรม ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง กิจกรรม การแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย (คำคมเดิม) ชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566

3.2 เด็กหญิงสุพัชชา มนตา ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง กิจกรรม การแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย (คำคมเดิม) ชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566

3.3 เด็กชายกฤษฎา ตาดี ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง กิจกรรม การแข่งขันเวทคณิต ชั้น ป.1-3 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566

3.4 เด็กหญิงภัทธิรา รัตนพันธ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง กิจกรรม การแข่งขันเล่านิทาน (Story Telling) ชั้น ป.1-3 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566

3.5 เด็กหญิงสุพัชชา มนตา ระดับชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย ได้เข้าร่วมการแข่งขัน

“ตอบคำถามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ” ระดับจังหวัด ครั้งที่ 27

3.6 เด็กหญิงธนัญญา อุดมฤทธิ์ ระดับชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย ได้เข้าร่วมการแข่งขัน

“ตอบคำถามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ” ระดับจังหวัด ครั้งที่ 27

3.7 เด็กหญิงนพราดา แก้วหริ่ง ระดับชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย ได้เข้าร่วมการแข่งขัน

“ตอบคำถามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ” ระดับจังหวัด ครั้งที่ 27

8. ข้อเสนอแนะ

1) ควรจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน กายภาพนอกห้องเรียนรวมทั้งการบริหาร การบริการและกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการนิเทศภายในโรงเรียน เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ดูสวยงามจะทำให้เอื้อต่อการนิเทศ

ภายในโรงเรียนซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเรียนเป็นสำคัญได้ดียิ่งขึ้น

2) ผู้บริหารและครูควรมีการกำกับติดตามโครงการอย่างสม่ำเสมอ เพราะช่วยให้ได้สารสนเทศที่

เกี่ยวข้องกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้

การดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการ

โพสต์โดย ฺBV : [15 ก.ค. 2567 (14:51 น.)]
อ่าน [45] ไอพี : 1.10.219.53
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,059 ครั้ง
ถอดรหัสลับบิ๊ก "แอปเปิล" 6 สูตรสำเร็จที่ใคร ๆ อยากรู้ ?
ถอดรหัสลับบิ๊ก "แอปเปิล" 6 สูตรสำเร็จที่ใคร ๆ อยากรู้ ?

เปิดอ่าน 23,335 ครั้ง
เกมส์เรียงผลไม้
เกมส์เรียงผลไม้

เปิดอ่าน 3,761 ครั้ง
วิธีคลายร้อนให้บ้านปูน
วิธีคลายร้อนให้บ้านปูน

เปิดอ่าน 139,507 ครั้ง
ครูไทย 4.0 (จบ) : โดย ดิเรก พรสีมา
ครูไทย 4.0 (จบ) : โดย ดิเรก พรสีมา

เปิดอ่าน 13,170 ครั้ง
“เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่" ของขวัญปีใหม่ของพ่อแม่
“เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่" ของขวัญปีใหม่ของพ่อแม่

เปิดอ่าน 18,851 ครั้ง
สุดประทับใจ! ครูสาวแบกนร.หญิงป่วยหนัก เดินลงจากดอยไปส่งรพ.
สุดประทับใจ! ครูสาวแบกนร.หญิงป่วยหนัก เดินลงจากดอยไปส่งรพ.

เปิดอ่าน 41,932 ครั้ง
"หัวใจเต้นผิดจังหวะ" แค่ตื่นเต้นหรือป่วย
"หัวใจเต้นผิดจังหวะ" แค่ตื่นเต้นหรือป่วย

เปิดอ่าน 35,021 ครั้ง
มารยาทในการรับประทานอาหาร (table manners)
มารยาทในการรับประทานอาหาร (table manners)

เปิดอ่าน 10,972 ครั้ง
The Six Math Problem และวิธีหาคำตอบ ชมที่นี่
The Six Math Problem และวิธีหาคำตอบ ชมที่นี่

เปิดอ่าน 154,946 ครั้ง
หลักการสอนโดย โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange)
หลักการสอนโดย โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange)

เปิดอ่าน 39,438 ครั้ง
โอลิมปิก : ประวัติกีฬาโอลิมปิก
โอลิมปิก : ประวัติกีฬาโอลิมปิก

เปิดอ่าน 31,416 ครั้ง
รู้ไหมว่า...ประเทศไทยโชคดีที่ตั้งอยู่บน "เส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก"
รู้ไหมว่า...ประเทศไทยโชคดีที่ตั้งอยู่บน "เส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก"

เปิดอ่าน 18,292 ครั้ง
ปลูก"ไผ่นานาพันธุ์" ฟันธง…ปลูกแล้วสร้างรายได้ดีแน่นอน!!
ปลูก"ไผ่นานาพันธุ์" ฟันธง…ปลูกแล้วสร้างรายได้ดีแน่นอน!!

เปิดอ่าน 9,598 ครั้ง
เคล็ดลับดูแลผมในหน้าร้อน
เคล็ดลับดูแลผมในหน้าร้อน

เปิดอ่าน 12,757 ครั้ง
เผย 10 สุดยอดวิดีโอบน "ยูทูบ" ที่คนไทยชอบชมมากที่สุดปี 2558
เผย 10 สุดยอดวิดีโอบน "ยูทูบ" ที่คนไทยชอบชมมากที่สุดปี 2558

เปิดอ่าน 12,378 ครั้ง
คลิปพายุถล่มรร.สตรีฯตราด กวาดทุกอย่างราบเป็นหน้ากลอง
คลิปพายุถล่มรร.สตรีฯตราด กวาดทุกอย่างราบเป็นหน้ากลอง
เปิดอ่าน 24,826 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาแล้ว ปฏิรูปการลูกเสือด้วยครับ โดย จารึก อะยะวงศ์
ปฏิรูปการศึกษาแล้ว ปฏิรูปการลูกเสือด้วยครับ โดย จารึก อะยะวงศ์
เปิดอ่าน 31,234 ครั้ง
iPhone 6 เปิดตัวแล้ว ไอโฟน6 มีอะไรใหม่บ้าง มาดูกัน
iPhone 6 เปิดตัวแล้ว ไอโฟน6 มีอะไรใหม่บ้าง มาดูกัน
เปิดอ่าน 21,224 ครั้ง
กองทัพเรือไทย
กองทัพเรือไทย
เปิดอ่าน 57,748 ครั้ง
12 ต้นไม้บนโต๊ะทำงานยอดนิยม ประดับไว้ให้สดชื่น
12 ต้นไม้บนโต๊ะทำงานยอดนิยม ประดับไว้ให้สดชื่น

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ