แบบรายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะการเรียนรู้รูปแบบ (Active Learning) เรื่อง ปลอดภัยไว้ก่อน ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center
ผู้เสนอผลงาน นางสาวศิริรักษ์ กองเงินนอก
ตำแหน่ง ครู
สถานศึกษา โรงเรียนวัดจำปา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ผลงานประเภท
 ครูผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center
1.ความเป็นมาและความสำคัญ
ปัจจุบันสถานการณ์การบาดเจ็บ และการเสียชีวิตของเด็กปฐมวัยด้วยอุบัติเหตุมีแนวโน้มสูงขึ้น
ปัญหาความปลอดภัยและการบาดเจ็บในเด็กแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการสอนให้เด็กรู้จักปฏิบัติตน ให้ปลอดภัยจากสถานการณ์อันตรายเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับตัวเด็กเอง เนื่องด้วยกระบวนการ พัฒนาทางสติปัญญาของเด็กที่ยังไม่ได้พัฒนาไปถึงขั้นการเข้าใจความสัมพันธ์ของความเป็นเหตุเป็นผล
ทำให้เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่บาดเจ็บได้ง่ายและเด็กปฐมวัยยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากสถานการณ์อันตรายได้
อีกทั้งเด็กในวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นและความต้องการลงมือกระทำด้วยตนเอง22ดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ต้องถูกสอนและได้ปฏิบัติซํ้า ๆ ในเรื่องความปลอดภัย การให้เด็กได้ทำกิจกรรมซํ้า ๆ ที่ได้ใช้ร่างกาย ในการมอง ฟ้ง และเคลื่อนไหวทำให้เด็กได้ซึมซับข้อมูลที่เป็นนามธรรมได้ง่าย โดยการเรียนการสอนที่ หลากหลายวิธี ( พัชรา พานทองรักษ์ .วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2) ทั้งนี้จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้อธิบายมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ประสบการณ์สำคัญ ที่เด็กจะต้องได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การรักษาความปลอดภัย การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในกิจวัตรประจำวัน การฟังนิทาน เรื่องราว เหตุการณ์เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความปลอดภัย การเล่นเครื่องเล่นอย่างปลอดภัย และการเล่นบทบาทสมมุติเหตุการต่างๆ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำโดย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีของนักเรียนและครู ได้มีการเน้นย้ำให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และสถานศึกษาในสังกัดทั่วประเทศ ได้ปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาอยู่เสมอ ตามนโยบาย เรียนดี มีความสุข ของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความห่วงใยในสวัสดิภาพและความปลอดภัยของนักเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษา และต้องการให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
ครูผู้สอนเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้นำแนวคิดการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยมุ่งเน้นให้เด็กปฐมวัย ลงมือปฏิบัติ กิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านการไตร่ตรองจากกระบวนการสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ที่เชื่อมโยงความรู้ จากประสบการณ์เดิม เด็กได้เผชิญ กับสถานการณ์และหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เด็กได้นำความรู้ที่ ได้รับมาสร้างเป็นความรู้ใหม่โดยครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อ และอำนวยความสะดวกให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ระดับปฐมวัย โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ)
ด้วยเหตุนี้จึงได้ศึกษานวัตกรรมที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน โดยการนำนวัตกรรมจากระบบคลังสื่อ OBEC Content Center ในรูปแบบวิดีโอการสอน หนังสือ และใบงาน เข้ามาส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน ให้สามารถปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในกิจวัตรประจำวัน และรู้จักการป้องกันอันตราย จากสถานการณ์ต่างๆได้
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำนวัตกรรมการสอนในระบบ คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning เรื่อง ปลอดภัยไว้ก่อน ให้กับนักเรียนชั้นอนุบาล 2/2
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ของตนเองได้อย่างปลอดภัย
3. เพื่อเผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning เรื่อง ปลอดภัยไว้ก่อน ร่วมกับนวัตกรรมการสอนในระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center ให้กับผู้ที่สนใจ
3.เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดจำปา อำเภออุทัยจำนวน 16 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดจำปา อำเภออุทัยจำนวน 16 คน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ความปลอดภัยและสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเองได้อย่างปลอดภัย
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน (ตามวงจรคุณภาพ deming PDCA)
ขั้นตอนการวางแผน (Plan) ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาการจัดประสบการณ์เรื่อง ปลอดภัยไว้ก่อน ในรูปแบบการสอน Active Learning โดยการนำนวัตกรรมการสอนในระบบ คลังสื่อดิจิทัล OBEC Content Center มาใช้ในการจัดประสบการณ์ ให้เด็กได้เรียนรู้ และสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างปลอดภัย รู้จักการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นได้
2. วางแผนการทำงานโดยการวิเคราะห์สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและตัวบ่งชี้ และออกแบบการจัดประสบการณ์
3.จัดเตรียมสถานที่ สื่อการสอน เกมการศึกษา ใบงาน และวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ (Do) โดยแยกเป็นแต่ละกิจกรรมดังนี้
จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการออกแบบการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยวิธีการ ที่หลากหลาย สร้างสถานการณ์ให้เด็กๆฝึกคิดและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของตนเองและสามารถนำไปใช้ ในชีวิตประจำวัน ผ่าน 6 กิจกรรมหลักดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระและแสดงท่าทางประกอบ เพลง ข้ามถนน
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฝึกการสังเกต สนทนาโต้ตอบ ซักถามอภิปราย ในรูปแบบการเรียนรู้ Active Learning โดยการใช้สื่อนวัตกรรม OPEC Content Center ได้แก่ วีดีโอการสอนเรื่อง ความปลอดภัย หนังสือภาพ ใบงานและ ตัวอย่างการจัดกิจกรรมของคุณครู การแสดงบทบาทสมมุติการเดินทางบนท้องถนนและการปฏิบัติตามกฎจราจร
3. กิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กๆได้ระบายสีรูปภาพการข้ามทางม้าลาย ตามจินตนาการของตนเอง และปั้นดินน้ำมันเป็นรูปสัตว์มีพิษ
4. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับมุมประสบการณ์ต่างๆ ในห้องเรียนอย่างอิสระตามความสนใจของเด็กๆ
5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียนฝึกกายบริหารและได้เรียนรู้สถานการณ์อันตรายจากคนแปลกหน้า ให้เด็กๆ รู้จักคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อเกิดประสบการณ์ใหม่และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้เล่นเกมจัดหมวดหมู่ภาพกิจกรรมที่ปลอดภัยและกิจกรรมที่อันตรายเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีทักษะความคิดรวบยอด
ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล (Check)
ตรวจสอบประเมินผลการดำเนินการ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ให้สอดคล้องกับมาตรฐานตัวบ่งชี้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ดังนี้
1.ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมและการตอบตำถามของเด็ก
2.ประเมินจากผลงานของเด็ก
ขั้นการปรับปรุง แก้ไข (Action)
นำผลการวัดประเมินผลการเรียนรู้มาใช้แก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เพื่อนครู เพื่อนำไปปรับปรุงใช้ในการจัดประสบการณ์อื่นๆ
5. ผลการดำเนินงาน
ผลที่เกิดขึ้นบรรลุตามกิจกรรม จากการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning เรื่อง ปลอดภัยไว้ก่อน โดยการนำคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
1.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจใน เรื่อง ความปลอดภัย และการป้องกันตนเองจากสถานการณ์ที่อันตรายและรู้จักการรักษาความปลอดภัยของตนเองได้
2. ครูสามารถเข้าถึงการใช้สื่อเทคโนโลยีได้อย่างง่ายและสามารถเลือกใช้สื่อการสอนได้อย่างหลากหลาย เด็กๆมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมและให้ความสนใจในกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
6.ประโยชน์ที่ได้รับ
1.นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้จากคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center ไปใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถทบทวนบทเรียนได้ที่บ้านโดยครูจะส่งผ่านกลุ่มไลน์ห้องเรียนเพื่อให้เด็กๆได้ทบทวนที่บ้านกับผู้ปกครอง
2. ครูสามารถนำสื่อเทคโนโลยี จากคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและนำมาเป็นแบบอย่างในการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ สื่อการสอนและสามารถเผยแพร่เป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้ที่สนใจได้
7.บทเรียนที่ได้รับ
1.ด้านการจัดการเรียนการสอน จากการใช้สื่อเทคโนโลยี จากคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมีสื่อการสอนที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและสนใจในกิจกรรมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
2.ด้านประสบการณ์ของครู ทำให้ครูได้มีแบบอย่างที่ดีและเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง โดยการนำเทคนิควิธีการสอนต่างๆ มาสร้างสื่อการสอนแบบเทคโนโลยีและได้เผยแพร่สู่คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
3. ด้านประสบการณ์ของนักเรียน นักเรียนได้รับความรู้จากการเรียนรู้สื่อที่หลากหลายจากคุณครูท่านอื่นๆและสามารถนำไปทบทวนความรู้ที่บ้านเพิ่มเติมได้
8.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center ที่มีส่วนช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามเป้าหมาย
2. นางสาวยุวดี พันธ์สุจริต ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดจำปา ที่ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเอง โดยการให้คำปรึกษา แนะนำ นิเทศการจัดการเรียนการสอน และให้ความสำคัญในด้านของเทคโนโลยีระบบคลังสื่อOBEC Content Center
3. นางสาวสุรีรัตน์ ดีภา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ แนวทางในการใช้ สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center และการสร้างสื่อเทคโนโลยีใน CANVA
4. นายอำนาจ ก้อนคำ นักการภารโรง ที่ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยการปลอมตัวเป็นคนแปลกหน้า เพื่อเป็นการสร้างสถานการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการหนีเอา ตัวรอด
5. คณะครูกลุ่ม PLC โรงเรียนวัดจำปา ที่เป็นกัลยาณมิตรที่ดีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้และและให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน ในการดำเนินงานครั้งนี้
6. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนวัดจำปา ที่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างดี และผู้ปกครองให้การสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการนำหมวกกันน็อคมาให้เด็กๆทำกิจกรรมร่วมกัน
7. โรงเรียน มีความพร้อมในด้านอาคารและสถานที่ และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
9.การเผยแพร่และการได้รับการยอมรับ
1.เผยแพร่การจัดการเรียนการสอน ผ่านเพจ Facebook โรงเรียนวัดจำปา
2. เผยแพร่ผ่าน เพจ Facebook ส่วนตัว Noodear Sirirak ได้รับการตอบรับและยอมรับจากเพื่อนครูและผู้ปกครองเป็นอย่างดี
3. การนำเทคนิคการจัดประสบการณ์ และการทำสื่อที่ จากคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center มาทำการสื่อการเรียนการสอนและเผยแพร่ให้คุณครูท่านอื่นได้ใช้ประโยชน์ และทำกิจกรรมร่วมกัน
10.บรรณานุกรม
พัชรา พานทองรักษ์ .วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ระดับปฐมวัย
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,2545:89-91.หลักการวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA):กรุงเทพฯ