ผลงานที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ร่วมกับสื่อการเรียนการสอน
ผู้เสนอผลงาน นางสาวบุษยา เรืองสุวรรณ์
ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง
สถานศึกษา โรงเรียนวัดจำปา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
๑. ความเป็นมาและความสำคัญ
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กโดยการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สนองตอบต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตาม ศักยภาพภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรักความเอื้ออาทร (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546: 3) ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ให้เกิดการเรียนรู้ ได้รับการพัฒนาครบทุก ด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นและ ลงมือกระทํา (Active Learning) ผ่านสื่อการสอน ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิด และเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก ดังรายงาน การศึกษาเปรียบเทียบเด็ก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการสอนจากครูโดยตรง (Direct Instruction) กลุ่มเนอร์ สเซอรี่แบบดั้งเดิม (Traditional Nursery) และกลุ่มที่ได้รับประสบการณ์แบบลงมือกระทํา จากการศึกษา ติดตามเด็กเหล่านี้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอายุ 29 ปีพบว่า กลุ่มที่ 3 มีปัญหาพฤติกรรมทางสังคมอารมณ์เช่น การถูกจับข้อหาลักขโมย ทําร้ายผู้อื่น บกพร่องทางอารมณ์และล้มเหลวในชีวิตน้อยกว่าอีก 2 กลุ่ม ดังนั้น การจัดประสบการณ์เชิงบูรณาการที่เด็กเป็นผู้ลงมือกระทํา จะช่วยให้เด็กลดปัญหาพฤติกรรมทาง สังคม-อารมณ์ เพิ่มพูนความสําเร็จทางการศึกษาและผลผลิตตลอดชีวิต
ของเล่น เป็นสื่อกลางการเรียนรู้ของเด็ก การเล่นของเล่นให้เด็กนอกจากตรงกับความสนใจและเหมาะสมกับวัยของเด็กแล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของของเล่นที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อการเรียนรู้ของเด็กด้วย ดังนั้นเด็ก ๆ ต้องรู้จักของเล่นและของใช้ในห้องเรียน ของใช้ที่เป็นของส่วนตัวและส่วนรวม การระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนในการเล่นของเล่นและใช้ของใช้ การปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนเกี่ยวกับของเล่นและของใช้ การเก็บของเล่นและของใช้เข้าที่ การเก็บรักษาของเล่นของใช้การเล่นของเล่นและการใช้ของใช้อย่างประหยัดคุ้มค่า
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว การพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ร่วมกับสื่อการเรียนรู้ รูปแบบสื่อภาพ และใบงาน เป็นการจัดการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่จะช่วยการพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะใช้นวัตกรรมดังกล่าวมาพัฒนานักเรียนต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. การพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ร่วมกับสื่อการเรียนการสอน
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ระหว่างก่อนและหลังใช้กระบวนการสอนร่วมกับสื่อการเรียนการสอ3. เป้าหมาย
นักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 จำนวน 19 คน ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดจำปา อำเภออุทัย
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ครูผู้สอนศึกษา เรียนรู้ และค้นคว้าเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัยการเรียนรู้ผู้เรียน
2. วางแผน เพื่อกำหนดเนื้อหาในเรื่องที่ต้องการฝึกฝนทักษะให้กับนักเรียน สำหรับเนื้อหาที่ต้องการให้นักเรียนเกิดทักษะ คือ การพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ร่วมกับสื่อการเรียนการสอน
3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยนำรูปแบบการเรียน มาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านสื่อการเรียนการสอน
4. นักเรียนเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติตามแผนการสอน ผ่านสื่อการเรียนการสอน
5. สร้างและใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน หลังเสร็จสิ้นการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ร่วมกับสื่อการเรียนการสอน บันทึกและสรุปผล การจัดการเรียนรู้พร้อมทั้งระบุปัญหา และอุปสรรค นำผลที่ได้ มาวิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่พบระหว่าง จัดกิจกรรมการเรียนรู้
6. เผยแพร่ผลงานการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ร่วมกับสื่อการเรียนการสอน บนเว็บไซต์
ผลการดำเนินงาน
ผลที่เกิดขึ้นบรรลุตามกิจกรรม
ผลที่เกิดกับนักเรียน
1. เด็กเกิดทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ร่วมกับสื่อการเรียนการสอน คิดเป็นร้อยละ 90 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3
2. เด็กเกิดทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่น ของใช้ หลังเรียน โดยใช้กระบวนการสอน ร่วมกับสื่อการเรียนการสอน ที่ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เด็กได้รับการพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ร่วมกับสื่อการเรียนการสอน ที่ดียิ่งขึ้น
2. ครูมีนำสื่อการเรียนการสอนมาใช้ช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป
และสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผู้สร้างและพัฒนาสื่อ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
3. นักเรียนได้รับความรู้จากการทํากิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน สื่อการเรียนการสอนที่ครูนำมาใช้
5. บทเรียนที่ได้รับ
1. นักเรียนเกิดความสนใจ ตื่นเต้น สนุกสนาน กระตือรือร้น ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้สื่อ การสอนที่ครูเตรียมมา
2. ครูผู้สอนสามารถใช้สื่อในการช่วยสอน เพื่อเป็นการทำให้เด็กเห็นภาพและเข้าใจสิ่งที่เรียนร็มากยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรงครูผู้สอนได้เป็นอย่างดี
6. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ร่วมกับสื่อการเรียนการสอน โรงเรียนวัดจำปา อำเภออุทัย เพื่อพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสิรมประสบการณ์ เรื่อง ของเล่นของใช้ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โดยใช้สื่อการเรียนการสอนที่ครูสร้างขึ้น นำมาใช้สร้างประสบการณ์ให้กับเด็ก ในเรื่อง ของเล่นของใช้ ขอขอบพระคุณ นางสาวยุวดี พันธ์สุจริต ผู้อํานวยการโรงเรียนวัดจำปา และคณะครูทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริม นิเทศ กํากับ ติดตาม จนทําให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
7. การเผยแพร่