ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยเทคนิค

PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5

(วัดหัวป้อมนอก) สังกัดเทศบาลนครสงขลา

DEVELOPING A HYBRID ONLINE LEARNING MANAGEMENT MODEL USING PQBRCS TECHNIQUES FOR ENGLISH COURSES TO PROMOTE THE ABILITY TO READ ENGLISH FOR STUDENTS IN MATHAYOM 1, TESSABAN 5 (WAT HUA POM NORK) SCHOOL UNDER SONGKHLA MUNICIPALITY

ธัชกร แก้วประดิษฐ์

Tatchakorn Kaewpradit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567จำนวน 35 คน 1 ห้องเรียน คัดเลือกด้วยวิธีการจับสลากหน่วยห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ( =4.57, S.D.=0.53) 2) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ มีประสิทธิภาพ 80.31/86.29 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนด 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการอ่านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.48,S.D.=0.67)

คำสำคัญ : ภาษาอังกฤษ, รูปแบบการเรียนการสอน

Abstract

The objectives of this research were 1) To study the problems and requirements learning management. To promote the ability to read English For students in Mathayom 3, Tessaban 5 (Wat Hua Pom Nork) School 2) Develop a learning management model using PQBRCS technique for English courses to promote reading ability in English 3) To experiment with learning management model using PQBRCS technique for English courses. and 4) to evaluate the use of a learning management model using PQBRCS technique in English courses. To promote the ability to read in English, the sample group used in this research was Grade 3 students, Municipality School 5 (Wat Hua Pom Nok), Bo Yang Sub-district, Mueang District, Songkhla Province, semester 1 of the academic year 2023, 35 people, 1 classroom, selected by drawing lots of classroom units. The research tools were as follows: 1)Online Learning Management 2)achievement test 3) satisfaction questionnaire 4) reading ability test. The statistics used in the research were mean, percentage, standard deviation. and hypothesis testing with t-test. The results were as follows: 1) A learning management model using PQBRCS technique for English courses. To promote the ability to read English Overall, it was most appropriate ( =4.57, S.D.=0.53) 2) the effectiveness of learning management with PQBRCS technique in English courses. To promote the ability to read English. The efficiency of the sample group was 80.31/86.29 higher than the specified 80/80 efficiency criterion.

3) The sample group’s learning achievement score after school was significantly higher than the pre-study score at the .05 level and the reading ability. The sample had a statistically significantly higher score after school than before at the .05 level and 4) the students’ satisfaction with the hybrid online learning model with PQBRCS technique in English courses. To promote the ability to read English Overall, it was at a high level ( =4.48,S.D.=0.67).

Keyword: English language, Instructional Model

1. บทนำ

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยมศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการใช้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้และส่งเสริมสร้างทักษะการใช้ภาษาและสร้างศักยภาพในการคิด การทำงานอย่างสร้างสรรค์ในการประกอบอาชีพ และศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก สามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2551 : 1) ภาษาต่างประเทศจึงจัดได้ว่ามีความสำคัญและถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องจัดไว้ในหลักสูตรของการศึกษาแทบทุกประเทศ ลักษณะของการจัดอาจจะเป็นวิชาเลือก หรือวิชาบังคับขึ้นอยู่กับปรัชญาการศึกษาของแต่ละประเทศ ซึ่งจะเห็นความสำคัญของภาษาต่างประเทศในลักษณะใด โดยเปรียบเทียบความสำคัญที่จะต้องใช้ภาษาต่างประเทศตามรากฐานทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมการติดต่อและการสื่อสารในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยนั้นภาษาต่างประเทศที่นิยมเรียนกันมากคือภาษาอังกฤษ เนื่องจากเห็นว่าเป็นภาษาสากล และสามารถนำไปใช้ติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ ยังมีโอกาสสูงกว่าในด้านการประกอบอาชีพ และการเลือกการทำงานที่ดีกว่า (ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน, 2553 : 1)

ดังนั้นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จึงได้กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในสาระการเรียนรู้ซึ่งโรงเรียนจะต้องดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านคือ ทักษะด้านการฟัง ทักษะด้านการพูด ทักษะด้านการอ่านและทักษะด้านการเขียน (พรชัย แสงอุ่น, 2560) ทักษะด้านการอ่านเป็นทักษะที่ผู้เรียนทุกคนจำเป็นต้องใช้เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และนอกจากนั้นการอ่านยังนำไปสู่ทักษะด้านการฟัง การพูด และการเขียนอีกด้วย นอกจากนี้ทักษะการอ่านยังช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาการศึกษาแสวงหาความรู้ในระดับสูงต่อไปและด้วยความสำคัญของการอ่านนี้จึงเกิดการฝึกทักษะเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการอ่าน จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ (ผ่องศรี วงศ์กระจ่าง, 2551 : 46) สอดคล้องกับแนวคิดของ Klingner (1977) ได้กล่าวว่าการอ่านเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ตลอดจนสามารถพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และสังคม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนเพื่อให้สามารถแสวงหาความรู้จากการอ่านและมีความสามารถด้านการรับรู้ และเป็นทักษะที่นักเรียนจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนต่อในระดับสูง และเป็นรากฐานในการเรียนรายวิชาอื่น ๆ ได้อีกด้วย ผลจากการศึกษารายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ในปี 2564 – 2565 ที่ผ่านมาพบว่านักเรียนมีผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไปเพียงร้อยละ 20 ซึ่งอยู่ในระดับ “ปรับปรุง” และจากการศึกษาบริบทการเรียนการสอนกับครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล 5

(วัดหัวป้อมนอก) พบว่า นักเรียนไม่สนใจเรียน ไม่มีทักษะในการอ่าน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความเข้าใจในการอ่าน พบว่านักเรียนไม่มีทักษะในการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นการคาดเดาศัพท์ความหมายของศัพท์ การหาใจความสำคัญ ไม่สามารถวิเคราะห์คำหรือข้อความในบทอ่าน ผลจากการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-6 พบปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับด้านเนื้อหา นักเรียนมองว่าเนื้อหาหรือบทอ่านค่อนข้างยาวและซับซ้อน มีคำศัพท์ยาก ด้านกระบวนการเรียนรู้ พบว่านักเรียนมีเวลากับการทำความเข้าใจเรื่องที่อ่านน้อย ส่วนใหญ่ครูจะเป็นคนอธิบาย แปลความหมายคำศัพท์ วิเคราะห์บทอ่านให้ฟัง และให้นักเรียนตอบคำถาม นักเรียนไม่ค่อยมีส่วนในการเรียนเท่าที่ควร ขาดทักษะการทำงานและทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

จากสภาพปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่กล่าวมา ดังนั้นผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) โดยการศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้นำไปปรับใช้กับทุกระดับชั้นและสามารถศึกษาวิจัยต่อยอดองค์ความรู้ได้ในอนาคต

2.วัตถุประสงค์การวิจัย

2.1 เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)

2.2 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

2.3 เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

2.4 เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

3. แนวคิด ทฤษฎี กรอบแนวคิด

การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านในระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยพัฒนารูปแบบเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีเรียน ให้เป็นการเรียนใหม่ที่น่าสนใจ เข้ามาช่วยทำการสอน นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนแบบ เป็นแนวคิดที่ผสานวิธีการจัดการเรียนรู้และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในรูปแบบแตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกัน เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียน การเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อลดข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งผู้เรียนจะมีความยืดหยุ่นในการควบคุมการเรียนรู้ตามศักยภาพ ช่วงเวลา สถานที่ และรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับตนเอง ประกอบกับการได้รับการกำกับดูแลและให้คำชี้แนะจากผู้สอน (ปณิตา วรรณพิรุณ, 2554; Hom & Staker, 2015; Littlejohn & Pegler, 2007)

4. วิธีดำเนินการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) สังกัดเทศบาลนครสงขลา ครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยดำเนินการทั้งหมด 4 ระยะ รายละเอียดดังนี้

ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)

1. กลุ่มเป้าหมายที่ให้ผู้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนภาษาต่างประเทศ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลสงขลา จำนวน 22 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ

ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย สำหรับทดลอง(Try-out) ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9 ห้อง นักเรียนทั้งหมด 355 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานการวิจัยสำหรับทดลอง(Try-out) ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน 1 ห้องเรียน คัดเลือกด้วยวิธีการจับสลากหน่วยห้องเรียน แต่ละห้องเรียนประกอบด้วยนักเรียนที่คละความสามารถจึงมีคุณสมบัติไม่แตกต่างกัน

2. กลุ่มเป้าหมายสำหรับประเมินความเหมาะสมได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา วัดผลประเมินผล หลักสูตรและการสอน วิจัยประเมินผล เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและที่เกี่ยวข้องกับด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 7 คน

3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1)รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน 5) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 6) แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9 ห้อง นักเรียนทั้งหมด 352 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน 1 ห้องเรียน คัดเลือกด้วยวิธีการจับสลากหน่วยห้องเรียน แต่ละห้องเรียนประกอบด้วยนักเรียนที่คละความสามาถจึงมีคุณสมบัติไม่แตกต่างกัน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน และ 5) แผนการจัดการเรียนรู้

3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) ความสามารถในอ่าน และ 4) ความพึงพอใจ

4. แบบแผนการทดลอง

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D)ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม One Group Pre test – Post test Design (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2556) ดังนี้

กลุ่มทดลอง Pretest Treatment Posttest

N T1 X T2

เมื่อ N แทน กลุ่มทดลอง

T1 แทน การทดสอบก่อนการทดลอง (Pre-test)

X แทน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

T2 แทน การทดสอบหลังการทดลอง (Post-test)

5. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

5..1 ผู้วิจัยได้อธิบายชี้แจงทำความเข้าใจและข้อตกลงกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการเรียน เวลาเรียน และวิธีการในการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการจริยธรรมวิจัย

5.2 ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) โดยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อนำคะแนนที่ได้เป็นคะแนนทดสอบก่อนเรียน

5.3 ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น

5.4 เมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ตามการทดลองแล้ว ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังเรียน (Post-test) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านซึ่งเป็นชุดเดียวกับก่อนเรียน แล้วทำการบันทึกผลการสอบไว้เป็นคะแนนทดสอบหลังเรียน

5.5นำคะแนนที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน และแบบประเมินความพึงพอใจมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ

6. การวิเคราะห์ข้อมูล

6.1 วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

6.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สูตร t-test แบบ Dependent samples ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

6.3 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปแล้วนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

6.4 วิเคราะห์ค่าความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบความและแบบทดสอบพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.66 – 1.00 ขึ้นไป หาค่าความยากง่าย (p) ขอบแบบทดสอบโดยมีค่าระดับความยากตั้งแต่ 0.36 – 0.76 และค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบโดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.43 – 0.51 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบมีค่าเท่ากับ 0.83

7. สถิติที่ใช้ในการวิจัย

7.1 สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ 1) หาค่าความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับแบบวัดแต่ละข้อ (IOC) 2) หาค่าความยากง่าย (p) และค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 3) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

7.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ 80/80 (E1/E2) และทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกันด้วยสูตร t-test (Dependent sample)

ระยะที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PQBRCS รายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

1. กลุ่มเป้าหมาย เป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)

โพสต์โดย เจี๊ยบ : [14 ก.ค. 2567 (12:59 น.)]
อ่าน [992] ไอพี : 27.55.85.23
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 12,986 ครั้ง
กรมอุตุฯเตือนภัยพายุฤดูร้อนในประเทศไทย
กรมอุตุฯเตือนภัยพายุฤดูร้อนในประเทศไทย

เปิดอ่าน 35,119 ครั้ง
การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์
การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์

เปิดอ่าน 118,213 ครั้ง
ดาวน์โหลดหนังสือ Brain-based Learning (BBL) 7 เล่ม เขียนโดย อ.พรพิไล เลิศวิชา
ดาวน์โหลดหนังสือ Brain-based Learning (BBL) 7 เล่ม เขียนโดย อ.พรพิไล เลิศวิชา

เปิดอ่าน 26,391 ครั้ง
วิธีลดต้นขา แบบญี่ปุ่น ง่ายๆ ไม่เสียตังค์
วิธีลดต้นขา แบบญี่ปุ่น ง่ายๆ ไม่เสียตังค์

เปิดอ่าน 5,806 ครั้ง
ดูโปรตั๋วเครื่องบินไปแม่สอด เที่ยวบินราคาประหยัด
ดูโปรตั๋วเครื่องบินไปแม่สอด เที่ยวบินราคาประหยัด

เปิดอ่าน 35,195 ครั้ง
ปลิงหรือทากกัด
ปลิงหรือทากกัด

เปิดอ่าน 32,664 ครั้ง
เส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยที่ขาแตก มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน
เส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยที่ขาแตก มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน

เปิดอ่าน 33,223 ครั้ง
มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน สังกัด สพฐ.
มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน สังกัด สพฐ.

เปิดอ่าน 53,196 ครั้ง
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย

เปิดอ่าน 10,796 ครั้ง
ครูโซ่สอนตรีโกณมิติ ชิล ๆ ในแบบบอดี้สแลม !
ครูโซ่สอนตรีโกณมิติ ชิล ๆ ในแบบบอดี้สแลม !

เปิดอ่าน 21,421 ครั้ง
จิตรกรรม
จิตรกรรม

เปิดอ่าน 21,023 ครั้ง
กินรสจืด ยืดชีวิต
กินรสจืด ยืดชีวิต

เปิดอ่าน 12,330 ครั้ง
ออกกำลังกายเป็นประจำทำให้เงินเดือนสูงขึ้น
ออกกำลังกายเป็นประจำทำให้เงินเดือนสูงขึ้น

เปิดอ่าน 22,898 ครั้ง
4 เรื่องฝากครรภ์ที่แม่ต้องรู้
4 เรื่องฝากครรภ์ที่แม่ต้องรู้

เปิดอ่าน 31,897 ครั้ง
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”

เปิดอ่าน 14,222 ครั้ง
แสงสว่างของหิ่งห้อยมาจากไหน
แสงสว่างของหิ่งห้อยมาจากไหน
เปิดอ่าน 25,196 ครั้ง
ปลูกข่าข้างบ่อปลา สร้างรายได้ถึง 400,000 บาท/ไร่
ปลูกข่าข้างบ่อปลา สร้างรายได้ถึง 400,000 บาท/ไร่
เปิดอ่าน 29,493 ครั้ง
การถ่ายภาพมาโคร MACRO PHOTOGRAPHY
การถ่ายภาพมาโคร MACRO PHOTOGRAPHY
เปิดอ่าน 16,457 ครั้ง
ลายมือผู้นำระดับโลก
ลายมือผู้นำระดับโลก
เปิดอ่าน 16,174 ครั้ง
มากกว่านี้มีอีกไหม! พบคู่แฝด 29 คู่เรียนในโรงเรียนเดียวกันที่อุดรธานี
มากกว่านี้มีอีกไหม! พบคู่แฝด 29 คู่เรียนในโรงเรียนเดียวกันที่อุดรธานี

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ