วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ปีการศึกษา 2566 นักเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 18 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
1.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาย
2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
3.แบบทดสอบทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
4. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์และทักษะการปฏิบัติตามทฤษฏีของโคดาย
2.เปรียบเทียบทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยตามทฤษฏีของโคดาย
3. วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
ขั้นตอนการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้า เรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฏีของโคดาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้ทฤษฎีการสอน ดนตรีของโซลตาน โคดาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นลำดับขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ 3 ขั้นตอนดังนี้
1. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฏีของโคดาย ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์จำนวน 3 แผน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ขลุ่ยรีคอร์เดอร์จำนวน 1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การอ่านโน้ตเพลงและสัญลักษณ์แทนตัวโน้ตจำนวน 1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ จำนวน 4 ชั่วโมง
ซึ่งในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 3 แผน มีองค์ประกอบที่ทำให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ประกอบด้วยสาระสำคัญ ตัวชี้วัด จุดประสงค์ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้และบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผลการจัดการประความเหมาะสมมากที่สุด ผลการประเมินประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ตามทฤษฏีของโคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80
ก่อนทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ได้ทำการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง ผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาย พบว่า
2.1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลัง เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทักษะการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่า ทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยส สำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05
3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ใช้ทฤษฏีของโคดาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ใช้ทฤษฎีของโคดาย ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้และแจกแบบสอบถาม
ความพึงพอใจให้กับกลุ้มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 18 คน ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการ เรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
อภิปรายผล
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา มาตรฐานและตัวชี้วัด สาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล ซึ่งแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดายที่สร้างขึ้น มาหาค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เท่ากับ 91.06 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาย ครอบคลุมเนื้อหาสาระที่สอน และผู้เรียนเข้าใจในกิจกรรมการเรียนการสอนง่าย สอดคล้องกับ (ฤทธิรงค์ไชยสุข, 2552) ได้ศึกษา การพัฒนาเทคนิคการสอนและสื่อการสอนขลุ่ยรีคอร์เดอร์สำหรับผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของเทคนิคการสอนและสื่อการสอนขลุ่ยรีคอร์เดอร์สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 72.10/87.10 ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 พบว่าค่าประสิทธิภาพของเทคนิคการสอนและสื่อการสอนก่อนการทดสอบระหว่างเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานส่วนค่าประสิทธิภาพของเทคนิคการสอนและสื่อการสอนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สอดคล้องกับ (วิไลพร ภูมิเขตร์, 2560) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์โดยใช้กระบวนการปฏิบัติประกอบแบบฝึกทักษะ ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการปฏิบัติประกอบแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ86.53/85.97
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฏีของโคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่า (1) หลังผู้เรียนเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาย ทำให้ผลสัมฤท์ทางการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาย ผู้เรียนมีความเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน และผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ใน เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ จนทำให้มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์สูงขึ้น
ทักษะการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎี ของโคดาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาย ที่เน้นทางด้านการอ่านโน้ต ร้องโน้ตและปฏิบัติ ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ดีขึ้น (เดชาชัย สุจริตจันทร์, 2549) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรีเรื่องการอ่านโน้ตสากลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปี่ที่ 2/1 ที่เรียนตามวิธีสอนของโคดายกับวิธีสอนปกติ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยวิธีสอนของโคดาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยวิธีสอนของโคดาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(3) นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่เรียนโดยวิธีสอนของโคดาย มีทักษะการอ่านโน้ตสากลเบื้องต้นสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีสอนปกติ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยวิธีสอนของโคดาย มีเจตคติต่อการเรียนวิชาดนตรีสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับ (พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล, 2551)
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโซลตาน โคดาย ดังต่อไปนี้
1 ครูผู้สอนจะต้องศึกษาลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโซลตาน โคดาย อย่างละเอียดตามลำดับขั้นตอนก่อนนำไปใช้
2 ครูผู้สอนจะต้องแนะนำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโคดาย ทุกขั้นตอนอย่าละเอียด เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นไปตามเวลาที่กำหนด และเกิดประสิทธิภาพในการจัด
3. ครูผู้สอนจะต้องศึกษาเกณฑ์การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ใช้เป็นแบบประเมินให้มีความเข้าใจ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ประเมินวัดผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง