ผลงานประเภท
ครูผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center
ความเป็นมาและความสำคัญ
ในยุคปัจจุบันการพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21 การส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นค่อนข้างง่าย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงที่ครูสามารถพัฒนาให้ตนเองมีความรู้ มีพื้นฐานแน่น พร้อมเสริมสร้างการเรียนรู้ และสิ่งใหม่ๆ ให้กับเด็ก มีสื่อที่หลากหลาย สามารถเข้าถึงได้ง่าย การสร้างแรงจูงใจให้เด็กๆ มีความรู้ ความสามารถมากยิ่งขึ้น ครูสามารถทำได้ โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กๆ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเรียนรู้ ให้ทันกับโลกในยุคปัจจุบัน การสร้างทักษะที่จำเป็นโดยเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ครูสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ เด็กๆ ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน (Collaboration) มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และสามารถการแก้ไขปัญหา (Problem-solving) ได้ด้วยตนเอง การสร้างความพึงพอใจให้เด็กๆ และพัฒนาการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยเฉพาะความสามารถ ด้านพื้นฐานที่สำคัญมาก การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กมีการเรียนรู้การแก้ไขปัญหา การทำงานร่วมกัน และเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ครูสามารถทำให้เด็กเข้าถึงจุดนั้นได้ ด้วยการจัดการเรียนรู้ที่ดี และมีคุณภาพ
โรงเรียนวัดจำปาได้จัดให้มีการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้ปฏิบัติจริง มีการคิด วิเคราะห์ สะท้อนความคิด และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ผ่านการเรียนรู้ในชั้นเรียน และการเรียนรู้นอกชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้ง 4 ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านการจัดการเรียนรู้ที่มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย
โรงเรียนวัดจำปามีนโยบายในการพัฒนาครู และบุคลากรของสถานศึกษาให้มีศักยภาพในการพัฒนาสื่อนวัตกรรม การจัดสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดให้มีการฝึกอบรมขยายผลต่อยอดการเข้าใช้งานระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระดับปฐมวัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อการเรียนรู้อื่นๆ เพื่อส่งต่อในชั้นเรียนต่อไป
ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หรือการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา และเพื่อช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ได้อย่างดียิ่ง ดังนั้นผู้ศึกษาจึงให้ความสนใจระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ที่มีสื่อเพื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ให้เลือกอย่างหลากหลาย มีความตื่นเต้นน่าสนใจ ทั้งภาพประกอบที่มีสีสัน เพลง และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งช่วยให้ครูประหยัดเวลาในการเตรียมการจัดการเรียนรู้ และมีสื่อการเรียนรู้ที่มีรูปแบบที่หลากหลาย ผู้ศึกษาได้ทำการคัดเลือกสื่อที่ได้จากเข้าใช้งานในระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) เรื่อง อาหารดีมีประโยชน์ ของนางสาวพีชารัตน์ พุฒบุตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพละศึกษา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อประกอบในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วย อาหารดีมีประโยชน์ ทำให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ และสนุกสนานกับการทำกิจกรรมมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล กับเด็กปฐมวัย
2.เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ผ่านการใช้งานสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center
3.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน อย่างสมวัย
4.เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ในรูปแบบที่หลากหลาย
เป้าหมาย
นักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 จำนวน 21 คน ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดจำปา อำเภออุทัย
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.ครูเข้ารับฟังการเผยแพร่จากผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) จากกลุ่มส่งเสริม และจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
2.วางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อกำหนดเนื้อหาในเรื่องที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหน่วยการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
3.ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยนำรูปแบบการเรียนแบบ (Active Learning) มาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
4.เด็กเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติตามกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหน่วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครูเลือกใช้สื่อ ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ร่วมนำเสนอ และเล่าสะท้อนความคิดหลังจบกิจกรรมการเรียนรู้
5.สร้าง และใช้เครื่องมือวัด และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของของเด็ก หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) บันทึก และสรุปผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้พร้อมทั้งระบุปัญหา และอุปสรรค นำผลที่ได้ มาวิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่พบระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6.เผยแพร่ผลงานการออกแบบกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center บนเว็บไซต์
ผลการดำเนินงาน
ผลที่เกิดขึ้นบรรลุตามกิจกรรม
ผลที่เกิดกับเด็กปฐมวัย
1.เด็กสามารถอธิบายเกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่
2.เด็กสามารถสื่อสารกับครู และเพื่อนเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหาร
3.เด็กสามารถจำแนก จัดกลุ่มอาหารที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์ได้
4.เด็กสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่อง อาหารดีมีประโยชน์ โดยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center
2.ครูมีคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในหน่วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อื่นๆ และสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผู้สร้าง และพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระดับปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center ที่เปรียบเสมือนห้องสมุดออนไลน์ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ทุกกิจกรรม