วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ด้วยการสอนแบบ อริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง
2. เพื่อศึกษาพัฒนาการการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง สรุปได้ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณี ตัวอย่าง สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานของการวิจัย โดยใช้กรณีตัวอย่างโดยภาพรวม อยู่ใน ระดับ มากที่สุด
การอภิปรายผล
รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง ผู้วิจัยได้นำผลมาอภิปราย ดังนี้
1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณี ตัวอย่าง คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งยอมรับสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 1 ทั้งนี้อาจเป็น เพราะว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง ได้พัฒนาขึ้น จากแนวคิด หลักการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ พัฒนาทักษะการคิดที่หลากหลาย ตั้งแต่ทักษะการคิดระดับต่ำ ไปจนถึงทักษะการระดับสูง เช่น การ คิดแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนอย่างมี ขั้นตอนและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ผู้วิจัยได้จัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 บูรณาการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างที่เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม อีกทั้งการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนยังมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม โดยร่วมกันทำงานและช่วยเหลือกันและกัน ในกลุ่ม ซึ่งนั้นเรียนทุกกลุ่มจะมีเป้าหมายเดียวกันโดยได้ร่วมกันเรียนรู้และฝึกปฏิบัติค้นหาสาเหตุของ ปัญหาที่ได้รับมอบหมาย ความสำเร็จของกลุ่มจะขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของแต่บุคคลในกลุ่ม อีกทั้งวิธีการสอนแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ภูมิใจในตนเองตระหนักถึงความ รับผิดชอบ และช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดของ สาโรช บัวศรี (2526 : 6) ที่กล่าวไว้ว่า วิธีการสอนแบบอริยสัจ 4 เป็นวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดความสะดวกในการ ปฏิบัติเป็นการประยุกต์ จากกิจหรือข้อปฏิบัติในขั้นต่างๆของอริยสัจ สอดคล้องกับแนวคิดของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2554: 2) ที่กล่าวว่า คุณค่าและ ประโยชน์ของการสอนแบบอริยสัจไว้ว่า อริยสัจเป็นการศึกษาเรียนรู้ที่มุ่งค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง อย่างเป็นระบบ
2. ผลการการศึกษาพัฒนาการการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง พบว่า คะแนนที่ได้จากการวัดการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น และ คะแนนที่ได้จากการวัดการคิดวิเคราะห์รวมทุกด้านของนักเรียนมีการคิดวิเคราะห์อยู่ใน ระดับ ดีมาก ซึ่งการที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการลงมือ ปฏิบัติทำให้ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการหาทางออกของปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำไปสู่การเกิดการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล โดยนำเอา ลำดับขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจในศาสนาพุทธมาใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาของตนเอง ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค โดยเทคนิควิธีการสอนนี้สามารถส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ของผู้เรียน และเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า เสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองสอดคล้องกับ ทิศนา แขมมณี (2558: 364) ที่ได้กล่าวถึงข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบกรณีตัวอย่างไว้ ว่าเป็นวิธี สอนที่ช่วยให้นักเรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้นักเรียนมีส่วน ร่วมในการเรียนสูง ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกัน เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกและพัฒนาการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณและเป็นวิธีสอนที่ให้ผลสำหรับกลุ่มนักเรียนที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลาย เนื่องจากการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจด้วย ตนเองได้ ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ที่เป็นลักษณะของทักษะการคิดขั้นสูง ที่ สามารถช่วยในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและสามารถนำวีการเรียนรู้ไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆได้ สอดคล้องกับแนวคิดของ สุวิทย์ มูลคำ (2550: 96) และทิศนา แขมมณี (2558: 364) ที่กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และเผชิญปัญหาจากสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นจริงในสังคม ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี ลำดับที่ 3 คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยนักเรียนมีระดับความ คิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ซึ่งการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนเห็นว่ามีเนื้อหาที่เหมาะสม มีการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ ชัดเจน มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ด้วยลักษณะของเนื้อหาสาระการ เรียนรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหรือหลักธรรมคำสอน ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนมากจึงทำให้ผู้เรียน มีความสนใจที่จะเรียนรู้น้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับพรรณมา ดวงบุตร (2559: 53) ได้กล่าวว่า การจัด กระบวนการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาที่ผ่านมา นักเรียนต้องเรียนเนื้อหาสาระมากมาย ซ้ำซ้อน โดยเฉพาะเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตการถ่ายทอด คุณธรรม เป็นเรื่องนามธรรม ยากต่อความเข้าใจสำหรับนักเรียน ไม่สามารถส่งเสริมให้นักเรียน เชื่อมโยงความรู้และสร้างความคิดรวบยอด นักเรียนขาดการคิดวิเคราะห์ ไม่สามารถสร้างความ ตระหนัก ให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ต่อการเรียนได้ จึงเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนรู้
11. ข้อเสนอแนะ
การวิจัยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ต่อไปนี้ ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ จากการค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอน แบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนี้
1.จากการวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยการ สอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ และ สามารถพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนได้ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดย ใช้กรณีตัวอย่าง เป็นการจัดกิจกรรมที่ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมค่อนข้างมาก โดยต้องนำสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นในสังคมมาให้นักเรียนได้วิเคราะห์ ดังนั้นจึงควรมีเวลาให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมแต่ละ ขั้นตอนอย่างเพียงพอ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างเต็มที่และมีประสิทธิที่เหมาะสมดังนี้ 1) ขั้นทุกข์หรือขั้นกำหนดปัญหา คือ การระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข ครูผู้สอนควรนำเสนอ กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในสังคม โดยพยายามอธิบายให้นักเรียนเกิดความเข้าใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและตระหนักว่ากรณีตัวอย่างที่ครูผู้สอนนำเสนอนั้น เป็นปัญหาที่ต้อง แก้ไขหรือหาทางออกร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นหรือยกตัวอย่าง เหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องหรือตนเองเคยพบเจอมาอยากหลากหลาย 2) ขั้นสมุทัยหรือขั้นตั้งสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เป็นขั้นตอนที่ ครูผู้สอนควรให้นักเรียนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์หาสาเหตุของการ เกิดปัญหาจากกรณีตัวอย่างที่ครูผู้สอนนำเสนอ ซึ่งครูผู้สอนสามารถใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนได้ แสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ 3) ขั้นนิโรธหรือขั้นทดลองและเก็บข้อมูล คือ การกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการทดลอง เพื่อพิสูจน์สมมติฐานหรือวิธีการแก้ปัญหาและเก็บรวบรวมข้อมูล ครูผู้สอนควรให้นักเรียนกำหนด วัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหาและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันโดยใช้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง อาจใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มและให้แต่ละกลุ่มได้ระดมความคิดเห็น โดยมี การจดบันทึกข้อมูลของสมาชิกแต่ละกลุ่มที่ร่วมกันเสนอเพื่อให้ได้แนวทางที่หลากหลาย 4) ขั้นมรรคหรือขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลของการแก้ปัญหา คือ สรุปแนวทางการ แก้ปัญหาและผลการดำเนินการแก้ปัญหาที่เกิดขั้นหรือเป็นแนวทางปฏิบัติและให้ลงมือ กระทำหรือ ปฏิบัติอย่างเต็มที่ตามแนวทางนั้น หลังจากที่นักเรียนออกแบบวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันแล้ว ครูผู้สอน ควรให้นักเรียน สรุปแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน โดยให้แต่ละกลุ่มได้เสนอ แนวคิดของกลุ่มตนเองหรือเปิดโอกาสให้นักเรียนนำเสนอแนวคิดเพิ่มเติมได้
2.จากการวิจัย พบว่า ผลการการศึกษาพัฒนาการการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ด้วยการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง มีคะแนนที่ได้จากการวัดการคิด วิเคราะห์สูงขึ้น และคะแนนที่ได้จากการวัดการคิดวิเคราะห์รวมทุกด้านของนักเรียนมีการคิดวิเคราะห์ อยู่ใน ระดับ ดีมาก แสดงให้เห็นว่าการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่างสามารถส่งเสริม พัฒนาการการคิดวิเคราะห์ได้ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ควรมุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถาม สถานการณ์ เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เหมาะสม ในลักษณะต่าง ๆ ที่ สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิด ใช้ความคิดเชิงเหตุผล และวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้อย่างมีหลักการ 3. จากการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ที่มีต่อการการสอนแบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง โดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิด การมีส่วนร่วมในการทำงาน จึงเป็นวิธีการที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนจึงควรจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
12. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบ อริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
2. ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอน แบบอริยสัจ 4 โดยใช้กรณีตัวอย่าง ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอื่นๆ เช่น การจัดการเรียนรู้โดย ใช้ปัญหาเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA MODEL การ จัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) และการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหา ความรู้ (Inquiry Process) เป็นต้น