1. ความเป็นมาและความสำคัญ/แนวคิด
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ภูมิปัญญาความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ปัจจุบันสภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลง เป็นยุคข้อมูลข่าวสารโลกแห่งยุคดิจิทัล ดังนั้น ครูทุกคนมีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทันสมัย เพื่อนำความรู้ ความสามารถ ที่ได้รับการพัฒนามาจัดกระบวนการเรียนการสอน ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้เป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรงเรียนบ้านน้ำพุ มีจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน ครู 4 คน พนักงานราชการ 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน รวมทั้งสิ้น 8 คน โรงเรียนบ้านน้ำพุ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จัดการเรียนการสอนจั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1-3 และประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2567 มีจำนวนนักเรียน 34 คน มีการจัดชั้นเรียนทั้งสิ้น จำนวน 9 ห้องเรียน เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าครูและบุคลากรในสถานศึกษาเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญในการจัดการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายหรือมาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดไว้ สำหรับโรงเรียนบ้านน้ำพุ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีครูผู้สอนมีคุณวุฒิหรือวิชาเอกไม่ตรงกับวิชาที่สอน และประสบกับปัญหาการจัดการเรียนการสอนคือครูไม่ครบ นอกจากภาระงานด้านการสอนแล้ว ครูยังมีบทบาทหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายตามกรอบงาน 4 ฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ งานตามนโยบาย เป็นต้น จึงทำให้ครูไม่มีเวลาที่จะดำเนินการผลิตสื่อการสอนให้สอดคล้องกับบทเรียน เนื้อหาการสอนในรายวิชานั้นได้ และปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร (ICT) เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น แนวโน้ม วิธีการเรียนรู้ของนักเรียนในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้ครูจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ทั้ง 3 ด้าน คือด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน อย่างเต็มศักยภาพนั้น จำเป็นต้องมีสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนและลักษณะเนื้อหาหรือกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย ครูจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเช่นกัน
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านน้ำพุ จึงได้จัดทำนวัตกรรมการบริหารจัดการของสถานศึกษาด้วยรูปแบบ NBP Model เพื่อการขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านน้ำพุ
2. วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ครูสามารถสร้างสื่อและพัฒนาสื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
2 เพื่อส่งเสริมให้ครูใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนจากระบบ OBEC Content Center
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. ครู และบุคลากร ร้อยละ 100 สามารถผลิตสื่อหรือใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจากระบบ OBEC Content Center ตลอดทั้งปีการศึกษาและต่อเนื่อง
เชิงคุณภาพ
1. ครูผู้สอนดำเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการของสถานศึกษาด้วยรูปแบบ NBP Model เพื่อการขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านน้ำพุ อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
การดำเนินการของสถานศึกษาด้วยการบริหารจัดการตามรูปแบบ NBP Model เพื่อการขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านน้ำพุ เป็นการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน โดยอิงตามหลักการบริหารงานวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยมีวิธีการดำเนินงาน
4. ผลการดำเนินการ
จากการนำนวัตกรรมการบริหารจัดการของสถานศึกษาด้วยรูปแบบ BNP MODEL เพื่อการขับเคลื่อน
ระบบ OBEC Content Center ในการจัดการเรียนการสอนมาใช้ในสถานศึกษาส่งผล ดังนี้
ด้านนักเรียน
นักเรียนมีเจตคติที่ดีขึ้นในการจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชา มีสนใจและตั้งใจเรียนสูงขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น/เป็นไปตามเกณฑ์ของสถานศึกษากำหนด ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก มีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
ด้านครู
ครูผู้สอนได้มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลโดยจัดกลุ่มนักเรียนระดับกลุ่มอ่อน กลุ่มปานกลาง และกลุ่มเก่ง จึงทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการบูรณาการใช้สื่อการสอนจากระบบ OBEC Content Center ทุกระดับชั้น ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจนได้พัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนที่จะต้องจัดรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา
ด้านผู้บริหาร
ผู้บริหารสถานศึกษา มีแนวทางในการบริหารจัดการของสถานศึกษาด้วยรูปแบบ BNP MODEL เพื่อ
การขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพ
ของผู้เรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
5. บทเรียนที่ได้รับ
บทเรียนที่ได้รับจากการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการของสถานศึกษาด้วยรูปแบบ
BNP MODEL เพื่อการขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
บ้านน้ำพุ ดังนี้
1. นักเรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนที่ดีขึ้นเป็นลำดับใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาหลัก
2. ผู้บริหารสร้างความตระหนักให้กับคณะครูภายในโรงเรียนให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนานักเรียนโดยการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อจากระบบ OBEC Content Center