1. ความเป็นมาและความสำคัญ
ด้วยยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 2580) เล็งเห็นถึงความสำคัญของมนุษย์ จึงมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพเพื่อวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเป็นระบบ ดังนั้น ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์จึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่เน้นทั้งการแก้ไขปัญหา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน และเสริมสร้างการยกระดับการพัฒนา โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองได้อย่างต่อเนื่องแม้นจะออกจากระบบการศึกษาแล้ว ด้วยการวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแฟลตฟอร์ม โดยเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล ทักษะการคัดกรองความรู้ องค์ความรู้ การใช้เทคโนโลยีผสมผสานกับคุณค่าของครูไปพร้อมกัน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพที่ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและใช้ประโยชน์จากระบบการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้สมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561)
โรงเรียนวัดตูมสิริ (ปุณยาประชาสรรค์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 10 คนมี
นักเรียนในปีการศึกษา 2567 รวมทั้งสิ้น 87 คน และประสบปัญหาดังต่อไปนี้
1). ขาดแทนครูที่สอนตรงเอกในบางรายวิชา ซึ่งส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มที่
2). ปัญหาด้านงบประมาณที่ได้รับในเรื่องของเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน
3). โรงเรียนขนาดเล็กมีต้นทุนในการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่กล่าวคือครูผู้สอนมีข้อจำกัดในเรื่องการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามเป้าหมายของสถานศึกษา
แนวคิดสำคัญที่ทำให้โรงเรียนวัดตูม ( สิริปุณยาประชาสรรค์ ) นำมาใช้แก้ปัญหาดังกล่าวคือการพัฒนาครูผู้สอนให้เปลี่ยนบทบาทจาก teacher ไปเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการทำหน้าที่การวางแผนกระบวนการเรียนรู้ลดบทบาทการสอนของครูลงเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากกระบวนการที่ครูวางแผนไว้และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน (ภริมา วินิธาสถิตกุล (2565)) ดังนั้นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่โรงเรียนวัดตูม ( สิริปุณยาประชาสรรค์ ) ตระหนักและมุ่งเสริมแก่ผู้สอนคือการพัฒนาศักยภาพครูด้านการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้และการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและมีความสอดคล้องตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดต่อไป
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นโรงเรียนวัดตูม ( สิริปุณยาประชาสรรค์ ) จึงดำเนินการขับเคลื่อนระบบคลังสื่อดิจิทัล ( Obec Content Center ) ระดับสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบการบริหารขับเคลื่อนแบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (Obec Content Center) ด้วยกระบวนการ Tower Model ที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพครูผ่านระบบการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนของครูในสถานศึกษาอันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์และคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพของตนเองตามเป้าหมายการศึกษาชาติต่อไป
2. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ของโรงเรียนวัดตูม ( สิริปุณยาประชาสรรค์ )
๒. เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน โดยใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
๓. เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้แสดงผลงานที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ที่เกิดจาก การขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
ผลการดำเนินงาน
ผลเชิงปริมาณ
๑) ด้านปริมาณสื่อ โรงเรียนวัดตูม ( สิริปุณยาประชาสรรค์ ) มีจำนวนผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งหมด ๒๙ คน มีการผลิตสื่อในระบบ OBEC Content Center จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ 92.85 ของบุคลากรทั้งหมด
๒) ด้านปริมาณการเข้าใช้ระบบ OBEC Content Center ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดตูม ( สิริปุณยาประชาสรรค์ ) มีการเข้าใช้งานจากระบบ OBEC Content Center ที่เป็นปัจจุบัน มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จากจำนวนผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งหมด 12 คน มีเลเวลในระบบ OBEC Content Center อยู่ในระดับ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 93.48 ของบุคลากรทั้งหมด
- ผลเชิงคุณภาพ
๑) ผู้บริหารสถานศึกษา มีรูปแบบการบริหารจัดการขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ที่เป็นรูปธรรม สามารถส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูผู้สอนได้สร้างและใช้สื่อที่มีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างแท้จริง
๒) ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถเข้าใช้งานระบบ OBEC Content Center โดยนำสื่อการสอนมาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ และสามารถพัฒนาสื่อการสอนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้รับการส่งเสริมให้มีการแสดงผลงานที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ที่เกิดจากการขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
๓) ผู้เรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ อยากมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ได้พัฒนาทักษะการคิด และเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยมีผลลัพธ์ที่เกิดจากผลในการขับเคลื่อนระบบ OBEC Content Center ระบุในรายงานการประเมินตนเอง (SAR) มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
5. บทเรียนที่ได้รับ และ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
รูปแบบการบริหารเพื่อขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) ด้วย
T - POWER MODEL ของโรงเรียนวัดตูม ( สิริปุณยาประชาสรรค์ ) ทำให้ผลการขับเคลื่อนระบบคลังสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัลบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และมีข้อค้นพบ ดังนี้
๑) ได้กระบวนการถอดบทเรียนและองค์ความรู้ใหม่จากกระบวนการ T - POWER MODEL ที่สามารถปรับ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลที่เกิดจากการขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center
๒) ปัจจัยที่ส่งผลให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายคือการมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือของบุคลากรด้วย ความเต็มใจเต็มความสามารถ และมีจิตอาสา และการปฏิบัติงานที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการสนับสนุน นิเทศติดตามจากผู้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ
๓) ควรใช้กระบวนการ AAR จากผู้มีส่วนร่วมในภารกิจ และข้อเสนอแนะจากกระบวนการนิเทศมาเป็น ฐานข้อมูลเพื่อยกระดับการขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center ให้ประสบความสำเร็จ มากยิ่งขึ้น