แบบรายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่านสระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้ กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนผ่านระบบ OBEC Content Center
ผู้เสนอผลงาน นางสาวบุษยา เรืองสุวรรณ์
ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง
สถานศึกษา โรงเรียนวัดจำปา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ผลงานประเภท
 ครูผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center
 ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center
๑. ความเป็นมาและความสำคัญ
ทักษะภาษาเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสําคัญ สําหรับเด็กปฐมวัยเพราะภาษาเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในด้านอื่นๆและการนําไปใช้ในชีวิตประจําวันทักษะภาษาประกอบไปด้วย การฟังการพูดการอ่านและการเขียนซึ่งในระดับอนุบาลจําเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมของทักษะภาษาในด้านต่างๆดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถนําไปต่อยอดการ เรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไปโดยเฉพาะช่วงเชื่อมต่อของการศึกษา ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 กับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นี้มีการปรับเปลี่ยนในด้านเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้เชิงวิชาการที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจทางด้านภาษาเป็นอย่างมากดังนั้นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในสถานศึกษาปฐมวัยหลายๆแห่งจึงมักถูกคาดหวัง ว่าจะต้องมีความพร้อมเพียงพอสําหรับการเรียนรู้วิชาการในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ ได้เน้น ให้เด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในด้านการรู้หนังสือมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัยบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงต้องให้ความสนใจต่อการจัดการศึกษาทั้งสองระดับเพื่อให้เด็กสามารถปรับตัว รับความเปลี่ยนแปลงในช่วงรอยเชื่อมต่อได้เป็นอย่างดีสามารถพัฒนา การเรียนรู้ ได้อย่างราบรื่นและประสบผลสําเร็จตามเป้าหมายหลักสูตรที่กําหนดไว้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2561: 176) การรู้หนังสือเป็นสิ่งที่เด็กแสดงพฤติกรรมการอ่านเขียนขั้นต้นและการที่เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตัวอักษรและเสียงตัวหนังสือและภาพคําและประโยคความตระหนักเกี่ยวกับตัวอักษรความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเสียง กับตัวอักษรและการออกเสียงสะกดคําเบื้องต้นซึ่งสังเกตได้จากการที่เด็กพยายามออกแบบข้อความสื่อสารโดยใช้สัญลักษณ์ด้วยตนเองรวมถึงการแทนที่คําด้วยพยัญชนะหนึ่งสองหรือสามพยัญชนะ (ภิญญดา พัชญ์เพ็ชรรัตย์, 2554: 15) เมื่อเด็กมีทักษะ การรู้หนังสือเบื้องต้นจะเป็นการนําไปสู่ความพร้อม ที่จะอ่านหนังสือต่อไปสําหรับเด็กอายุ 5 ปีเด็กจะต้องสามารถบอกความแตกต่างของชุดพยัญชนะที่คล้าย กันได้ตามสมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย3 -5 ปี (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ, 2552: 99)
จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการอ่านภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นอนุบาลที่ 3 โรงเรียนวัดจำปา ปีการศึกษา 2567 พบว่านักเรียนมีปัญหาด้านการอ่านภาษาไทย โดยเมื่อนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ขึ้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ไป พบปัญหาการไม่รู้จักสระและพญัชนะ จากปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ได้แก่ ครูผู้สอนไม่สามารถหาเทคนิควิธีการสอนที่ดึงดูดและน่าสนใจให้ กับนักเรียนได้ และยังไม่มีสื่อที่เหมาะสมและทันสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการช้วยสอน
ครูผู้สอนเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้ศึกษานวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะส่งผลให้นัดเรียนพัฒนาทักษะและรู้จักสระ พยัญชนะยิ่งขึ้น โดยนวัตกรรมที่เลือกใช้ ได้แก่ กระบวนการสอนแบบ Active Learning แบ่งออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่ 1. ขั้นกระตุ้นความสนใจ โดยส่วนใหญ่มักจะใช้กระบวนการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้นำไปคิดต่อและเกิดขั้นตอนต่อไป 2. ขั้นสำรวจและค้นหา ในขั้นตอนนี้มีกจะทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์จากข้อมูลที่หาได้ว่าควรเชื่อถือแหล่งข้อมูลจากไหน อีกทั้งผู้เรียนยังได้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ จากการหาข้อมูลอีกด้วย 3. ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป ในขั้นตอนนี้มักจะเกิดการพูดคุยกันซึ่งเป็นรูป แบบ การ เรียน รู้ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นและช่วยกันสรุปผลข้อมูลซึ่งเป็นการ เรียน แบบ ร่วมมือในชั้นเรียน 4. ขั้นสร้างผลผลิตของความเข้าใจ เป็นการนำความรู้ที่ได้ค้นคว้าและสรุปผลมาใหม่นี้ไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ส่งผลให้สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขวางขึ้น 5. ขั้นสะท้อนผลผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นการประเมินการเรียนรู้ว่าผู้เรียนมีความรู้มากน้อยเพียงใด ในขั้นนี้จะสามารถ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดที่ก่อให้เป็นประเด็นคำถาม หรือปัญหา ที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไป เรื่อย ๆ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ โดยกิจกรรมที่นำมาใช้ควรช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสาร/นำเสนอ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม บทบาท ของผู้เรียนนอกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้อง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียน กับผู้เรียนด้วยกันด้วย ผู้สอนควรลดบทบาทในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนในลักษณะการบรรยายลง และเพิ่มบทบาทในการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนรู้ (ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้)
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว การใช้กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center รูปแบบสื่อภาพ และใบงาน เป็นการจัดการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำประสมสระ อา ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะใช้นวัตกรรมดังกล่าวมาพัฒนานักเรียนต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. การพัฒนาทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่าน สระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปี ที่ 3 โดยใช้ กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่าน สระ อา ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังใช้กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center
3. เป้าหมาย
นักเรียนชั้นอนุบาล 3 จำนวน 19 คน ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดจำปา อำเภออุทัย
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ครูผู้สอนศึกษา เรียนรู้ และเข้ารับการอบรมการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) จากเว็บไซต์ระบบ OBEC Content Center
2. วางแผน เพื่อกำหนดเนื้อหาในเรื่องที่ต้องการฝึกฝนทักษะให้กับนักเรียน สำหรับเนื้อหาที่ต้องการให้นักเรียนเกิดทักษะ คือ การพัฒนาทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่าน สระ อา ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้ กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center
3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยนำรูปแบบการเรียนแบบเชิงรุก (Active Learning) มาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
4. นักเรียนเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติตามแผนการสอน การอ่านคำประสม สระ อา โยใช้กระบวน การสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center
5. สร้างและใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน หลังเสร็จสิ้นการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่าน สระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้ กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center บันทึกและสรุปผล การจัดการเรียนรู้พร้อมทั้งระบุปัญหา และอุปสรรค นำผลที่ได้ มาวิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่พบระหว่าง จัดกิจกรรมการเรียนรู้
6. เผยแพร่ผลงานการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่าน สระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้ กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center บนเว็บไซต์
กระบวนการจัดการกิจกรรม (กิจกรรมการเรียนรู้)
1. ขั้นนำ
1. คุณครูกล่าวคำทักทาย เด็ก ๆ ก่อนเริ่มเรียน
2. เด็กๆ และครูร่วมร้องเพลง สระอา ครูร่วมสนทนากับเด็กเกี่ยวกับสระ อา พร้อมทั้งนำรูปภาพประกอบมาให้เด็กดู 3. คุณครูให้ เด็ก ๆ ร้องเพลงสระอ่าน พร้อมทำท่าประกอบเพลง
2. ขั้นนำเสนอความรู้
1. คุณครูให้เด็ก ๆ ชมวิดีโอการสอน เรื่อง สระอา พาสนุก จากเว็บไซต์ OBEC Content Center เนื้อหาโดยประมาณของวิดีโอ
- สระ อา อ่านว่า อา เป็นสระเสียงยาว เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น
- อ่านแจกลูกสะกดคํา กา อ่านว่า กอ อา กา / ขา อ่านว่า ขอ อา ขา ฯลฯ ไปจนครบทุกคํา นักเรียนทําความเข้าใจเสียงของสระ อา และ ตําแหน่งการเขียนของสระ อา จากนั้นฝึก อ่านแจกลูกคําตามคุณครูในสื่อวิดีโอ
๒. เด็ก ๆ อ่านแจกลูกสะกดคําตามวิดีโอ เรื่องการอ่านแจกลูกสะกดคํา สระอา ที่มีภาพประกอบสวยงาม ดึงดูดความสนใจของนักเรียน จากเว็บไซต์ OBEC Content Center โดยคุณครู เปิดให้ฝึกอ่าน พร้อมคุณครพูดให้นักเรียนฟังแล้วพูดตามอีกหลาย ๆ รอบจนคล่อง
3. ขั้นลงมือเรียนรู้ (Learn-Practice) (Active Learning)
๑. คุณครูนำบัตรภาพพร้อมคำอ่าน สระ อา จากเว็บไซต์ OBEC Content Center ให้เด็กดูและอ่านไปพร้อมคุณครู
2. จากนั้นคุณครูแบ่งเด็ก ๆ ออกเป็น ๒ แถวจำนวนเท่า ๆ กัน โดยเข้าแถวตอนลึก
3. คุณครูอธิบายกติกาการเล่น เกมสระ อา ให้เด็กๆฟัง
4. คุณครูจะพูดคําศัพท์ให้เด็ก ๆ ฟัง เด็กที่อยู่หัวแถวหน้าของทั้ง 2 แถว ให้วิ่งนำค้อน มาตีคำให้ตรงกับคำที่ครูพูด เด็ก ๆ คนใดตอบถูกจะได้รับไป 1 คะแนน เด็กที่ตอบผิดจะพลัดกันมา ถือบัตรคำด้านหน้า แล้วเดินไปต่อท้ายแถว เปลี่ยนคนเล่นไปเรื่อย ๆ จนครบทุกคน
4. หลังจากการทำกิจกรรมเสร็จ ให้เด็กพร้อมคุณครูร่วมกัน ฝึกอ่านคำ จากบัตรคำสระอา อีกรอบจนครบ
๔. ขั้นสรุปความรู้(Summary)
๑. คุณครูแจกสื่อสมุดพับจิ๋ว สระ -า จากเว็บไซต์ OBEC Content Center
๒. เด็กและคณุครูร่วมกัน อ่านคํา สระ -า ในสมุดพับจิ๋ว
๕. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้(Apply)
1. คุณครูนำแผ่นภาพไปวางรอบ ๆ ห้อง โดยจะนำแผ่นภาพสระอื่น ๆ มาหลอก จากนั้น ให้เด็ก ๆ เดินไปหยิบคำที่มีสระอา มาคนละ 1 แผ่น
ความสอดคล้องในการเลือกใช้สื่อ OBEC Content Center กับการจัดการเรียนรู้
ครูผู้สอนใช้สื่อ OBEC Content Center ทั้งหมดจํานวน 3 สื่อ โดยนํามาใช้จัดกิจกรรม การเรียนการสอน ดังนี้
1. สื่อจากระบบ OBEC Content Center เรื่อง สระอา พาสนุก โดยใช้สื่อในขั้นนําเสนอความรู้ (Present)
2. สื่อบัตรคำ สระ อา จากระบบ OBEC Content Center โดยใช้สื่อในขั้นลงมือเรียนรู้ (Learn-Practice) (Active Learning)
3. สื่อสมุดพับจิ๋ว สระ -า จากระบบ OBEC Content Center โดยใช้สื่อในขั้นสรุปความรู้(Summary)
ผลการดำเนินงาน
ผลที่เกิดขึ้นบรรลุตามกิจกรรม
ผลที่เกิดกับนักเรียน
1. เด็ก ๆ เกิดทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่านสระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้ กระบวนการสอน แบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center คิดเป็นร้อยละ 90 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3
2. เด็ก ๆ เกิดทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่านสระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังเรียน โดยใช้กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรม การสอนระบบ OBEC Content Center ที่ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียน ได้รับการพัฒนาทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่านสระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอน ระบบ OBEC Content Center ได้ทุกที่ ทุกเวลา
2. ครูมีคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน
รายวิชาอื่น ๆ ต่อไป และสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผู้สร้างและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
3. นักเรียนได้รับความรู้จากการทํากิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน โดยใช้กระบวนการสอน แบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center
5. บทเรียนที่ได้รับ
๑. สื่อการสอนในระบบ OBEC Content Center มีเป็นจํานวนมาก ทําให้ครูผู้สอนสามารถเลือก ใช้สื่อได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการของผู้เรียน
๒. นักเรียนเกิดความสนใจ ตื่นเต้น สนุกสนาน กระตือรือร้น ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้สื่อ การสอนจากระบบ OBEC Content Center
๓. ครูผู้สอนสามารถเปิดสื่อการสอนซ้ำไปมา เพื่อให้นักเรียนทบทวนบทเรียนได้ตามความต้องการ ของนักเรียน โดยที่ครูผู้สอนไม่ต้องอธิบายซ้ำ สื่อการสอนจากระบบ OBEC Content Center จึงเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยทุ่นแรงครูผู้สอนได้เป็นอย่างดี
6. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การพัฒนาทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่าน สระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้ กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center โรงเรียนวัดจำปา อำเภออุทัย เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่านสระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้สื่อการเรียนรู้ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งกลุ่มส่งเสริม และพัฒนาการจัดการศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ได้ขับเคลื่อนโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้งานระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) และส่งเสริมพัฒนาให้มีการประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกรูปแบบ ขอขอบพระคุณ นางสาวยุวดี พันธ์สุจริต ผู้อํานวยการโรงเรียนวัดจำปา และคณะครูทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริม นิเทศ กํากับ ติดตาม จนทําให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
7. การเผยแพร่
เผยแพร่ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยด้านการอ่าน สระ อา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้ กระบวนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับนวัตกรรมการสอนระบบ OBEC Content Center บนเว็บไซต์