1. ความเป็นมาและความสำคัญ
ในปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทำให้บทบาทของครูในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากอดีต จากที่เคยสอนและถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เป็นผู้เรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ เป็นผู้ช่วยเหลือแนะนำและส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะ และกระบวนการที่จำเป็นสำหรับชีวิต เช่น การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและการเชื่อมโยง ตลอดจนเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดในลักษณะต่าง ๆ เช่น คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และคิดอย่างมี วิจารณญาณ การจัดการศึกษานอกจากจะเน้นด้านความรู้แล้วจะต้องเน้นด้านคุณธรรมจริยธรรมควบคู่ไปด้วยขณะที่สอน สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาผู้เรียนเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม และเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ในยุคดิจิทัล สื่อเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอน รวมไปถึงเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเด็กๆ มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อีกทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับการเรียนรู้ของนักเรียนค่อนข้างหลากหลาย และเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดสมรรถนะต่างๆ การนำเทคโนโลยีมาบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังกระตุ้นความสนใจในการเรียนได้มากขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีในการสร้างสื่อให้มีความหลากหลาย และยังเป็นการเตรียมความพร้อม ของนักเรียนเพื่อเข้าสู่สังคมยุคใหม่ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงเป็นทางเลือกในการเรียน เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ที่แตกต่างของนักเรียนได้
คณิตศาสตร์มีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทําให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมี
เหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์
วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาและนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (สํานักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษา, 2557) การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ประสบความสําเร็จนั้น จะต้องเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อม
ที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป้าหมายของการเรียนรู้ของสังคมยุคใหม่ มิใช่อยู่ที่ตัวความรู้อีกต่อไป การเรียนรู้วิธีค้นหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกหนแห่งทั้งในสิ่งแวดล้อมรอบตัวและในอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้หลากหลาย วิธีสอนที่เน้นให้นักเรียนท่องจําเนื้อหาวิชาต่าง ๆ จึงใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะความรู้ที่นักเรียนจะได้รับมีมากมายเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงทุกขณะ ความรู้ที่ได้รับจากการท่องจํานั้น จะไม่สามารถนําไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงของนักเรียนได้ (พรสรัญ ชัยยา และคณะ, 2563)
จากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะของเด็กไทยที่นักเรียนควรได้รับการพัฒนาในโลกยุคดิจิทัล พบว่าความคิดสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มทักษะที่มีความสําคัญที่จะช่วยให้นักเรียนประสบความสําเร็จในการดําเนินชีวิตได้ เพราะทําให้เกิดการเรียนรู้และพยายามพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น สามารถมองเห็นทางเลือกได้หลากหลาย เมื่อประสบปัญหาก็สามารถหาทางออกได้ สามารถทําในสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นได้อีก และผลการวิจัยของคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา พบว่า สมรรถนะสําคัญที่เยาวชนไทยควรได้รับการพัฒนาเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ใน ชีวิตประจําวัน ทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรม การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (วัฒนาพร ระงับทุกข์,2563) ซึ่งจะเห็นว่า ทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมควบคู่ไปกับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยอาศัยทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสําคัญและเป็นพื้นฐานจําเป็นต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555)นําไปสู่การบูรณาการเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ข้าพเจ้าจึงสนใจการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความรู้สู่ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์เรื่อง การหาผลบวกโดยใช้การตั้งบวกไม่มีการทด ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สื่อการสอนผ่าน OBEC Content Center และการจัดกิจกรรมการสอนเชิงรุก Active Learning เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีจินตนาการ คิดได้อย่างหลากหลาย คล่องแคล่ว สามารถคิดสิ่งใหม่ ๆ มีความกล้าแสดงออก มีสมรรถนะที่จําเป็นสําหรับผู้เรียนในโลกยุคดิจิทัล สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีความสุข
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาผลบวกโดยใช้การตั้งบวกไม่มีการทด กับนักเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนการเรียนรู้ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center)
3. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์
4. เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์
3. เป้าหมาย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 29 คน ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดจำปา อำเภออุทัย
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ครูผู้สอนเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center จากกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต1
2. ศึกษาวิธีการใช้ และเลือกสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ กําหนดเนื้อหา และเรียนรู้เนื้อหาในเรื่องที่ต้องการฝึกฝนในด้านการเรียนรู้ผ่านระบบคลังสื่อ
เทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center
3. นําเนื้อหาที่ได้เรียนรู้นํามาออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ โดยเน้นให้เป็นการใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์แบบ Active Learning ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center
4. นําสิ่งที่ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติในห้องเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ (OBEC Content Center) มานําเสนอ อภิปราย
5. สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในชั่วโมงและภายหลังที่จัดการเรียนรู้พร้อมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค นําผล ที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์และแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่พบในการจัดการเรียนการสอน
6. เผยแพร่ผลงานการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาผลบวกโดยใช้การตั้งบวกไม่มีการทด ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center บนเว็บไซต์
5. ผลการดำเนินงาน
ผลที่เกิดขึ้นบรรลุตามกิจกรรม
ผลที่เกิดกับนักเรียน
นักเรียนสามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและสามารถเรียนรู้ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) ได้ทุกที่ ทุกเวลา ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ร้อยละ 80 และ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น
ผลที่เกิดกับครู
ครูมีความสามารถ มีทักษะในการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผู้สร้างและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความรู้ความสามารถของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และครูสามารถนำมาประยุคใช้โดยผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC)
ผลที่เกิดกับโรงเรียน
โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) ที่เปรียบเสมือนห้องสมุดออนไลน์ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ทุกรายวิชา
6. บทเรียนที่ได้รับ
ครูผู้สอนสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความสนใจและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งผู้เรียนได้ศึกษาเทคโนโลยีโดยใช้ความรู้ด้าน ICT มาประยุกต์ใช้ในการเรียน และสามารถศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา โดยใช้การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ภายในระบบคลังสื่อที่บรรจุไปด้วยเนื้อหาของสื่ออิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท ตอบโจทย์และแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างดีเยี่ยม เป็นบริการสำหรับการเผยแพร่เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์แก่นักเรียน ครู ศึกษานิเทศ และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งยังสามารถเปลี่ยนบทบาทให้ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีเวทีในการเผยแพร่สื่อนวัตกรรม รูปแบบวิธีการการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนผลงานทางวิชาการ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ต่อยอดความรู้ ทักษะกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรู้สื่อนวัตกรรมในระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) นอกจากนี้ระบบคลังสื่อดิจิทัลยังเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ที่ครูผู้สอนสามารถนำสื่อ เทคนิควิธีการมาประยุกต์ใช้ได้กับการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ทั้งนี้ยังระบบคลังสื่อดิจิทัลยังมีประโยชน์สำหรับนักเรียนที่เรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่ผ่านมา และเหตุการณ์พิเศษที่ต้องมีการให้นักเรียนได้เรียนรู้อยู่ที่บ้าน สามารถศึกษาได้จากหลากหลายอุปกรณ์และทุกแพลตฟอร์ม ระบบคลังสื่อดิจิทัลนี้จะมีประโยชน์สำหรับการจัดการเรียนรู้ไม่น้อยเลยทีเดียว หากแต่ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) เป็นระบบที่พัฒนาใหม่ที่ยังต้องพัฒนาการใช้งานให้มีความเสถียรมากขึ้น เพื่อรองรับผู้ใช้งานที่จะเพิ่มขึ้นไปอีกในอนาคต หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มการเรียนรู้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (OBEC Content Center) อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับขอบข่ายการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งระบบแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถปรับประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ครูบุคลากร สถานศึกษา และชุมชนอย่างยั่งยืน
7. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. ผู้บริหารให้ความสำคัญ และส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center
2. ครูผู้สอนให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมการสอน 3. นักเรียนให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน