ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
บนพื้นฐานของการพัฒนาการศึกษาให้มีศักยภาพในศตวรรษที่ 21 ความเป็นไทย ภายใต้การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพผู้เรียนให้เกิดการพึ่งตนเองและเพื่อสมรรถนะในการแข่งขัน และโรงเรียนยกระดับคุณภาพสูงขึ้นสู่มาตรฐานสากล เป็นโรงเรียนยุคใหม่ที่จัดการศึกษาแบบองค์รวม และบูรณาการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง โดยบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันประชุมปรึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา จึงดำเนินการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน Active learning โดยใช้รูปแบบ 5T Change Model โดยมีเป้าหมาย
เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อที่ 4 ใฝ่เรียนรู้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
ตามหลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งต้องดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีความรอบรู้ ก้าวทันโลกและการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยนำแนวคิด ทฤษฎี
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning มาใช้ จะสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งครูผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน กระบวนการแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอนจะควบคุม ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาการใช้รูปแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบ 5T Change Model
ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น 3. เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อที่ 4 ใฝ่เรียนรู้
กลุ่มเป้าหมาย
ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนโรงเรียนวัดรางกำหยาด ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบ 5T Change Model โรงเรียนวัดรางกำหยาด ผู้รายงานได้ศึกษา แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสังเคราะห์ เรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning
2. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
3. แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การคิดอย่างมีระบบ การคิดวิเคราะห์ รวมทั้งทักษะในการคิดแก้ปัญหา
มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
การออกแบบนวัตกรรม
การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบ 5T Change Model เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การคิดอย่างมีระบบ การคิดวิเคราะห์ รวมทั้งทักษะในการคิดแก้ปัญหา มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข มีการดำเนินงานตามกระบวนการขั้นตอน PDCA ดังนี้
วิธีดำเนินการ
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ (Plan)
T1 Team work ผู้บริหาร คณะครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุปัญหาที่เกิดขึ้น
T2 Trouble การเลือกปัญหาที่ต้องการแก้ไข
ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาในการแก้ไข ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนร่วมกัน
ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ (DO)
T3 Theory การกำหนดแนวทางขั้นตอนการดำเนินงาน
โรงเรียนวัดรางกำหยาด มีนโยบายมุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active learning เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมถึงพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เป็นปัจจัยที่ มีความสำคัญอย่างยิ่ง
ครู มีการออกแบบนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
T4 Teach การจัดการเรียนการสอน
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม 5T Change Model มีรูปแบบกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ Active learning เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
T5 Technology การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
โรงเรียนวัดรางกำหยาด ได้จัดกิจกรรม Coding มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เป็นการเรียนการสอนที่เน้นการออกแบบและการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อเป็นการฝึกแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 3 ขั้นการตรวจสอบประเมินผล ( Check)
Change การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น
2. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อที่ 4 ใฝ่เรียนรู้
โรงเรียนมีระบบนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สะท้อนผลสำเร็จในการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดแผนงานกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในด้านต่าง ๆ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อผู้เรียน และโรงเรียน ตามกระบวนการของทฤษฎีระบบ (System theory) จากนั้นจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในระดับปฏิบัติงาน และสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ในสถานศึกษา
ขั้นที่ 4 ขั้นรายงานผลเพื่อการปรับปรุงพัฒนา (Action)
ครูผู้สอนสรุปรายงานผลการจัดการเรียนรู้ รวมถึงรวบรวมผลการประเมินการทดสอบขั้นพื้นฐาน
(O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนพัฒนาในปีต่อไป มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของกระบวนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้จริงในชั้นเรียนและสามารถนำผลการสะท้อนผลชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาในคราวต่อไปได้อีกจัดกิจกรรมเสริมทักษะการคิดและมุมกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะที่หลากหลายเพิ่มเติม
ผลการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม
1. ครูมีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบ 5T Change Model ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น
3. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อที่ 4 ใฝ่เรียนรู้