เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นเทคนิคที่ใช้ในการบริหารงาน
เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนสุจริต สำหรับโรงเรียนพินิจราษฎร์บำรุง ข้าพเจ้าได้พัฒนามาจากหลักการบริหาร แบบมีส่วนร่วม
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
1. ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์
คิดสร้างสรรค์ และการคิดเชื่อมโยงแบบบูรณาการ มีทักษะการทำงาน กระบวนการจัดการ และมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม คุณลักษณะที่ดีตามที่โรงเรียนกำหนดผ่านการลงมือปฏิบัติ กิจกรรม เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้
โดยผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ 3R, 8C ตลอดจนมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและต่อสังคม มีวินัย มีจิตอาสา มีน้ำใจต่อผู้อื่น เสียสละ ประหยัดอดออม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น พร้อมทั้งมีความรู้ คู่กับมีคุณธรรม
2. ผลที่เกิดขึ้นกับครู
ครูมีระเบียบวินัยตามวินัยข้าราชการ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความดี ทำงานเต็มเวลา และตรง
เวลา อุทิศตนต่อส่วนรวมเสียสละเวลา เพื่อการทำงานอย่างเต็มที่ มีความพอเพียงใช้จ่ายอย่างเหมาะสมตามฐานะ
มีความสุภาพ ยิ้มไหว้ทักทายกับผู้อื่น พูดจาไพเราะ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีมารยาท ช่วยเหลือกิจกรรมของชุมชน
และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน และครูมีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สอดคล้องกับทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งทำให้เกิดทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งมีความรู้ คู่กับมีคุณธรรม
3. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้บริหาร
ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญในด้านการพัฒนาการคิด และคุณธรรมขององค์กร มีภาวะผู้นำ
บริหารจัดการงานอย่างเป็นระบบตามหลักธรรมภิบาล ยึดความโปร่งใสตรวจสอบได้ ปฏิบัติหน้าที่เต็มศักยภาพ
โดยติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี พร้อมทั้งสนับสนุนครูให้มีการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก (Active Learning) ที่สอดคล้องกับทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งมีความรู้ คู่กับมีคุณธรรม
4. ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
ผลการดำเนินงานด้านการคิด และคุณธรรมมีทิศทางที่ชัดเจน จนเกิดเป็นแนวทางการปฏิบัติที่เป็น
เลิศ (Best practice) นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีความพึงพอใจต่อระบบการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดี
มีทักษะการคิดด้วยกิจกรรม เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ โดยผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิงบวกในโรงเรียน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อชุมชนในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน
5. ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน
ชุมชนและสังคม เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาการคิด และคุณธรรมให้กับ
นักเรียนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดีของสังคม โรงเรียนจึงได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียน ครู ผู้บริหาร มีนวัตกรรมในการเสริมสร้างให้เป็นโรงเรียนสุจริต
2. นักเรียน ครู ผู้บริหาร มีส่วนร่วมในการเป็นโรงเรียนสุจริต และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
3. นักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและคนชุมชนทุกคน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากขึ้น ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สั่งการ ผู้สอน เป็นผู้คอยชี้แนะ ให้ความรักความเข้าใจแก่นักเรียน ส่งผลให้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความเข้มแข็งขึ้น พร้อมทั้งนักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
1. หลักการบริหารจัดการแบบ เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เป็นหลักการ บริหารจัดการที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีบทบาทในการวางแผนการจัด การศึกษาร่วมกัน ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม คุณภาพของงานเกิดจากการสร้างสรรค์จาก ภายในสู่ภายนอก กล่าวคือ คุณภาพของโรงเรียน ต้องเกิดจากฝีมือของบุคลากรในโรงเรียน โดยมี บุคลากรภายนอกคอยให้การสนับสนุน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานโดยครูบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร ผู้ปกครองและชุมชนต้องมีความตระหนักในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม ตามเป้าหมายของโรงเรียนสุจริต
2. หลักการบริหารจัดการแบบ เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เป็นหลักการบริหารที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนที่ได้จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและประสบการณ์ในการบริหาร ทำให้โรงเรียนได้นวัตกรรมหลักการบริหารโรงเรียนที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียน ภายใต้แนวคิด ให้ทุกคนได้หันหน้าเข้าหากัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันสร้างสรรค์คนดี ตามคุณธรรมเป้าหมาย มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต มีความพอเพียง และมีจิตสาธารณะ เพื่อนำสถานศึกษาสู่โรงเรียนสุจริต ที่ใช้กระบวนการ PDCA ในการดำเนินงาน สามารถนำไปประยุกต์และขับเคลื่อนได้กับทุกกิจกรรม ทุกโครงการของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖. บทเรียนที่ได้รับ ( Lesson Learned)
หลักการบริหารจัดการแบบ เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นรูปแบบ
การบริหารจัดการที่สามารถพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรมตามคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียนสุจริต ซึ่งเหมาะสมที่จะขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนสุจริต และบูรณาการสู่การพัฒนาคุณธรรมด้านอื่นๆ ต่อไป ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยการบริหารจัดการแบบ เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำเป็นต้องมีกระบวนการ PDCA ควบคุมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งต้องคำนึงถึงบริบทของสถานศึกษาและบุคคลที่ร่วมขับเคลื่อน ข้อควรระวังในการนำหลักการบริหารจัดการแบบ เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไปใช้กับสถานศึกษาอื่นคือ (๑) บริบทของ สถานศึกษา (๒) บุคคลที่ร่วมขับเคลื่อนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และ (๓) เป้าหมายของสถานศึกษา