ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
“ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ”

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

ชื่อผลงานนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

“ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ”

ชื่อผู้สอน

นายแสนสุข สะนี

โรงเรียนบ้านปาโจ อำเภอเมือง จังกวัดยะลา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑

สังคมโลกในศตวรรษที่ 21 การศึกษาเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนามนุษย์ ดังนั้นจำเป้นจะต้องมีการพัฒนาทางการการจัดการศึกษาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเนื้อหาเนื้อหาสาระ เทคนิควิธีการสอน สื่อการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวดที่ 4 ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 24 ได้กำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยให้เนื้อหาสาระและกิจกรรมสอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างและหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545)

กระทรงศึกษาธิการได้ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และคุณธรรมจริยธรรมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน (Quick Policy) ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม๑) ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ ๒) พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะตามช่วงวัยเป็นพลเมืองที่ดีมีศีลธรรม จริยธรรมและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดจุดเน้น ได้แก่ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะ และจัดทำกรอบหลักสูตร รวมทั้งจัดกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง และศีลธรรม โดยมุงเน้นให้เด็กและเยาวชนมีความรักในสถาบันหลักของชาติและยึดหมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้องสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ จึงมีนโยบาย เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายดั่งกล่าว สามารถสู่การปฏิบัติได้ และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง และคุณธรรมจริยธรรม สู่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยเน้นย้ำให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกแห่งในสังกัดส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ตามหลักสูตรด้วยสื่อ อุปกรณ์ ช่วยในการจัดการเรียนรู้ สอดแทรกการเรียนประวัติศาสตร์ตามเหตุการณ์และวันสำคัญ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกกับผู้เรียนให้รักและศรัทธาในประวัติศาสตร์ของไทย

ความเป็นมาของอังกูสุลัยมาน บิน อังกูมูฮัมมัดซอและห์ เจ้าเมืองยะลาองค์ 7

อังกูสุลัยมาน บิน อังกูมูฮัมมัดซอและห์ เจ้าเมืองยะลาองค์ 7 ที่เป็นเชื้อสายมุสลิมคนสุดท้าย ที่ปกครองเมืองยาลอหรือ ยะลา เมื่อปี พ.ศ. 2440 ถึง 2451 แต่เดิมนั้นเมืองยะลาใต้ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปัตตานีมีเมือง ๆ หนึ่งซึ่งได้แยกตัวออกมาจากปัตตานีเมื่อพ.ศ. 2359 เรียกว่า “เมืองยะลา” แต่เมืองยะลานี้มีเจ้าเมืองปกครองมาแล้วนานกว่านั้น ยะลานั้นมีความหมายจากภาษามลายูว่า Jalur หมายถึง แห หรือ ตาข่ายหรือ เป็นลาย เมืองนี้ขณะอยู่ภายใต้ปัตตานีมีอาณาเขตที่กว้างขวาง ทิศตะวันตกจรดเมืองรามันที่มีแม่น้ำปัตตานี ทิศตะวันตกจรดรัฐเคดะห์ ทิศใต้จรดรัฐเปรัด และทิศเหนือจรดสงขลาหรือสะบ้าย้อย รายได้หลักของเจ้าเมืองยะลาคือเหมืองแร่หิน ในตำนานกล่าวว่า มีเหมืองแร่หินที่สำคัญของเจ้าเมืองยาลอก็คือ เหมืองคิดะ เหมืองลาบู เหมืองบาเร๊ะ เหมืองบายอและเหมืองแมะบุหลัน

อังกูสุลัยมาน บิน อังกูมูฮัมมัดซอและห์ เป็นเจ้าเมืองยาลอที่มีความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ท่านได้เป็นผู้รักษาธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมท่านเคยปฏิเสธผลประโยชน์มหาศาลที่ชาวต่างชาติจะกำนัลให้ เพื่อแลกกับการเข้ามาระเบิดภูเขาเพื่อค้นหาสินแร่ในเขตเมืองยะลา

บ้านหลังที่หนึ่งของอังกูสุลัยมาน บิน อังกูมูฮัมมัดซอและห์เจ้าเมืองยาลอ ตั้งอยู่ที่ บ้านยะลาซึ่งเจ้าเมืองเคยใช้เป็นที่ว่าการและพักอาศัยอยู่กับต่วนฟาตีมะห์ ภรรยาซึ่งเป็นธิดาของเจ้าเมืองรามัน หลังจากท่านเสียชีวิตบ้านได้ทรุดโทรมจนต้องรื้อถอนออกไปแล้วสร้างใหม่ คงเหลือแต่บ่อน้ำ อยู่กลางบ้านซึ่งเคยเป็นที่อาบของท่านเจ้าเมืองและคนในครอบครัวในอดีต เหลือไว้เป็นอนุสรณ์ให้ลูกหลานได้เห็น

บ้านยะลา เป็นเมืองเก่า เมื่อมีการจัดการปกครองเป็นจังหวัด ได้ย้ายไปยังบ้านสะเตง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำปัตตานี เป็นที่ตั้งที่ทำการอำเภอและจังหวัด ต่อมาก็ได้ย้ายที่ทำการอำเภอและจังหวัดไปอีก ที่ตั้งใหม่ก็คือ ไปตั้งที่บ้านนิบง จนถึงปัจจุบัน

สำหรับ ยะลา หรือ ยาลอ เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า “ยาโลร์” เป็นภาษามลายูท้องถิ่น แปลว่า “ลาย” (ลายพาดกลอน หรือ ลายของเสือโคร่ง) การกำเนิดเมืองยาลอ ที่มาจาก ยาโลร์ ตามสมมุติฐาน หรือ ตามฮากายะ หรือ ตามตำนาน ซึ่งมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประมาณ 1,000 กว่าปีมาแล้ว (นับตามอายุภาพเขียนที่หน้าผาภูเขายาลอที่สำนักงานศิลปากรที่ 13 สงขลา กรมศิลปากร ได้คำนวณอายุเอาไว้) มีบุรุษนายหนึ่ง ซึ่งบุรุษนายนั้น มือทั้งสองเป็นลายเหมือนลายเสือ นำพรรคพวกกลุ่มหนึ่งมาสร้างเมืองยาลอ โดยตามตำนานบอกไว้ว่าเดินมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ทางบ้านปาโจ มาถึงที่บ้านยาลอ ปัจจุบัน ผู้นำกลุ่มดังกล่าว ได้จัดการให้พรรคพวกดำเนินการสร้างเมืองขึ้น ในการสร้างเมืองขึ้นนั้นมีการบอกกล่าวไว้ว่า มีการตรวจชั่งน้ำ เมื่อดำเนินการชั่งน้ำพบว่า พื้นที่บ้านยาลอเป็นพื้นที่น้ำอุดมสมบูรณ์คือ ช่วงฤดูฝนน้ำไม่ท่วมในหน้าแล้งน้ำไม่ขาด

โรงเรียนบ้านปาโจ ซึ่งเป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรีนการสอนวิชาประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง จึงมีการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ด้วยวิธีที่หลากหลาย มุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตบนพื้นฐานการวิพากวิเคราะห์หลักฐานเอกสารต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสืบค้นอย่างเป็นระบบที่เรียกวิธีการทางประวัติศาสตร์ให้กับผู้เรียนให้รักและศรัทธาในประวัติศาสตร์ของไทยจากความสำคัญดังกล่าว ในฐานะครูผู้สอนรายวิชาประวัติศาสตร์จึงมีแรงบันดาลใจในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) “ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า”

ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมความรู้สึกรักและหวงแหนชุมชน และจังหวัดของตนเองอีกทั้งยังสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่อยู่ใกล้โรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพด้วย

2.1 การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning)การ หรือ 3Es หมายถึง การเรียนการสอน ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นสำคัญ คือการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางความคิดหาเหตุผล เพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง ซึ่งมี 3 ขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นสร้างความสนใจ(Engagement)

2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)

2.2 วงจรคุณภาพ PDCA

วงจรคุณภาพ PDCA วงจรการบริหารที่ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้

2.2.1 Plan (วางแผน) หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้

2.2.2 Do (ปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วยการมีโครงสร้างรองรับการดำเนินการ มีวิธีการดำเนินการและมีผลของการดำเนินการ

2.2.3 Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วยการประเมินโครงสร้างที่รองรับการดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของการดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้

2.2.4. Act (ปรับปรุงแก้ไข) หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วยการนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้างหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบการดำเนินการใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการในครั้งต่อไป

3.1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning)

3.2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความภูมิใจในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า

3.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครอง ครู นักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning .ในรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning)

4.1 เป้าหมายของการดำเนินงาน

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปาโจ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์ (ส 13102) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 18 คน

แนวคิดและกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

เรื่องต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA คือ

ภาพที่ 1 กระบวนการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาด้วยวงจรคุณภาพ PDCA

5.1 ขั้นวางแผนปฏิบัติงาน (Plan : P) เป็นขั้นตอนการจัดทำการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมือง ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้

5.2 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในเรื่องคำอธิบายรายวิชา สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด

5.3 ศึกษาแก่นสาระ (Themes) เพื่อนำมาจัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการจัดการเรียนรู้

5.4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอนโดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ มาตรฐานการเรียนรู้ ตลอดจนตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำคัญ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) ดังนี้

1. ขั้นสร้างความสนใจ(Engagement)

1.1 สำรวจชุมชน เพื่อให้รู้จักชุมชนของตนเองเพื่อตั้งประเด็นการเรียนรู้

1.1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ร่วมกันเสนอแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา บุคคลสำคัญในชุมชนตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและร่วมกันอภิปรายกับนักเรียน

1.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ออกเดินทางสำรวจชุมชน เพื่อให้รู้จักชุมชนของตนเอง ทั้งนี้ได้ไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนตำบลยะลาจำนวน ๓ แหล่งเรียนรู้ (1) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ บึงละหารยามู ในหมู่ที่ 2 เป็นบึงน้ำธรรมชาติ มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม มีพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในตำบลยะลา นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำบ้านปาโจ หมู่ที่ 3

(2) แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ได้แก่ โบราณสถานภาพเขียนสีเขายะลา กูโบร์เจ้าเมืองยาลอ พิพิธภัณฑ์เจ้าเมืองยาลอ บ่อน้ำของเจ้าเมืองยาลอ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ภาพที่ ๑ นักเรียนนำเสนอแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นตำบลยะลา

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

ภาพที่ ๒ นักเรียนนำเสนอแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นตำบลยะลา

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)

2.1 นำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เดินทางดูร่องรอยทางประวัติสาสตร์ของเจ้าเมืองยาลอคือ กูโบร์เจ้าเมืองยาลอ พิพิธภัณฑ์เจ้าเมืองยาลอ บ่อน้ำเจ้าเมืองยาลอ พร้อมให้นักเรียนได้

การสัมภาษณ์ การจดบันทึก โดยปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม

ภาพที่ ๓ นักเรียนได้ศึกษาประวัติกูโบร์เจ้าเมืองยาลอซึ่งเป็นที่เก็บศพของเจ้าเมืองยาลอ

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

ภาพที่ ๔ นักเรียนศึกษาประวัติจากปราชชุมชนเกี่ยวกับกูโบร์ซึ่งเป็นที่เก็บศพของเจ้าเมืองยาลอ

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

การสัมภาษณ์ การจดบันทึก โดยปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม

ภาพที่ ๕ วิทยากรประจำพิพิธภัณฑ์เจ้าเมืองยาลอให้ความรู้เกี่ยวกับอาวุธของเจ้าเมืองยาลอ

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

ภาพที่ ๖ วิทยากรประจำพิพิธภัณฑ์เจ้าเมืองยาลอให้ความรู้เกี่ยวกับภาพเขียนสีเขายาอ

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

การสัมภาษณ์ การจดบันทึก โดยปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม

ภาพที่ ๗ วิทยากรประจำพิพิธภัณฑ์เจ้าเมืองยาลอให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องใช้ของเจ้าเมืองยาลอ

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

ภาพที่ ๘ นักเรียนถ่ายรูปกับสิ่งของครื่องใช้ของเจ้าเมืองยาลอ

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

การสัมภาษณ์ การจดบันทึก โดยปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม

ภาพที่ ๙ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับบ่อน้ำที่เจ้าเมืองยาลอได้ใช้ในการอุปโภคและบริโภค

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

ภาพที่ ๑๐ บ่อน้ำที่เจ้าเมืองยาลอได้ใช้ในการอุปโภคและบริโภค

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

2.2 ครูมอบหมายงานเป็นการบ้านให้นักเรียนสรุปข้อได้เป็นองค์ความรู้ เพื่อนำเสนอในรูปแบบของแผนผังความคิด เพื่อน ๆ ในห้องเรียนได้รับฟัง พร้อมทั้งตอบข้อซักถามต่าง ๆ ถึงสิ่งที่ได้รับจากการไปลงพื้นที่ในครั้งนี้

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)

3.1 นักเรียนนำเสนอ ข้อมูลที่ได้เป็นองค์ความรู้ตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วย 1. การตั้งประเด็นศึกษา 2. การเสาะหาแหล่งข้อมูลหลักฐาน 3. การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน 4. การวิเคราะห์ ตรวจสอบ การนำเสนอเรื่องราวได้อย่างมีหลักฐาน มีเหตุผลและน่าสนใจ โดยนำเสนอในรูปแบบของแผนผังความคิด ให้เพื่อน ๆ ในห้องเรียนได้รับฟัง พร้อมทั้งตอบข้อซักถามต่าง ๆ ถึงสิ่งที่ได้รับจากการไปลงพื้นที่ในครั้งนี้

3.2 นักเรียนรวบรวมความรู้ที่ได้จากการศึกษาลงในสมุดรายงานและรวบรวมเป็นรูปเล่มต่อไป

ภาพที่ ๑๑ นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับเป็นแผนผังความคิด

ที่มา : แสนสุข สะนี, ๒๕๖๖

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning)

2. ผู้เรียนมีความภูมิใจในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า

3. ผู้ปกครอง ครู นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning .ในรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning)

1. องค์การบริหารส่วนตำบลยะลาได้อนุเคราะห์วิทยากรประจำพิพิธภัณฑ์ให้ความรู้ความเป็นมาของเจ้าเมืองยาลอ

2. ชุมชนตำบลยะลา ผู้ดูแลแหล่งการเรียนรู้ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาฯ คณะผู้บริหารและคณะครูบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนนักเรียนทุกคน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนทุกด้านในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า

สรุปสิ่งที่เรียนรู้และการปรับปรุงให้ดีขึ้น

8.1 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) โดยมีทักษะในการศึกษาอย่างเป็นระบบ

8.2 ผู้ปกครอง ครู นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning .ในรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) ตลอดจนชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า

ปัญหาและอุปสรรค

นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยเกินไป ควรมีการขยายผลในทุกระดับชั้น

1. มีการเผยแพร่ข้อมูลผลงานนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ “ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ” เช่น การประชุมกลุ่มใหญ่ (ครูและบุคลากรทุกคน) การประชุมกลุ่มย่อย (ในกรณีที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะบุคคล) การเผยแพร่ทางสื่อเทคโนโลยี ได้แก่ ไลน์กลุ่มของโรงเรียน เป็นต้น

2. มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ“ต้นกล้าปาโจ สืบสานเสน่ห์ยาลอเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3 ขั้นตอน (The 3Es of Inquiry-Based Learning) เพื่อให้คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรภายนอกสถานศึกษาได้ทราบประวัติความเป็นมาของยาลอเมืองเก่า ตลอดจนสามารถสืบสานและอนุรักษ์ในมิติด้านประวัติสาสตร์ต่อไป

โพสต์โดย แสน : [7 ก.ค. 2567 (12:23 น.)]
อ่าน [69] ไอพี : 171.7.228.106
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,524 ครั้ง
เสียว! ผลักเพื่อนลงทะเล เกือบถูกฉลามคาบไปกิน
เสียว! ผลักเพื่อนลงทะเล เกือบถูกฉลามคาบไปกิน

เปิดอ่าน 29,520 ครั้ง
เครื่องปั้นดินเผา (CERAMICS)
เครื่องปั้นดินเผา (CERAMICS)

เปิดอ่าน 12,536 ครั้ง
ต้องดู! คลิปผลงานนศ. ถ่ายทอดเรื่องราวซึ้งกินใจ
ต้องดู! คลิปผลงานนศ. ถ่ายทอดเรื่องราวซึ้งกินใจ

เปิดอ่าน 25,228 ครั้ง
เรื่องของเหรียญบาท
เรื่องของเหรียญบาท

เปิดอ่าน 18,403 ครั้ง
เพลง "วันพรุ่งนี้" ที่เด็กร้องแล้วผู้ใหญ่ฟังแล้วอึ้ง!
เพลง "วันพรุ่งนี้" ที่เด็กร้องแล้วผู้ใหญ่ฟังแล้วอึ้ง!

เปิดอ่าน 19,356 ครั้ง
เทศกาล "ไหว้บะจ่าง"
เทศกาล "ไหว้บะจ่าง"

เปิดอ่าน 17,153 ครั้ง
11 เว็บไซต์เรียนภาษาสุดเจ๋ง ที่คนอยากเก่งอังกฤษไม่ควรพลาด!
11 เว็บไซต์เรียนภาษาสุดเจ๋ง ที่คนอยากเก่งอังกฤษไม่ควรพลาด!

เปิดอ่าน 41,494 ครั้ง
ประโยชน์ของว่านหางจระเข้
ประโยชน์ของว่านหางจระเข้

เปิดอ่าน 42,841 ครั้ง
กินสเต๊กอย่างถูกวิธี
กินสเต๊กอย่างถูกวิธี

เปิดอ่าน 12,405 ครั้ง
ดูให้ชัด รัฐธรรมนูญ ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่ หรือ?
ดูให้ชัด รัฐธรรมนูญ ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่ หรือ?

เปิดอ่าน 13,143 ครั้ง
"อ้วน" กับ 7 เรื่องน่ารู้ น้ำหนักลดเร็วในช่วงแรกแต่ต่อไปทำไมไม่ลด
"อ้วน" กับ 7 เรื่องน่ารู้ น้ำหนักลดเร็วในช่วงแรกแต่ต่อไปทำไมไม่ลด

เปิดอ่าน 23,091 ครั้ง
ที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

เปิดอ่าน 19,050 ครั้ง
สมุนไพร "เบญจอำมฤตย์" รักษามะเร็งตับราคาพุ่ง
สมุนไพร "เบญจอำมฤตย์" รักษามะเร็งตับราคาพุ่ง

เปิดอ่าน 42,463 ครั้ง
Chat GPT คืออะไร ใช้งานยังไง AI  สำหรับครูยุคใหม่จำเป็นต้องรู้
Chat GPT คืออะไร ใช้งานยังไง AI สำหรับครูยุคใหม่จำเป็นต้องรู้

เปิดอ่าน 13,050 ครั้ง
3 เรื่องที่ต้องรู้ "ตั้งเป้ารวยก่อนแก่"
3 เรื่องที่ต้องรู้ "ตั้งเป้ารวยก่อนแก่"

เปิดอ่าน 37,958 ครั้ง
วิธีเก็บ“ผักชี-รากผักชี”ใช้ได้นานขึ้น
วิธีเก็บ“ผักชี-รากผักชี”ใช้ได้นานขึ้น
เปิดอ่าน 22,538 ครั้ง
วิจัยพบ "สารสกัดสาหร่ายพวงองุ่น" ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
วิจัยพบ "สารสกัดสาหร่ายพวงองุ่น" ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
เปิดอ่าน 8,818 ครั้ง
ใช้ร้านเน็ตให้ปลอดภัย
ใช้ร้านเน็ตให้ปลอดภัย
เปิดอ่าน 13,066 ครั้ง
คุณประโยชน์ต่างๆของผักโดยเฉพาะ
คุณประโยชน์ต่างๆของผักโดยเฉพาะ
เปิดอ่าน 10,881 ครั้ง
8 นิสัยการทานอาหารที่คุณสาว ๆ มักทำพลาด
8 นิสัยการทานอาหารที่คุณสาว ๆ มักทำพลาด

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ