ชื่อผู้วิจัย นางสาวภาวิณี ตั้งตระกูล กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษากับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา ห้อง 1 จำนวน 6 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย
1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แม่เหล็กไฟฟ้า เรื่องกระแสเหนี่ยวนำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (หลังเรียน) วิชาฟิสิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แม่เหล็กไฟฟ้า แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องกระแสเหนี่ยวนำ ใช้แบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน
การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เรื่องแม่เหล็กฟ้า ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยใช้ t- test แบบ dependent Sample
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เรื่องแม่เหล็กฟ้า ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษากับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 โดยใช้ t-test แบบ one samples test นำมาแปลผล ดังนี้
80 ขึ้นไป หมายถึง ดีมาก
75-79 หมายถึง ดี
70-74 หมายถึง ปานกลาง
65-69 หมายถึง พอใช้
60-64 หมายถึง ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
55-59 หมายถึง ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ
ขั้นตอนการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยใช้เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาฟิสิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แม่เหล็กไฟฟ้า กับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา จำนวน 1 ห้องเรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
1. ทดสอบก่อนการทดลอง โดยให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เพื่อเก็บไว้เป็นคะแนนก่อนทดลอง
2. ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา จำนวน 1 แผนการจัดการเรียนรู้ กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
3. ทดสอบหลังจัดการเรียนรู้ (post-test) โดยนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เก็บเป็นคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม
ผลการวิจัย
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษากับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
อภิปรายผล
1. จากผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก
1.1 (สาขาชีววิทยา สสวท., 2550) การสืบเสาะหาความรู้เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สำรวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า
1.2 สอดคล้องกับผลการศึกษาของชวินโรจน์ พจน์ประบุญ (2558). ได้ทำการวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์ และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มที่สอน โดยใช้กิจกรรมเกมโชว์กับกลุ่มที่สอนแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์ของกลุ่มที่สอนโดยใช้กิจกรรมเกมโชว์และกลุ่มที่สอนแบบปกติมีคะแนนหลังเรียนที่แตกต่างกับก่อนเรียนอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. จากผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับผลการศึกษา ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก
2.1 (Wu & Hsieh, 2006) การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคำถาม ออกแบบการสำรวจข้อมูลการสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารคำอธิบาย
3. จากผลการวิจัยพบว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการใช้เกมโชว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการใช้เกมโชว์ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุตติฐานที่ตั้งไว้