วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning)
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning)
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา 3 ห้อง จำนวน 51 คน
ตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา 3 ห้อง จำนวน 51 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 แบบคือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเรื่อง งานและพลังงาน ที่มีขั้นตอนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน จำนวน 1 แผนการจัดการเรียนรู้
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
2.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องงานและพลังงาน
เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.38-0.80
ค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.22 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82
2.2 แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)
เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของ Likert (Likert Scale) จำนวน 15 ข้อ
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
๑. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้
๑.๑ ศึกษาหลักการและทำความเข้าใจวิธีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสืบเสาะหาความรู้ ๕ ขั้นตอน ดังนี้ ๑) ขั้นการสร้างความสนใจ ๒) ขั้นการสำรวจและค้นหา ๓) ขั้นการอธิบายและลงข้อสรุป ๔) ขั้นการขยายความรู้ ๕) ขั้นการประเมิน
๑.๒ ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๑.๓ ศึกษาและทำความเข้าใจ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ ๕ งานและพลังงาน มาตรฐานรายวิชาคำอธิบายรายวิชาเนื้อหาเรื่อง งานและพลังงาน โดยผู้วิจัยได้แบ่งเนื้อหาในบทเรียน
๑.๔ สร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) จำนวน ๑ แผนการจัดการเรียนรู้
ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ๕ ขั้นตอน ชิ้นงาน สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล
๒. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตาม
จุดประสงค์และเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง งานและพลังงาน เป็นแบบทดสอแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ
๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ
ผลการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องงานและพลังงาน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบ เรื่องงานและพลังงาน 2) แบบประเมินความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีที่เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t-test)
การวิจัย เรื่องการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องงานและพลังงาน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีข้อสรุปผลการวิจัย ดังนี้
1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เรื่องงานและพลังงานโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่องงานและพลังงานพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) อยู่ในระดับมาก
อภิปรายผล
จากการวิจัย เรื่องการจัดการเรียนรู้ (Active learning) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องงานและพลังงาน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถนำมาอภิปรายผล ได้ดังนี้ดังนี้
1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เรื่องงานและพลังงาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งผลเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 1 สอดคล้องกับทฤษฎีของบลูม กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม เชื่อว่าการเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนและได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุก และมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เรื่อง งานและพลังงาน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ โดยใช้การจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุก
ข้อเสนอแนะ
1. ในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) ปัญหาที่พบเจอคือ เวลาเนื่องจากเป็นการเรียนการสอนที่ใช้กิจกรรมเป็นฐาน ดังนั้นผู้สอนต้องมีการจัดสรรเวลาที่ดีมาก ซึ่งการวางแผนและการเตรียมตัวล่วงหน้าสำคัญมาก เช่น อุปกรณ์ และวัสดุประกอบการทำกิจกรรม
2. ผู้สอนควรตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนแต่ละคนก่อนที่จะเริ่มจัดกลุ่ม โดยพิจารณาจากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเทอมที่ผ่านมา แล้วแบ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มให้มีสมาชิกในกลุ่มที่มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์สูง กลาง และต่ำคละกัน