วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากขึ้นไป
ผลการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏผลดังนี้
1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นได้คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = 0.80)
อภิปรายผล
1.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นได้คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ ทักษิณ เวียงยา (2553 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประเทือง บุญพรม (2553 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและ การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนโดยมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 9.94 ค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 49.70 และคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 14.94 ค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 74.70 ซึ่งค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 25.00 กรวิกา กาติ๊บ (2554 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 เรื่อง การคูณ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละหลังเรียนเท่ากับ 83.21 สูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ คือ ร้อยละ 75 พุทธทรง พนมมิตร (2554 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวงทอง บางจั่น (2544 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และศิริพร สีเทา (2554 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนแบบฝึกทักษะการบวก เรื่องการบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 4.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.80 แสดงว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับ ทักษิณ เวียงยา (2553 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมาก กรวิกา กาติ๊บ (2554 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การคูณ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกข้อ และโดยภาพรวมมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด พุทธทรง พนมมิตร (2554 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีระดับความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด รวงทอง บางจั่น (2544 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยลึก ปีการศึกษา 2554 มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 3.73, S.D. = 0.95) และศิริพร สีเทา (2554 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2554 มีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการบวก เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก (4.46)
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป
1 ควรมีการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะ ที่มีประสิทธิภาพในเนื้อหาวิชาอื่นๆ และชั้นอื่นๆ
2 ควรมีการเปรียบเทียบนำแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นไปสอนเปรียบเทียบกับวิธีสอนอื่นๆ เช่น วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ แบบร่วมมือ แบบอุปนัย ในเนื้อหาเดียวกันและชั้นเดียวกัน เพื่อจะได้เป็นการส่งเสริมและการหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ