ชื่อเรื่อง : การพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้โดยใช้สื่อส่งเสริมการออกเสียง Phonics ตามทฤษฎี Peer-Assisted Learning ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์
ชื่อผู้วิจัย : นางพรภัทรา ศรีจันทร์อินทร์
ประเภทผลงานวิชาการ : ผลงานวิจัยนวัตกรรม/ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้โดยใช้สื่อส่งเสริมการออกเสียง Phonics ตามทฤษฎี Peer-Assisted Learning ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้รูปแบบ One Group Pre-test-Post-test Design มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้โดยใช้สื่อส่งเสริมการออกเสียง Phonics ตามทฤษฎี Peer-Assisted Learning ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 โดยการเลือกแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคมฯ จังหวัดตราด จำนวน 20 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย สื่อส่งเสริมการออกเสียง Phonics ตามทฤษฎี Peer-Assisted Learning ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และแบบทดสอบทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบปฏิบัติ
เป็นรายบุคคลก่อนเรียน (pre-test) และหลังเรียน (post-test) ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95
ผลการศึกษา พบว่า ความสามารถทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบปฏิบัติเป็นรายบุคคลของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองใช้สื่อส่งเสริมการออกเสียง Phonics ตามทฤษฎี Peer-Assisted Learning ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้สื่อส่งเสริมการออกเสียง Phonics ตามทฤษฎี Peer-Assisted Learning ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 76.5 ซึ่งมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้สื่อส่งเสริมการออกเสียง Phonics ตามทฤษฎี Peer-Assisted Learning ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเป็นไปตามเกณฑ์ โดยมีค่าเท่ากับ7.00/76.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ คือ 75/75 แสดงว่าผู้วิจัยได้ใช้แนวทางในการพัฒนาทักษะการเขียนที่มีประสิทธิภาพ