วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลของการฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยที่มีผลกับการพัฒนาความคล่องตัวของนักกีฬา กาบัดดี้โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา
2 .เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกความคล่องตัวระหว่างกลุ่มโปรแกรมฝึกแบบปกติกับการฝึก โดยใช้น้ำหนักช่วย
ขั้นตอนการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยที่มีต่อการพัฒนา ความคล่องตัวของนักกีฬากาบัดดี้โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา และเพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกการ เคลื่อนไหวระหว่างกลุ่มโปรแกรมฝึกแบบปกติกับการฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วย ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอขั้นตอน ในการวิจัยดังต่อไปนี้
แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนการสร้างโปรแกรมการฝึกความคล่องตัว ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมการฝึกความ คล่องตัวแบบการใช้น้้าหนัก โดยมีการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา (validity) ด้วยการพิจารณาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิจ้านวน 3 ท่าน เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (item objective congruence: IOC)
2. ขั้นตอนการนำโปรแกรมการฝึกความคล่องตัว แบบการใช้น้ำหนักและแบบทั่วไป ไปใช้ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้จ้านวน 3 กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 12 คน รวม 36 คน ค้านวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้การวิเคราะห์ค่ากำลังทดสอบ (power analysis) สำหรับการวิเคราะห์ความถดถอยสัมพันธ์เชิงซ้อนของ Cohen (1988) โดยใช้การเปิดตารางได้ค่า Power 0.80 ได้ Effectsize .60 ได้กลุ่มตัวอย่างจ้านวน 10 คน แต่เพื่อป้องกันการหลุดหายของกลุ่ม ตัวอย่าง ในช่วงขณะท้าการทดลองจึงใช้จ้านวนกลุ่มตัวอย่างจ้านวน 15 คน โดยวิธีการสุ่มแบบ กำหนด (randomized assignment) โดยเรียงสลับตามความคล่องตัวทั่วไป จากการทดสอบก่อน การทดลอง เพื่อจัดกลุ่มและรูปแบบการฝึกดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ทำการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องตัวแบบทั่วไปและฝึกซ้อมทักษะ การตีท้าแต้มของกีฬากาบัดดี้ตามปกติ
กลุ่มทดลองที่ 2 ทำการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องตัวแบบใช้น้ำหนักช่วยและ ฝึกซ้อมทักษะการตีท้าแต้มของกีฬากาบัดดี้ตามปกติ ในการฝึกทุกครั้งใช้สถานที่ และช่วงเวลาเดียวกัน อุปกรณ์และสถานที่ฝึกมีมาตรฐานและอยู่ ในสภาพใกล้เคียงกัน โดยแบ่งพื้นที่บริเวณสนามบาสเก็ตบอลเป็น 3 ส่วน
ในการฝึก ผู้ควบคุมการฝึก ประกอบไปด้วย ผู้วิจัย โดยดูแลควบคุมการฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึก มีการทดสอบความคล่องตัวทั่วไปโดยแบบทดสอบความคล่องตัวของอิลลินอยส์(illinois test run-agility) ความเร็ว (speed) โดยใช้แบบทดสอบวิ่ง 50 เมตร ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ (flexibility) โดยใช้เครื่องวัดความอ่อนตัวแบบนั่งงอตัว (sit and reach test) และความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อ (muscular strength) โดยใช้เครื่องวัดแรงเหยียดขา (leg dynamometer test) ก่อนการ ทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ผลการวิจัย
ผลการวิจัย
1. ผลการเปรียบเทียบการลุก-นั่ง 60 วินาที ของกลุ่มควบคุมแตกต่างกับกลุ่มโปรแกรมฝึก แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มโปรแกรมฝึกแบบปกติแตกต่างกับกลุ่ม โปรแกรมฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลการเปรียบเทียบการดันพื้น 30 วินาที (push-ups 30 seconds) หลังการฝึกของกลุ่ม ควบคุมแตกต่างกับกลุ่มโปรแกรมฝึกแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่ม โปรแกรมฝึกแบบปกติแตกต่างกับกลุ่มโปรแกรมฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
3. ผลการเปรียบเทียบการยืนกระโดดไกล (standing broad jump) หลังการฝึกของกลุ่ม ควบคุมแตกต่างกับกลุ่มโปรแกรมฝึกแบบปกติแตกต่างกับกลุ่มโปรแกรมฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการเปรียบเทียบการนั่งงอตัวไปข้างหน้า (sit and reach) หลังการฝึกของกลุ่ม ควบคุมแตกต่างกับกลุ่มโปรแกรมฝึกแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่ม โปรแกรมฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยแตกต่างกับกลุ่มโปรแกรมฝึกโดยไม่ใช้น้ำหนักช่วย อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
5. ผลการเปรียบเทียบการวิ่งอ้อมหลัก (zig zag run) หลังการฝึกของกลุ่มควบคุมแตกต่าง กับกลุ่มโปรแกรมฝึกแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่กลุ่มโปรแกรมฝึกโดยใช้ น้ำหนักช่วยกับกลุ่มโปรแกรมฝึกโดยไม่ใช้น้ำหนักช่วยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ผลการเปรียบเทียบการวิ่งระยะไกล (distance Run) หลังการฝึกของกลุ่มควบคุมแตกต่าง กับกลุ่มกลุ่มโปรแกรมการฝึกแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มโปรแกรมฝึก โดยใช้น้ำหนักช่วยแตกต่างกับกลุ่มโปรแกรมฝึกโดยไม่ใช้น้ำหนักช่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
อภิปรายผล
จากสมมุติฐานที่ว่าการฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยมีผลต่อการพัฒนาความคล่องตัวของนักกีฬา กาบัดดี้โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา ได้ดีกว่ากลุ่มโปรแกรมฝึกแบบปกติ สามารถสรุปและอภิปรายได้ ดังนี้ การฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยมีผลต่อการพัฒนาความคล่องตัวของนักกีฬากาบัดดี้ ได้ดีกว่ากลุ่มโปรแกรมการฝึกแบบปกติ หลังจากทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างและมีการ ทดสอบก่อน-หลังพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความคล่องตัวที่ดีขึ้นที่ดีขึ้น จึงเป็นไปตาม สมมุติฐาน แสดงให้เห็นว่าการฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยมีผลต่อการพัฒนาความคล่องตัวของนักกีฬากาบัดดี้ เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสามารถสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายได้ ซึ่ง ในการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีเกณฑ์สมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้น ซึ่งตรงกับศิริรัตน์ หิรัญรัตน์ (2539) และพิชิต ภูติจันทร์ (2535) กล่าวว่า การฝึกด้วยน้ำหนัก (weight training) เป็นการฝึกเพื่อ เสริมสร้างความแข็งแรง โดยให้กล้ามเนื้อออกแรงต้านทานกับแรงต้านทานอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับฝึก นำหนัก ได้แก่ บาร์เบลล์ ดรัมเบลล์การฝึกด้วยน้ำหนัก (weight training) เป็นการฝึกกล้ามเนื้อให้ ทำงานต่อต้านกับแรงต้านทานที่สูงกว่าปกติที่กล้ามเนื้อมัดนั้นเคยท้าการฝึกซึ่งช่วยเสริมสร้างความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ และยังสามารถฝึกเพื่อเสริมสร้างพลังกล้ามเนื้อได้ โดยใช้น้ำหนักเป็นแรงต้าน ซึ่งในโปรแกรมการฝึกแบบสถานีโดยใช้น้ำหนักถ่วง ร่วมด้วยใช้น้ำหนักถ่วงครั้งนี้ เป็นการในรูปแบบของการฝึกแบบสถานีซึ่ง Hofstetter (2012) ได้ ศึกษาผลของการฝึกแบบสถานีกลางแจ้งเป็นเวลา 7 สัปดาห์ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของพล ทหารชาวสวิส วัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการทดลองออกกำลังกายสถานีกลางแจ้งที่เพิ่มจากการ ฝึกตามปกติที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายและอาการบาดเจ็บของพลทหารในกองทัพสวิส โดยให้กลุ่ม ทดลองออกกำลังกายสถานีกลางแจ้งเพิ่มเติมจากการฝึกแบบปกติ เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ผลวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แต่อาการบาดเจ็บ ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม จากงานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่า การฝึกโดยใช้น้ำหนักช่วยสามารถเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย และความคล่องแคล่วได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะ
1. การวิจัยในครั้งนี้ควรเน้นย้ำ เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกในแต่ละวัน เช่น ต้องรับประทานอาหารก่อนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
2. ต้องทำการอบอุ่นร่างกายทั้งก่อนและหลังการฝึกซ้อมตามโปรแกรม
3. สามารถทำโปรแกรมการฝึกที่ไปใช้ทดลองกับนักกีฬาประเภทต่อสู้หรือทีมได้ตามความ เหมาะสม ข้อเสนอแนะงานวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรน้ำไปประยุกต์ใช้กับนักกีฬาประเภททีมอื่น ๆ