การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาความต้องการในการส่งเสริมสร้างความสามารถการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเสริม
พลังครูร่วมคิดพาทำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของ
ครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ
การนิเทศแบบเสริมพลังครูร่วมคิดพาทำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ดำเนินการวิจัย
โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and development) กำหนดขั้นตอนดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่1 ศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัย โดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูปฐมวัยสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่
และมอร์แกน (Krejcie and Morgan)จำนวน 208คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบและตรวจสอบรูปแบบการนิเทศด้วย
การสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษานำร่อง (Pilot Study) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลัง
ครูร่วมคิดพาทำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของ
ครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ได้แก่ ครูปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3ผู้บริหารโรงเรียน
และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนในเครือข่ายที่รับผิดชอบ เครือข่ายที่ 6 จำนวน 1 โรงเรียน และเครือข่ายที่ 8 จำนวน1 โรงเรียน
รวมจำนวน 2 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก(Lottery) ได้แก่
ครูปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3จำนวน 2 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 55คน
รวมทั้งสิ้นจำนวน 59 คน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังครูร่วมคิดพาทำเพื่อส่งเสริม
ความสามารถด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3ผู้บริหารโรงเรียน
และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2565 จำนวน 5 อำเภอ อำเภอละ4 โรงเรียน รวม 20 โรงเรียน ได้มาจากการสมัครใจเต็มใจในการพัฒนาร่วมกัน
ได้แก่ครูปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 20 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 20 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
จำนวน 418 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 458 คน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงทดลองแบบแผนการทดลองที่ใช้เป็นแบบ
(One-group pretest posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล มีทั้งหมด 7 ชนิดได้แก่
ข
1)คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังครูร่วมคิดพาทำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
2)แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ของครูปฐมวัย3)แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของ
ครูปฐมวัย4)แบบประเมินความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัย
ด้านทักษะ5)แบบประเมินเจตคติที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย6)แบบสอบถาม
ความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังครูร่วมคิดพาทำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
อุบลราชธานี เขต 27) แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในการทำกิจกรรมการทดลอง
และโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้t-test (Dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาความต้องการในการส่งเสริมสร้างความสารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับ
เด็กปฐมวัยของครูปฐมวัยพบว่า ครูปฐมวัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต2 มีความต้องการ
จำเป็นในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัย
ในด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก(
−
X =4.39) และด้านทักษะ
เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก(
−
X
=4.37)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังครูร่วมคิดพาทำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
พบว่า รูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังครูร่วมคิดพาทำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทาง
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 มีทั้งหมด
6 องค์ประกอบ ได้แก่1) หลักการ2)วัตถุประสงค์3) กระบวนการนิเทศ มี 7 ขั้นตอน (Co -7STEP Model) ดังนี้ ขั้นที่ 1
ร่วมสร้างแรงจูงใจ(Co -Motivation) ขั้นที่ 2 ร่วมสร้างความเข้าใจ (Co - Understanding)ขั้นที่ 3ร่วมวางแผนการนิเทศ
(Co -Planning) ขั้นที่ 4 ร่วมเรียนรู้ความสัมพันธ์อย่างเข้าถึง (Co - learning and Connecting)ขั้นที่ 5 ร่วมคิดร่วมพัฒนา
(Co -Development Activities)ขั้นที่ 6 ร่วมสะท้อนและสรุปผล (Co-Reflection and Summarization) ขั้นที่ 7 ร่วมชื่นชมและ
ให้กำลังใจ(Co -Proudly) 4)การวัดและประเมินผล5) ระยะเวลาการนิเทศ6) ปัจจัยความสำเร็จและผลการประเมินรูปแบบ
การนิเทศด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group)ของผู้เชี่ยวชาญและการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบนิเทศโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า
รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น มีความถูกต้องเหมาะสม เป็นได้ในการปฏิบัติและเป็นประโยชน์เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
ทุกด้าน (
−
X =4.34) ดังนี้ ด้านความถูกต้องชัดเจน (
−
X =4.25 ) ด้านความเหมาะสม (
−
X = 4.49) ด้านความเป็นไปได้
(
−
X = 4.32 )และด้านความเป็นประโยชน์(
−
X =4.33