การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพ
ของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา D-DIEN MODEL โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา การดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา R&D (Research and Development) โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็น (Analytics) ในการส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียน
กะทู้วิทยา ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนา (Design and Development) รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพ ของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา ระยะที่ 3 การทดลองใช้ (Trying Out) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้ (Evaluation) รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็น (Analytics) ในการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา พบว่า
1.1 นักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยามีทักษะชีวิตและอาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.68 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.75
1.2 ดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา มีค่าดัชนี PNImodified เท่ากับ 0.52 - 0.66
มีสภาพที่เป็นจริงในการส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา คือ โรงเรียนควรให้โอกาสนักเรียนในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์
ในการเรียนรู้และเตรียมความพร้อม สำหรับอาชีพในอนาคต การไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเสมือนเป็นการเปิดประตูให้นักเรียนเข้าสู่โลกของการทำงานที่นักเรียนสามารถได้รับการเรียนรู้ทั้งทักษะ
และความรู้ที่ไม่สามารถได้รับจากห้องเรียน เช่น ทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง ทักษะการสื่อสารภายในทีมและทักษะความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น การได้มีประสบการณ์เช่นนี้
ยังช่วยให้นักเรียนมีโอกาสสำหรับการสร้างเครือข่าย และเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพที่น่าสนใจ ทำให้นักเรียน
มีความมุ่งมั่นและปรารถนาในการประกอบอาชีพที่หารายได้ในอนาคต อีกทั้งโรงเรียนกะทู้วิทยา
มีการส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียน แม้ว่าครูบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ยังขาดความชำนาญในการสอนทักษะอาชีพและชีวิตในบางทักษะ แต่ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้พยายามปรับปรุง
การส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพให้ครอบคลุมทุกระดับชั้นเพื่อให้นักเรียนได้รับประโยชน์เท่าที่ควรและความเชี่ยวชาญของครูในการสอนทักษะชีวิตและอาชีพ ยังต้องพัฒนาต่อไปอีกหลายด้าน
เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นในทุก ๆ ด้าน รวมถึง
การนิเทศและติดตามในกิจกรรมฐานชุมนุมทักษะชีวิตและอาชีพของโรงเรียนกะทู้วิทยายังมีข้อจำกัด เนื่องจากยังขาดการนิเทศติดตามทั้งภายในและภายนอกหากมีการติดตามอย่างสม่ำเสมออาจจะช่วยให้มีการสนับสนุนและการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการจัดการเรียนรู้ที่ค่อนข้างน้อยและการให้คำแนะนำที่ไม่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมและมีคุณภาพอย่างเต็มที่ในทุกภาคเรียน การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ชัดเจนและมีการติดตามการดำเนินงานในฐานะผู้นิเทศกิจกรรมฐานชุมนุมทักษะชีวิตและอาชีพจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการและสนับสนุนนักเรียนในกิจกรรมฐานชุมนุมทักษะและอาชีพ
มีสภาพที่คาดหวังในการส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยาสำหรับการเตรียมตัวให้พร้อมในการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และวางแผนสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยมีนโยบายที่ชัดเจนและการประเมินผลที่เหมาะสมในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะของนักเรียน ซึ่งครอบคลุมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การขายสินค้าในกิจกรรมตลาดนัดพอเพียงการฝึกประสบการณ์จริงจากสถานประกอบการ และการฝึกทักษะการตลาดและธุรกิจ นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ยังช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ การนิเทศและติดตามกิจกรรมฐานชุมนุมทักษะชีวิตและอาชีพมีการบริหารจัดการที่ดี มีคณะกรรมการจากภายในและภายนอกเข้ามาให้คำแนะนำและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ การประเมินผลการเรียนรู้จะต้องมีคณะกรรมการที่หลากหลายและดำเนินการประเมินอย่างเป็นระบบและชัดเจนเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.3 แนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา มีรายละเอียด คือ 1) ยึดหลักการของการบริหารจัดการสถานศึกษา ให้การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ 2) ยึดบริบทเชิงพื้นที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ยึดกฎ มีคุณธรรม มีความโปร่งใส เน้นการมีส่วนร่วม รับผิดชอบต่อสังคม เกิดประโยชน์สูงสุดคุ้มค่า 4) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสภาพบริบทก่อนบริหารจัดการ 5) กำหนด จุดมุ่งหมาย วางแผนการปฏิบัติ แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการที่ชัดเจน 6) แนวทางการส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลักให้ขับเคลื่อนการส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของผู้เรียนโดยการบูรณาการในจัดการการเรียนการสอนในรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดรายวิชาเพิ่มเติม โดยให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ หรือจัดเป็นชุดวิชาระยะสั้น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ชุมนุม ลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS) โครงงานอาชีพ การจัดฐานการเรียนรู้สู่อาชีพและหลักสูตรระยะสั้น) 7) นิเทศกำกับติดตามและประเมินผลเป็นระยะ ๆ ทั้งระหว่างดำเนินการ หลังจากเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิตอาชีพของนักเรียน 8) สร้างเครือข่ายการส่งเสริมทักษะชีวิตอาชีพของนักเรียน 9) ศึกษาผลสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งด้านผู้เรียน ครู ผู้บริหาร สถานศึกษา และผู้ปกครองผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด
2. การสร้างและพัฒนรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา พบว่า
2.1 รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียน
กะทู้วิทยา คือ รูปแบบ D-DIEN MODEL มีรายละเอียดของรูปแบบ คือ 1) D : Data Analytics การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) D : Develop Activities การพัฒนาหลักสูตรการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา (กิจกรรมบูรณาการ) 3) I : Implementation ปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียน 4) E : Empowerment & Evaluation ติดตามพัฒนา ปรับปรุงและประเมินผล และ 5) N : Networking การสร้างเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2.2 รูปแบบและคู่มือรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความถูกต้อง ความสอดคล้องเหมาะสมความเป็นไปได้ในการนำไปใช้และความเป็นประโยชน์ของ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.60
3. ผลการทดลองใช้และปรับปรุง (Trying Out) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา พบว่า
3.1 ระดับการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพ
ของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.70
3.2 ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา พบว่า
3.2.1 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับ ดีมาก ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 85.38และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 3.93 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 1,054 คน คิดเป็นร้อยละ 97.23 และมีผลงานเชิงประจักษ์ทั้งสิ้น จำนวน 52 ผลงาน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกิจกรรมฐานชุมนุมทักษะชีวิตและอาชีพ หลังการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา โดยใช้กระบวนการ D-DIEN MODEL ได้ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 85.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 3.93
3.2.2 ครูมีผลการประเมินคุณภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 86.15 และมีผลงานเชิงประจักษ์ได้รับรางวัล ทั้งสิ้น จำนวน 13 ผลงาน และมีผลการประเมินคุณภาพครูหลังการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา โดยใช้กระบวนการ D-DIEN MODELได้ค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพครูสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 86.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (𝜎) เท่ากับ 4.60
3.2.3 ผู้บริหาร มีผลการประเมินคุณภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 91.80 มีผลงานเชิงประจักษ์ได้รับรางวัล ทั้งสิ้น จำนวน 3 ผลงาน ผลการประเมินคุณภาพผู้บริหารหลังการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียน
กะทู้วิทยา โดยใช้กระบวนการ D-DIEN MODEL ได้ค่าเฉลี่ยผลการประเมินผู้บริหารสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 91.80 ( = 4.59, S.D. = 0.70)
3.2.4 สถานศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีผลการประเมินคุณภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับรางวัลทั้งสิ้น จำนวน 5 รางวัล มีผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาหลังการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยาโดยใช้กระบวนการ D-DIEN MODEL ได้ค่าเฉลี่ยผลการประเมินสถานศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 91.20 ( = 4.56, S.D. = 0.66)
4. ผลการประเมินผลการใช้ (Evaluation and Implementation) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา พบว่า
4.1 นักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยามีทักษะชีวิตและอาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.72
4.2 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะ
ชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนกะทู้วิทยา ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.66