บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ 2) เพื่อทดลองใช้ และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ไปใช้ในสถานศึกษาอื่น เป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and development) เก็บข้อมูลระเบียบวิธีแบบผสมผสาน (Mixed methods research) ประกอบด้วยข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative methods) และข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative methods) ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ และมีขั้นตอนการดำเนินการ 5 ขั้นตอนย่อย ระยะที่ 1 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ มี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของร่างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ เป็นการศึกษาจากเอกสารรายงานประจำปีของสถานศึกษา และผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ (SWOT Analysis) ตามหลักเกณฑ์การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ปี พ.ศ. 2557 ประกอบด้วย ด้านคุณภาพผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ และด้านคุณภาพความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา และปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อม ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ครอบคลุมการบริหารด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ และด้านความพร้อมและทรัพยากร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาร่างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ จำนวน 3 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ จำนวน 3 คน ตัวแทนครู จำนวน 3 คน ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 3 คน ตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน 2 คน และนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้คือ ประเด็นการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และร่างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ ครั้งที่ 1 ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 ผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ จำนวน 6 คน รองผู้อำนวยการ ในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ จำนวน 3 คน และตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ ครั้งที่ 2 และร่างคู่มือการใช้ร่างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติพื้นฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ในเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ โดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (𝑥̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระยะที่ 2 ทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ขั้นตอนที่ 1 ทดลองใช้ตามกระบวนการที่ระบุในรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือตัวแทนครู จำนวน 26 คน และตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ และแบบประเมินประสิทธิผลของ การนำรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ ไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์ในเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ประเมินประสิทธิผลในการนำรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ ไปใช้ ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือตัวแทนครู จำนวน 26 คน ตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน 5 คน และตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (𝑥̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระยะที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ไปใช้ในสถานศึกษาอื่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 6 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 12 คน และตัวแทนครู จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯไปใช้ ในสถานศึกษาอื่น และแบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบ มีส่วนร่วมฯ ไปใช้ ในสถานศึกษาอื่น การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (𝑥̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่
การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ที่สร้างขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 แนวคิดของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยนำเข้า องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการ และองค์ประกอบที่ 5 ผลผลิต โดยรูปแบบมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด(μ=4.61,σ=0.34) และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.66,σ=0.36)
2. ผลการทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่
ผลการทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ พบว่า ประสิทธิผลของการนำรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมฯ ไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านคุณภาพผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ตัวแทนครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.37 และตัวแทนสถานประกอบการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.01 ด้านคุณภาพการจัดการเรียน การสอน ตัวแทนครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.00 และตัวแทนสถานประกอบการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.88 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ ตัวแทนครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 88.37 และตัวแทนสถานประกอบการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 89.04 และด้านคุณภาพความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา ตัวแทนครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.36 และตัวแทนสถานประกอบการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.10
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่
ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ พบว่า ตัวแทนสถานประกอบการ ตัวแทนครู และตัวแทนผู้ปกครอง มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยตัวแทนสถานประกอบการ มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.63,σ=0.36) ตัวแทนครู มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.64,σ=0.44) และตัวแทนผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.63,σ=0.36)
4. ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ไปใช้ในสถานศึกษาอื่น
ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เชิงพื้นที่ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ไปใช้ในสถานศึกษาอื่น พบว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และตัวแทนครู มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน อยู่ในระดับมากที่สุด โดย ผู้อำนวยการสถานศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.60, σ=0.48) และ(μ=4.68,σ=0.33) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.72, σ=0.22) และ(μ = 4.79,σ = 0.19) และตัวแทนครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.63,σ=0.45) และ(μ = 4.70,σ = 0.38)