ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ปลูกผักรักษ์โลก
โรงเรียนกุดจิกวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2566
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวสุชาดา คงมะเริง
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2566
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ปลูกผักรักษ์โลก โรงเรียนกุดจิกวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 ในครั้งนี้ ใช้รูปแบบซิปเปี้ยสท์ (CIPPIEST)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินในประเด็น ดังต่อไปนี้ 1) การประเมินด้านบริบท 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 3) การประเมินด้านกระบวนการ 4) การประเมินด้านผลผลิต ประกอบด้วย 4.1) การประเมินด้านผลกระทบ 4.2) การประเมินด้านประสิทธิผล 4.3) การประเมินด้านความยั่งยืน และ 4.4) การประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนกุดจิกวิทยา จำนวน 175 คน ได้จากตารางกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ของเครจซี่และมอร์แกน แล้วกำหนดสัดส่วนแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 1) แบบประเมินสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และครู จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านบริบท มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิต ดังนี้ ด้านผลกระทบ ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 2) แบบประเมินสำหรับนักเรียน จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านกระบวนการ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 และฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านผลผลิต ดังนี้ ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 3) แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา รวมทั้งการเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.51, σ= 0.58) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและประเด็นการประเมินทุกประเด็น
2. ผลการประเมินด้านด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.51, σ= 0.58) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและประเด็นการประเมินทุกประเด็น
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.52, σ = 0.57) และตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.65) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและประเด็นการประเมินทุกประเด็น
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลกระทบ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.52, σ= 0.54) และตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.64) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและประเด็นการประเมินทุกประเด็น
4.2 ผลการประเมินด้านประสิทธิผล ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการครองตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.59) 2) ด้านมีจิตสำนึกและความตระหนักในเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ อาหารปลอดภัยต่อสุขภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.59) และ 3) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.59) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมทุกด้าน และประเด็นการประเมินทุกประเด็น
4.3 ผลการประเมินด้านความยั่งยืน ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ= 4.41, σ= 0.52) และตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.53) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและประเด็นการประเมินทุกประเด็น
4.4 ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ= 4.09, σ= 0.81) และตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D. = 0.76) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและประเด็นการประเมินทุกประเด็น