หัวข้อโครงงาน : รักษ์การฟังเพลงพื้นบ้านอีสานบ้านเฮา
คณะผู้จัดทำโครงงาน : เด็กหญิงลลิตา แสวงผล ชั้นป. 6/6
เด็กหญิงณฐพร แสงสีดา ชั้นป. 6/6
เด็กชายอภิวิชญ์ วรรณวัติ ชั้นป. 6/6
ครูที่ปรึกษาโครงงาน : นางสาวศิริรันชนิภา ศิริชยพัทธ์
นางประกาย ยอดวงค์ษา
ปีการศึกษา : 2567
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง รักษ์การฟังเพลงพื้นบ้านอีสานบ้านเฮา มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา (1) เพื่อศึกษารวบรวมเพลงพื้นบ้านอีสาน (2) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเพลงพื้นบ้านอีสานในด้านความรัก วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม และการสัมผัสคำและศึกษาข้อคิดที่ได้จากเพลง (3) เพื่อศึกษาเจตคติการพังเพลงพื้นบ้านอีสานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี6/6 ขอบเขตของการศึกษา เพลงพื้นบ้านอีสานที่ใช้ในการศึกษาโครงงานได้จากการการศึกษารวบรวมเพลงจากนักร้องหมอลำ จำนวน 5 เพลงและเพลงที่ได้รับความนิยมจากสถานีวิทยุ จำนวน 10 เพลง รวมทั้งหมด 15 เพลง และศึกษาเจตคติในการฟังเพลงพื้นบ้านอีสานจากเพื่อนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี6/6 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา (1) ตารางวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านอีสานหมอลำ (2) แบบสอบถามวัดเจตคติในการฟังเพลงพื้นบ้านอีสานหมอลำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี6/6 (3) ตารางวิเคราะห์ข้อคิดที่ได้จากเพลงพื้นบ้านอีสานหมอลำ
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1.เพลงพื้นบ้านอีสานหมอลำ จำนวน 15 เพลง ได้วิเคราะห์ 3 ด้านพบว่า ผลการวิเคราะห์ด้านสาระของเพลงมีความรักมีทั้งหมด 55 ครั้ง ด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่จำนวนทั้งหมด 36 ครั้ง และด้านประเพณีวัฒนธรรมจำนวนทั้งหมด 33 ครั้ง และสาระด้านภาษาไทยการสัมผัสสระ จำนวน 389 ครั้ง และสัมผัสพยัญชนะ จำนวน 143ครั้ง
2. การวัดเจตคติในการฟังเพลงพื้นบ้านอีสานหมอลำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 6/6 พบว่า 1) เมื่อรับชมการแสดงแล้วมีความเข้าใจในสาระของเพลงมากที่สุด จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 58.9 ปานกลาง จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 41.1 น้อยที่สุด จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - ข้อที่ 2) ในขณะที่ฟังเพลงมีความรู้สึกชอบและอยากมีส่วนร่วมในการแสดงออก มากที่สุด จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 61.1 ปานกลาง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 38.2 น้อยที่สุดไม่พบเลย คิดเป็นร้อยละ 0 3) เพลงพื้นบ้านอีสานให้ประโยชน์ทุกยุคทุกสมัย มากที่สุด จำนวน 21 คนคิดเป็นร้อยละ 61.1 ปานกลาง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 38.2 น้อยที่สุดไม่พบเลย คิดเป็นร้อยละ 0 4) เพื่อนๆ มีความสนใจที่จะถ่ายทอดความรู้และสาระของเพลงให้ผู้อื่นฟัง มากที่สุด จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 35.3 ปานกลาง จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 58.8 น้อยที่สุด2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.9 5) เพลงพื้นบ้านอีสานทำให้ผู้ฟังได้รับความบันเทิงและมีความสุขในการฟัง มากที่สุด จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 82.4 ปานกลาง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 17.7 น้อยที่สุด จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.9
3. เพลงพื้นบ้านอีสานหมอลำให้ข้อคิดคติเตือนใจสอนในเรื่องความรัก การรักบ้านเกิดเมืองนอน ความกตัญญูกตเวที ค่านิยม ความซื่อสัตย์ ความเชื่อ สิ่งศักดิสิทธิ์ อาชีพ การทำมาหากิน ตลอดจนสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน