2. ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม
กระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้านที่เกิดจากปัญหาด้านจิตใจของคนในสังคมที่เสื่อมลงทั้งทางด้านศีลธรรม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและสังคมก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะปัญหาคอรัปชั่น ที่มีสาเหตุมาจากปัญหาด้าน คุณธรรมจริยธรรมที่สั่งสม มาโดยไม่รู้ตัวตั้งแต่วัยเยาว์ จึงทำให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษาได้ให้ความสำคัญ ในการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรคุณธรรม โดยต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้ผู้เรียนเป็น คนดี เพราะถ้าผู้เรียนเป็นคนดีตั้งแต่เด็ก เขาก็จะคิดดี ทำดี สร้างประโยชน์ให้ สังคม และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ว่า ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง และพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรในหลวงรัชกาล ที่ 10 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ที่ว่า เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน และเพื่อประโยชน์ของประชาชน ชาวไทยทั้งปวง ทรงรับสั่งให้ดำเนินการตาม แนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยการให้ทุกคนทำการเพื่อบ้านเมืองและประชาชน โดยมีพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีกระแสรับสั่งให้ จัดการศึกษาโดยต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ ผู้เรียนใน 4 เรื่อง คือ 1. ทัศนคติที่ถูกต้อง ๒. พื้นฐานชีวิตที่มั่นคงแข็งแรง 3. มีอาชีพ มีงานทำและ 4. เป็นพลเมืองดี ดังนั้นหน่วยงานทางการศึกษา จึงได้กำหนดนโยบาย แผนและหลักสูตร ล้วนมุ่งที่จะเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็ก ๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดี มีประโยชน์และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคง ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2531 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 1สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญในกระบวนการ ปรับสภาพสังคมให้เกิดภาวะที่ ไม่ทนต่อการทุจริต โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ในทุกระดับช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต ยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต เป็นการดำเนินการผ่านสถาบันหรือกลุ่มตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาสังคม ให้มีความเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวมและเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและต่อต้าน การทุจริตในทุกรูปแบบ จึงเป็นที่มาของการดำเนินงานตามโครงการ กะศิษย์เกษตร ปลูกต้นกล้าความดี ด้วยวิถีพอเพียง โดยมุ่งหวังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความภาคภูมิใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคม รู้เท่าทันและสามารถพิจารณาเลือกรับ หรือปฏิเสธกระแสเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้อย่างชาญฉลาด
โรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ป้องกันการทุจริต ภายใต้ชื่อ โรงเรียนสุจริต ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ มีระบบวิถีพอเพียง มีความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบและปราศจากอบายมุข บนฐานการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต คือ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มุ่งพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการกะศิษย์เกษตร ที่มีคุณลักษณะ และการจัดการที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ พอประมาณกับศักยภาพของนักเรียน พอประมาณกับภูมิสังคมของโรงเรียนและชุมชนที่ตั้ง มีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ฝึกให้เด็กคิดเป็น ทำเป็นอย่างมีเหตุผล ไม่เอารัด เอาเปรียบผู้อื่น มีวินัย มีสัมมาคารวะ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมไทยและวิถีชุมชน กล่าวคือ สอนให้ผู้เรียนยึดมั่นในหลักศีลธรรม พัฒนาให้เขารู้จักทำประโยชน์ให้กับสังคม และช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และโครงการกะศิษย์เกษตรต้องยั่งยืน ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา มุ่งพัฒนาที่ตัวครูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สามารถถ่ายทอด ความรู้และปลูกฝังสิ่งต่าง ๆ ในแก่ผู้เรียน โดยมีเป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อน คือ การทำให้ผู้เรียนรู้จักความพอเพียง ปลูกฝัง อบรม บ่มเพาะให้ผู้เรียนมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสาระเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ รู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและค่านิยมความเป็นไทย วิถีชีวิตของชุมชน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น สำคัญ คือ ครูจะต้องรู้จักบูรณาการการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเห็นถึงความเชื่อมโยงในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ความเป็นองค์รวมเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ครูต้องใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 - 2570 โดยมีวิสัยทัศน์ขององค์กรคือ 2 ลด 2ปรับ 2 เพิ่ม 2 เสริม 2 สร้าง 2 มุ่ง และเพื่อเป็นการต่อยอดพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็น"องค์กรคุณภาพ สร้างคนดี มีความสุข ด้วยนวัตกรรม สู่ความยั่งยืน" ทั้งนี้ ได้นำสู่การดำเนินการโดยกำหนดทิศทางการพัฒนาไว้ในกลยุทธ์ ที่ 5 พัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาให้เป็นบุคคลและองค์กรแห่งการเรียนรู้ก้าวสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม โดยได้จัดทำโครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21 เพื่อสนองตามวิสัยทัศน์ขององค์กรและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสังกัดพัฒนา คิดค้นแนวทางหรือกระบวนการในการพัฒนาการจัดการศึกษา การบริหารจัดการ หรือการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีคุณภาพ โดยคำนึงถึงบริบทเชิงพื้นที่ ความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียน รวมถึงความสอดคล้องในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และได้กำหนดจัดกิจกรรมมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อเป็นเวทีวิชาการในการนำเสนอผลงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่องสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น โรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จึงริเริ่มพัฒนารูปแบบการบริหาร PAJEE+ Model ของสถานศึกษา สร้างนวัตกรรมการศึกษาขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ตามตามแนวทางการจัดทำและนำเสนอนวัตกรรมการศึกษาโครงการ The Best Education Innovation CME2 ปีงบประมาณ 2567 และโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทยซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและ ส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นปัญหาลำดับต้น ๆ ที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทางโรงเรียนจึงมีการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) จึงได้ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียนร่วมกันกำหนดนโยบายใน การขับเคลื่อน และถอดบทเรียน Best Practice กะศิษย์เกษตร ปลูกต้นกล้าความดี ด้วยวิถีพอเพียง โดยใช้รูปแบบการบริหาร PAJEE+ Model เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต สืบไป
3. วัตถุประสงค์การพัฒนานวัตกรรมกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรม
3.1 วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาให้นักเรียนโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต จากโครงการกะศิษย์เกษตร ปลูกต้นกล้าความดี ด้วยวิถีพอเพียง โดยใช้รูปแบบการบริหาร PAJEE+ Model
2) เพื่อถอดบทเรียน สรุปองค์ความรู้นวัตกรรมที่เป็น Best Practice และเผยแพร่สู่สาธารณชน และเชิดชูให้เป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ของผู้สนใจ
3) เพื่อให้ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน เกิดความตระหนัก ในการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน
3.2 เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1) นักเรียนโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา จำนวน 236 คน เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม และเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
2) โรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา มีการถอดบทเรียน สรุปองค์ความรู้นวัตกรรมที่เป็น Best Practice เผยแพร่สู่
สาธารณชน
3) ผู้บริหาร จำนวน 2 คน คณะครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 14 คน และนักเรียนจำนวน 236 คน ให้ความร่วมมือและร่วมน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. นักเรียนโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม และเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมจนเกิดเป็นวิถีปฏิบัติที่ดีงาม
2. สถานศึกษามีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice เป็นแบบอย่างให้กับสถานศึกษาและหน่วยงานทั่วไปจนได้รับ การยอมรับจากชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
3. ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และภาคีเครือข่ายเกิดความตระหนักรู้ เข้าใจ ในการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติได้อย่างเข้าใจ ต่อยอดและยั่งยืน