ความเป็นมาและสภาพปัญหา
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พศ 2567 ได้ดำเนินการภารกิจหลักตามยุทธศาสตร์ชาติ ร่าง แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พศ 2566 ถึง2580) ฉบับปรับปรุง ประเด็น 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ในแผนย่อยที่ 3 3และ แผนการศึกษาแห่งชาติ พศ 2560ถึง 2579 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals SDGs) รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ จึงได้กำหนดหลักการสำคัญโดยให้ครูปฏิบัติหน้าที่บูรณาการทำงานและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต มีความรับผิดชอบ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมุ่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ภายใต้ความเสมอภาคทางการศึกษา
(พิกุล นามฮุง 2565) ได้ให้ความเห็นสำหรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ระบบการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวดำเนินการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านสาระวิชาหลักและทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 3 ทักษะ คือทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ทักษะด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ดังนั้นโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา ตั้งแต่การจัดหลักสูตรที่เน้นให้นักเรียนได้สัมผัสกับความเป็นจริงหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่นักเรียนสามารถที่จะศึกษาค้นคว้าได้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และครู นักเรียนสามารถที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าสู่ขุมคลังแห่ง ความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือ คอยให้คำแนะนำ ส่วนนักเรียนเองก็จะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้คอยรับความรู้ เพียงอย่างเดียวไปเป็นผู้ที่ต้องศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลและปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืนและเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดเวลาจนเป็นนิสัยจะทำให้การจัดการศึกษาประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของเยาวชน สังคมและตลาดแรงงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต
จากการรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2566 และจากการวิเคราะห์สถานภาพ SWOT การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน แบบ 7S และปัจจัยภายนอก แบบ C-PEST โรงเรียนวัดรางกำหยาด พบว่า 1) บุคลากรไม่เพียงพอต่อภาระงานตามโครงสร้างการบริหารในโรงเรียน 2) นโยบายการจัดการศึกษามีภาระงานมาก ทำให้การจัดการเรียนการสอนของครูไม่บรรลุตามเป้าหมาย ด้านผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา 1) บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ไม่ตรงตามสาขา 2) บุคลากรบางส่วนขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) บุคลากรมีภาระงานที่ได้รับมอบหมายจำนวนมาก ส่งผลให้การบริหารจัดการด้านบุคลากรขาดความคล่องตัวและความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน และครูมีภาระงานที่รับผิดชอบนอกเหนือจากงานสอนเพิ่มขึ้น ขาดทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่พิเศษที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ด้านผู้เรียน นักเรียนขาดความรับผิดชอบในหน้าที่และวินัยของโรงเรียน จึงมีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน คณะกรรมการสภานักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน
ดังนั้นเพื่อให้ครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 จึงได้นำรูปแบบการบริหาร RKYs 5G Model มาขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบโดยมีการใช้หลักทฤษฎีเชิงระบบประกอบกับหลัก PDCA เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนโรงเรียนวัดรางกำหยาดต่อไป
กระบวนการ (Process) มีการนำรูปแบบ RKYs 5G Model ซึ่งประกอบไปด้วย
1 R Resolution ข้อกำหนด กฎข้อบังคับ
มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา โดยจัดการประชุมครู ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แผนงาน และโครงการในการพัฒนาสถานศึกษา
2 K Knowledge ส่งเสริมการเรียนรู้จัดการเรียนการสอน
มีการขับเคลื่อนด้านการจัดการเรียนรู้ให้ตอบสนองต่อศตวรรษที่ 21 และการนำไปใช้ได้จริง
3 Y Yourself การพึ่งพาตนเองส่งเสริมการพึ่งพาตัวเอง โดยการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
4 S Sustainability ความยั่งยืน
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ตระหนักและรับรู้ปัญหาและความต้องการท้องถิ่นและชุมชนของตนเพื่อร่วมกันพัฒนา ผู้เรียนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผิดชอบ ร่วมติดตามประเมินผล
5 G
G1 Good Organization สถานศึกษาดีมีคุณภาพ
การบริหารจัดการทั้งระบบที่ดีโดยบริหารงาน มีนโยบายในการขับเคลื่อนโดยครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ และมีการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่สอดคล้องกับนโยบาย การดำเนินงานภายในโรงเรียนวัดรางกำหยาด มีกระบวนการวางแผนจากผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ในแต่ละกิจกรรม และมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เกิดปัญหาและอุปสรรคอย่างไร เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นจะมีการสรุปผลการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
G2 Good Teacher ครูมืออาชีพ
ส่งเสริมพัฒนาและจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อให้ครูนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
G3 Good Student นักเรียนดีมีคุณภาพและมีความสุข
เน้นพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ เท่าทันต่อการเปลี่ยนของโลกในศตวรรษที่ 21
G4 Good Community ชุมชนดี
การบริหารแบบมีส่วนร่วมจากคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน มีการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชุน และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนในการจัดการศึกษา
G5 Good Activity กิจกรรมดี
จัดทำโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการต่าง ๆ ที่ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนมีลักษณะพึงประสงค์ ความสามารถทางสมรรถนะตามที่สถานศึกษากำหนด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา
3ด้านผลลัพธ์ (Outcome) ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุขสำหรับหลักการ PDCA ที่นำมาประยุกต์ใช้มีดังนี้
1 P (Plan) ขั้นวางแผนนวัตกรรมการบริการเพื่อให้ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยกำหนดการใช้ RKYs 5G Model ประยุกต์เข้ากับสภาพบริบทของโรงเรียนวัดรางกำหยาดโดยได้กำหนดวัตถุประสงค์และกระบวนการดำเนินงานที่จำเป็นเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ต่อผู้เรียนซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของสถานการณ์
2 D (Do) ขั้นการปฏิบัติสถานศึกษามีการนำกระบวนการ RKYs 5G Model ไปปฏิบัติตามแผนและวิธีการดำเนินงาน
3 C (Check) ขั้นการตรวจสอบ สถานศึกษามีการตรวจสอบ การนิเทศ เฝ้าติดตามและวัดกระบวนการตลอดจนการบรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ต่อผู้เรียนตามตัวชี้วัด
4 A (Act) ขั้นการพัฒนาปรับปรุง มีการนำผลการดำเนินงานที่ได้มาทำการวิเคราะห์ ระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาหรือจุดอ่อนของรูปแบบ RKYs 5G Model เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการพิจารณากลยุทธ์ในการจัดทำแผนครั้งต่อไป