ชื่อผู้ประเมิน นางสาวศศิธร ศรีจันทะ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนภูแลนคาวิทยายน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีที่รายงาน 2566
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประชากรที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน (ไม่รวมผู้ประเมิน) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้แทนครู) และนักเรียน จำนวน 228 คน จำนวนทั้งสิ้น 254 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.76, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.23) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับพระราชดํารัสของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.77, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.35) และ (ค่าเฉลี่ย = 4.77, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.32) รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 2570) ของรัฐบาล และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามและบำบัดรักษายาเสพติด ปี 2566 ของ ปปส. (ค่าเฉลี่ย = 4.71, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.32) และ (ค่าเฉลี่ย = 4.71, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.34) ความสอดคล้องกับสภาพปัญหายาเสพติดในสังคมปัจจุบัน (ค่าเฉลี่ย = 4.66, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.37) และ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับ แนวทางการดำเนินโครงการ TO BE NUMBER ONE ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (ค่าเฉลี่ย = 4.64, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.35) ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.21) ผ่านเกณฑ์ การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.65, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.27) รองลงมา คือ ด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.58, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.27) ด้านการวางแผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.52, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.25) ด้านบุคลากร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.36) และด้านอาคารสถานที่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.33) ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.71, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.23) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า มีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินการเมื่อพบข้อบกพร่องขณะดำเนินงานโครงการ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.74 , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.55) และ (ค่าเฉลี่ย = 4.74, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.53) รองลงมาคือ มีการประเมินผลแต่ละกิจกรรมในโครงการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย (ค่าเฉลี่ย = 4.70, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.66) มีการติดตามประสานงานการจัดกิจกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และ มีการกำกับ ติดตาม ควบคุมการดำเนินงานโครงการ (ค่าเฉลี่ย = 4.69, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.52) และ (ค่าเฉลี่ย = 4.69, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.53) มีการดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนงานที่กำหนดไว้, มีการจัดกิจกรรมโครงการในรูปแบบที่หลากหลายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ และ มีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึง (ค่าเฉลี่ย = 4.67, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.52), (ค่าเฉลี่ย = 4.67, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.51) และ (ค่าเฉลี่ย = 4.67, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.51) มีการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย= 4.63, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.53) และประชุมเพื่อกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.54, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.61) ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิตของโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ
4.1 ด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.57, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.18) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านผลผลิตที่มีต่อนักเรียน ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.62, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.25) รองลงมา คือ ด้านผลผลิตที่มีต่อผู้บริหาร ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.56, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.27) และด้านผลผลิตที่มีต่อครูผู้สอน ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.54, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.28) ตามลำดับ
4.2 ความพึงพอใจต่อโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน อำเภอ บ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.52, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.21) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้