ความเป็นมาและสภาพปัญหา
การนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นงานหนึ่งในการบริหารงานวิชาการ และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ) ไต้กำหนตให้การนิเทศภายในเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา ที่กำหนดให้สถานศึกษาต้องมีระบบการนิเทศการเรียนการสอน และจะต้องมีการนำผลไปปรับปรุงการสอนอยู่สมอ แม้ว่าสถานศึกษาจะมีโครงการนิเทศภายใน แต่ยังขาดการติตตามให้มีการนิเทศให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และเป็นการดำเนินการเชิงเอกสารมากกว่าการปฏิบัติการนิเทศการเรียนการสอนจริง จากการรายงานผลการประเมินตนเอง SAR โรงเรียนวัดรางกำหยาด ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการจัดการความรู้ โรงเรียนมีครูผู้สอนครบตามเกณฑ์ กคศ. ครูยังขาดทักษะเชื่อมโยงบูรณาการการจัดการเรียนรู้ การนำสื่อเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้นักเรียนไม่บรรลุผลสำเร็จตามหลักสูตรเท่าที่ควร เห็นได้จาก ผลการทดสอบระดับชาติ สทศ. ผลสอบ O-NET นักเรียนชั้น ป6 ปีการศึกษา 2565 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนละผลทดสอบระดับชาติต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่โรงเรียนตั้งไว้
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปีพศ 2542 กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาโดยกำหนดให้โรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา มีการประเมินและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด จึงจำเป็นต้องมีการนิเทศการศึกษาเพื่อให้โรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาตามกำหนด การนิเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การนิเทศภายนอกสถานศึกษาและการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยเฉพาะการนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ดังนั้นการนิเทศภายในสถานศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่ผู้นิเทศในสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูวิชาการ และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโดยใช้ภาวะผู้นำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ประสานงานและใช้ศักยภาพการทำงานอย่างเต็มที่ ส่งผลต่อการพัฒนางานของสถานศึกษาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา
การพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและเจตคติที่ดี สอดคล้องกับการจัดการศึกษาและการพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่พึงประสงค์นั้นถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการจัดการพัฒนานั้น ๆ จะสอดคล้องตรงตามความต้องการของบุคลากรภายในโรงเรียนหรือไม่ กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการพัฒนาครูและบุคลากรของหน่วยงานด้วยการพึ่งพาตนเอง กลุ่มเครือข่ายความร่วมมือ ระบบบริหารภายในองค์กร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ จึงเป็นวิธีการสำคัญที่จะสามารถสนองความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรสายงานการสอนได้
โรงเรียนวัดรางกำหยาด เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาล 2ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ซึ่งการจัดกระบวนการเรียนการสอนในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ พบว่า การนิเทศภายในสถานศึกษาในด้านการเรียนการสอนยังขาดระบบ ขาดปฏิทินการนิเทศที่ชัดเจน ขาดทิศทางและรูปแบบของการนิเทศ ครูผู้ร่วมนิเทศยังไม่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการนิเทศการศึกษาให้บรรลุถึงการพัฒนาครูและส่งผลต่อการพัฒนานักเรียน
วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้โรงเรียนมีรูปแบบและกระบวนการนิเทศ ติดตามและประเมินผลภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ
2 เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีคุณภาพ
3 เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลทดสอบระดับชาติ O-NET NT และ RT ที่สูงขึ้น
เป้าหมายการพัฒนา
เชิงปริมาณ
ครูโรงเรียนวัดรางกำหยาดได้รับการนิเทศภายในร้อยละ 100
นักเรียนโรงเรียนวัดรางกำหยาด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลทดสอบระดับชาติ O-NET NT และ RT ที่สูงขึ้น
เชิงคุณภาพ
ครูโรงเรียนวัดรางกำหยาดได้รับการนิเทศภายในอย่างต่อเนื่อง สามารถนำความรู้ที่ได้รับ
จาการนิเทศภายในไปใช้ในการปฏิบัติงาน เข้าใจบทบาทหน้าที่และพัฒนาตนเองในด้านพฤติกรรม บุคลิกภาพ พัฒนาการจัดการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลได้อย่างมีคุณภาพ
การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ TEAMWORK Model ของโรงเรียนวัดรางกำหยาด เพื่อการออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนิเทศภายในสถานศึกษา และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน โดยมีกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างขึ้นโดยสรุปได้ ดังนี้
1) ด้านปัจจัย (Input) ประกอบด้วย คู่มือนิเทศภายในสถานศึกษา รูปแบบการนิเทศภายใน และการส่งเสริมพัฒนาครู
2) ด้านกระบวนการ (Process) รูปแบบนวัตกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ TEAMWORK Model มีการนำวงจรควบคุมคุณภาพการทำงาน PDCA ของเดมมิ่ง (Demming) เข้ามาใช้ในการทำงานและการนิเทศภายในสถานศึกษา
โรงเรียนมีนโยบายเกี่ยวกับการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกด้านตามรูปแบบ TEAMWORK Model กำหนดหลักการทำงานเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผ่านวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยทุกขั้นตอนจะมีสังคมการเรียนรู้แบ่งปันข้อมูลและช่วยเหลือกัน มีการใช้เทคโนโลยี และการสื่อสารมาช่วยประสานงานและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ครูมีการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้เครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อย่างสม่ำเสมอ ตามขั้นตอน ดังนี้
1 ขั้นเตรียมการ/วางแผน (P) มีกิจกรรมดังนี้
1 1 ประชุมวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจากข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน
1 2 ประชุมวางแผนจัดระบบการนิเทศภายใน
1 3 แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน
14 คณะกรรมการจัดทำเครื่องมือนิเทศ
15 กำหนดปฏิทินการนิเทศ คู่มือนิเทศภายในสถานศึกษา
2 ขั้นดำเนินการ (D) มีกิจกรรมดังนี้
2 1 ประชุมชี้แจงความสำคัญและแนวทางการนิเทศภายใน
2 2 สำรวจรายวิชาที่ครูจะรับการนิเทศ
2 3 สำรวจทีม PLC ของบุคลากร
2 4 กำหนดวิธีการนิเทศ
1) ประชุมครูศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ
2) เยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอน
3) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวัน
4) กิจกรรม PLC
ดำเนินการนิเทศตามปฏิทิน
ขั้นติดตามและประเมินผล (C) มีกิจกรรมดังนี้
3 1 ประเมินผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม
3 2 ประเมินความพึงพอใจของครู
3 3 สรุปผลการนิเทศเสนอต่อผู้บริหาร
3 4 นำผลการนิเทศเป็นข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนต่อไป
4 ขั้นปรับปรุงและพัฒนา (A) มีกิจกรรมดังนี้
4 1 นำผลการนิเทศมาปรับปรุงพัฒนา
รูปแบบ TEAMWORK Model เป็นรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย
ขั้นศึกษาสภาพปัญหา T Trouble มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
ขั้นการแลกเปลี่ยน E Exchange เป็นการประชุมวางแผนจัดระบบการนิเทศภายใน ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหารูปแบบการนิเทศ
ขั้นเตรียมการ A Arrange เป็นการเตรียมจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษา คณะกรรมการจัดทำเครื่องมือนิเทศ กำหนดปฏิทินการนิเทศและตารางการนิเทศ
ขั้นการบริหารจัดการ M Management เป็นการบริหารจัดการโดยสร้างสถานศึกษาให้พัฒนาครูและคุณภาพนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข ตามนโยบาย เรียนดี มีความสุข ของกระทรวงศึกษาธิการและนโยบายของเลขาธิการ กพฐ. และมีการกำหนดรูปแบบวิธีการนิเทศบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น/ประวัติศาสตร์กับหลักสูตรสถานศึกษา และพัฒนางานนิเทศเพื่อส่งเสริมการอ่าน การเขียนการคำนวณ(ทักษะ 3R) ของผู้เรียน
ขั้นการปฏิบัติงาน W Willingness เป็นการปฏิบัติงานตามรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอน โดยน้อมนำอุดมการณ์ของความเป็นครู พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 คือ ปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น เต็มรู้ เต็มใจ เต็มเวลา เต็มคน เต็มพลังมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ขั้นการสังเกตและประเมินผล O Observant เป็นการสังเกตการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งบันทึกผลการประเมินตามรูปแบบนิเทศภายในสถานศึกษา
ขั้นตรวจสอบ R Recheck เป็นการแลกเปลี่ยนชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หาแนวทางการแก้ไข ปรับปรุงปัญหา รวมถึงตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบระดับชาติ RT NT O-NET และสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน ความพึงพอใจของครู
ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล K Keep data การนำผลการนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน และนำผลมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไข พัฒนาต่อไป
3) ด้านผลผลิต (Output) เป้าหมาย คือ ครูสามารถจัดการเรียนรู้แบบ Active learning ได้ และ สิ่งที่คาดว่าจะได้รับนำไปสู่ผลลัพธ์ (Outcomes) โรงเรียนมุ่งหวังให้เกิดผลความสำเร็จ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ที่สูงขึ้น รวมถึงผลการทดสอบระดับชาติ RT NT และO-NET สูงขึ้นด้วย