ชื่อผู้วิจัย นางปิยะภรณ์ ปิยะแสงทอง
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2564-2566
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และความต้องการได้รับการนิเทศที่ส่งสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และ 4) ประเมิน เผยแพร่ และขยายผลรูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ สภาพที่คาดหวัง และความต้องการได้รับการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาสภาพ สภาพที่คาดหวัง และความต้องการได้รับการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 320 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 320 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 45 คน และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 275 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู กลุ่มทดลองใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทน ผู้วิจัยในฐานะศึกษานิเทศก์ และครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ทำการทดลองใช้กับครูในเครือข่ายที่รับผิดชอบ จำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 35 คน ได้แก่ ครู จำนวน 24 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน และผู้วิจัยในฐานะศึกษานิเทศก์ และระยะที่ 4 ประเมินและขยายผลรูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 35 คน ที่ทำการจัดการเรียนรู้และนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ครู จำนวน 24 คน และผู้วิจัยในฐานะศึกษานิเทศก์ การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการนิเทศที่ส่งสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวังของการนิเทศที่ส่งสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการจำเป็นในการรับการนิเทศสูงที่สุด คือ ด้านการกําหนดปัญหาและความต้องการจำเป็นของการนิเทศ รองลงมาด้านการกําหนดเป้าหมาย และจุดประสงค์การนิเทศ
2. รูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านจุดมุ่งหมาย และหลักการ 2) องค์ประกอบด้านการดำเนินการ 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการ และ 4) องค์ประกอบด้านผลลัพธ์
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู กลุ่มทดลองให้ความสำคัญกับการนิเทศ เข้าใจรูปแบบการนิเทศ มีการเตรียมความพร้อมของตนเองตามบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามกระบวนการของรูปแบบการนิเทศส่งผลให้ครูพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Skill) และด้านเจตคติ (Attitude)
4. ผลการประเมินประสิทธิผลที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ APLASE Supervisory Model ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งด้านการใช้ประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
คําสำคัญ : รูปแบบการนิเทศ, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ครู