บทคัดย่อ
การดำเนินการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อรายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังการเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองเจริญ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 ค่าความยากง่าย 0.23-0.77 ค่าอำนาจจำแนก 0.23-0.62 และค่าความเชื่อมั่น 0.88 2. แบบประเมินแบบฝึกทักษะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 3. แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 4. แบบฝึกทักษะ จำนวน 5 ชุด มีระดับความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5. แผนการจัดการเรียนรู้ มีระดับคุณภาพโดยรวม
อยู่ในระดับมาก 6. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีดัชนีความสอดคล้อง 0.60 1.00 ค่าอำนาจจำแนก 0.26 0.92 และค่าความเชื่อมั่น 0.95
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น การหาค่าประสิทธิภาพ และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 88.65/85.17
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด