คณะผู้จัดทำ
1) นางสาวประภัสสร ชูเชิด
2) นางสาวภัทรวดี นุ้ยขาว
3) นางสาวมณีกานต์ พรหมทอง
ครูที่ปรึกษา
1) นายวีรยุทธ รุ่นมี
2) นางสาวฉัตรสุณีภรณ์ คงปาน
โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม)
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง
บทคัดย่อ
“จังหวัดตรัง” ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เป็นแหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน และเป็นแหล่งบ่มเพาะวัฒนธรรมภาคใต้ที่ดีงามมากมายให้อนุชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ สืบสาน และนำไปใช้ โดยเฉพาะ “สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์” ในจังหวัดตรัง ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่า ความทรงจำ และเป็นดั่งรากเหง้าให้คนจังหวัดตรังรุ่นหลังได้เรียนรู้เพื่อเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นจังหวัดตรังผ่านเรื่องราวและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากกระบวนการศึกษาผ่านสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดตรัง
โครงงาน เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จังหวัดตรัง บูรณาการผ่าน แอปพลิเคชั่น “เหวนตรัง” กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดตรังเและนำชุดข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้เผยแพร่ให้ผู้อื่นรับทราบผ่านแอปพลิเคชั่น “เหวนตรัง” ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่คณะผู้จัดทำโครงงานได้มีการสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อตอบรับกระแสสังคมยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่ในตำราแต่สามารถสืบค้นจากโลกออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งคณะผู้จัดทำเริ่มดำเนินกิจกรรมโครงงานในครั้งนี้โดยการศึกษาแหล่งข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดตรังผ่านเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือและนำข้อมูลที่ศึกษามารวบรวมและนำไปเผยแพร่ลงทางแอพพลิเคชั่นที่ทางคณะผู้จัดทำได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดตรังอย่างถูกต้องและเข้าถึงชุดข้อมูลดังกล่าวได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ผลการศึกษาทำให้คณะผู้จัดทำพบว่าเมื่อคณะผู้จัดทำได้เผยแพร่ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดตรังผ่านแอพพลิเคชั่น “เหวนตรัง” นักเรียนที่เข้าไปเยี่ยมชมแอพพลิเคชั่นเกิดความสนใจ เข้าใจในข้อมูล และเห็นถึงประโยชน์ของชุดข้อมูลนี้เพื่อใช้ประกอบในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากแบบสอบถามความพึงพอใจที่ทางคณะผู้จัดทำได้ทำขึ้นและสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) จำนวน 300 คน (ระดับมัธยมศึกษา) ถึงสิ่งที่ได้รับจากแอปพลิเคชันดังกล่าวผ่านการทำแบบสอบถามประโยชน์ที่ได้รับและแบบสำรวจความพึงพอใจ โดยผลทางสถิติความพึงพอใจในแอปพลิเคชันอยู่ที่ค่าระดับ “มากที่สุด” คิดเป็นร้อยละ 80 และนอกจากนี้แอปพลิเคชันยังได้รับการเผยแพร่ไปในเว็บไซต์ระดับประเทศทั้งเว็บ Inskru , ครูบ้านนอก และเผยแพร่ไปยังสถานศึกษาทั้งในจังหวัดตรังและนอกจังหวัดตรังทั้งสิ้น 6 โรงเรียน