เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายอิทธิพล เดี่ยวกลาง
หน่วยงาน โรงเรียนชำป่างามวิทยาคม อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปีที่ทำการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนใน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออ ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชำป่างามวิทยาคมที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 28 คน โดยผู้วิจัยสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผู้ศึกษาได้สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาดังนี้คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2)แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาดนตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาดนตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ การเป่าขลุ่ยเพียงออ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ค่าความเชื่อมั่น โดยผู้ศึกษาได้จัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ออกเป็น 8 เล่มได้ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนโดยให้นักเรียนศึกษาจาก ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 8 เล่ม จึงให้ประเมินตนเองด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน หลังจากนั้นผู้ศึกษาจึงได้เก็บรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไท ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี มีประสิทธิภาพ 81.19/82.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายหลังได้รับ การเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนได้รับการเรียนการสอน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญที่ .05
3. ผลศึกษาการพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่องดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 80 อยู่ในระดับดี ( =4.13,S.D.=0.78)
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชำป่างามวิทยาคม จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์(Harrow) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก