วิจัยชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค KWL Plus
ชื่อผู้วิจัย นายวิสุทธิ์ อ่างคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์
ปีการศึกษา 2/2566
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สภาพการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กไทยในปัจจุบัน พบว่า เด็กไทยส่วนใหญ่อ่อนทักษะภาษาอังกฤษ ในทุกทักษะ ทั้งทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เป็นสาเหตุสำคัญโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งปัญหาหนึ่งที่โรงเรียนส่วนใหญ่มีเหมือนกัน คือ นักเรียนรู้คำศัพท์น้อย ทำให้นักเรียนฟัง ไม่ออก พูดไม่ได้ อ่านไม่ออก และเขียนไม่เป็น (ปองภพ วิทิพย์รอด,2552 : 7) ซึ่งสอดคล้องกับ อำนวย สุนทร โชติ (2554) ได้กล่าวว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษ คือ เรียนภาษาอังกฤษมา 16 ปี แต่ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ฟังไม่รู้เรื่อง และพูดไม่ได้โดยมีสาเหตุมาจากการรู้คำศัพท์น้อยเกินไป จำศัพท์ผิด และรู้ ศัพท์แต่แปลไม่ได้ จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาอังกฤษชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 31.67 เมื่อวิเคราะห์ ตามรายตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางที่ได้กำหนดไว้ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) พบว่า มาตรฐาน ต1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่าง มีเหตุผล พบว่า คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม เท่ากับ 32.52 ซึ่งยังต่ำกว่าระดับประเทศ ที่มี คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 33.48 มีผลต่าง เท่ากับ 0.96
จากเหตุผลดังที่กล่าวมาทั้งหมด ทั้งทางด้านความสำคัญของการอ่าน รวมถึงระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ท าให้ผู้วิจัยเชื่อว่า การพัฒนาทักษะด้านการอ่านเป็น สิ่งจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน และจะสามารถทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรีนทั้งใน ระดับโรงเรียนและระดับชาติเพิ่มสูงขึ้นได้ และการใช้สื่อและนวัตกรรมที่สามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจ ของนักเรียนประกอบกับเทคนิคการสอนอ่านที่มีประสิทธิภาพมาประกอบการเรียนการสอนนั้น จะสามารถทำ ให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ต่อบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น ผู้รายงานจึงได้ศึกษานวัตกรรมและเทคนิค การสอน อ่านที่จะสามารถพัฒนานักเรียนด้านความเข้าใจในการอ่านให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นคือ แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและเทคนิคการสอนอ่าน KWL Plus
เทคนิค KWL Plus เป็นเทคนิคการสอนที่คิดค้นและนำเสนอโดย คาร์ และ โอเกิล (Carr and Ogle) อาจารย์ผู้สอนด้านการอ่านแห่งวิทยาลัยการศึกษาแห่งชาติ Evanston, Illinois ซึ่งเป็นเทคนิคการจัดกิจกรรม การสอนอ่านที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ใช้ความรู้ความเข้าใจ จากประสบการณ์เดิมของตนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ช่วยตีความหรืออธิบายความหมายในเนื้อเรื่องเช่น มีการคาดคะเนเหตุการณ์ในเรื่องที่อ่าน การตรวจสอบความ ถูกต้องของการคาดคะเน และการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เทคนิค KWL Plus ตามแนวคิดของ คาร์ และ โอเกิล(Carr and Ogle, 1987 : 626 631) คือ K หมายถึง Know เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหัวข้อ เรื่อง ว่าตนเองมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เป็นการนำความรู้เดิมมาใช้เพราะการเชื่อมโยง ความรู้ใหม่กับความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญในการจัดกิจกรรมก่อนการอ่าน ซึ่งเป็น การเตรียมนักเรียนในการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ การบูรณาการระหว่างความรู้พื้นฐานและเรื่องที่นักเรียนจะอ่าน เป็นสิ่งที่ช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างความหมายของบทอ่านได้ดีและผู้อ่านควรได้รับการกระตุ้นความรู้พื้นฐาน ให้เหมาะสม ดังนั้น ในขั้นตอนนี้ ทฤษฎีประสบการณ์เดิม ซึ่งเป็นทฤษฎีว่าด้วยหลักการนำความรู้พื้นฐาน ประสบการณ์เดิมและความรู้เดิมมาใช้ในการเรียนการสอน จึงเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญมาก W หมายถึง Want to Know เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องถามตนเองว่า ต้องการรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่จะอ่านบ้าง ซึ่งคำถามที่นักเรียนสร้างขึ้นก่อนการอ่าน เป็นการตั้งเป้าหมายในการอ่านและเป็นการคาดหวังว่าจะพบอะไร ในบทอ่านบ้าง L หมายถึง Learned เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจตนเองว่า ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน โดยนักเรียนจะหาคำตอบให้กับคำถามที่ตนเองตั้งไว้ในขั้นตอน W และจดบันทึกสิ่งที่ตนเองเรียนรู้และ Plus หมายถึง การสร้างแผนภูมิรูปภาพความคิดและเขียนสรุปความหลังการอ่าน ดังนั้น เทคนิคการสอนอ่าน KWL Plus เป็นเทคนิคการสอนอ่านที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านเป็นผู้ที่รู้จักคิด รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถควบคุมการอ่านของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาครูตลอดไป โดยการใช้ทักษะในการตั้งคำถาม การ คาดคะเน และการใช้ความรู้เดิมเพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านของตนเองให้ดีขึ้น
จากที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้แบบฝึกเสริมทักษะและเทคนิคการสอน อ่านแบบ KWL Plus ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ผู้รายงานเชื่อว่า การสอนอ่านโดยใช้วิธีทักษะการอ่าน เทคนิคการสอนอ่าน KWL Plus จะช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าให้กับนักเรียนได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร
2.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหล่มสักวิทยาคมสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
2.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษ าปีที่ 4/4 โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มา โดยแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.1 แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1.2 Reading Texts ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2. เครื่องมือมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
1.1 ค่าเฉลี่ย (Mean)
สูตร x̅ = ∑ x/ N
เมื่อ x̅ แทน คะแนนเฉลี่ย
∑ xแทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนน
N แทน จำนวนคนในกลุ่ม
1.2 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สูตร S.D. = √ 𝑁 ∑ 𝑥 2−(∑ 𝑥) 2 𝑁2
เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน x̅แทน คะแนนรวม
∑ x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
N แทน จำนวนประชากร
ขั้นตอนการวิจัย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียน
2. ดำเนินการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดย เทคนิค KWL Plus สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 แผนการสอน รวมเวลาเรียน 15 ชั่วโมง
3. หลังจากการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครบตามแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว ผู้วิจัย ทดสอบนักเรียนหลังเรียน (Posttest) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดเดิมที่ใช้ทดสอบก่อน เรียน โดยสลับข้อคำถามและคำตอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
ผลการวิจัย
วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ตามตาราง แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที และระดับนัยสำคัญทางสถิติ ของการทดสอบ เปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนและหลังเรียนของนักเรียน (n = 40)
การทดสอบ N 𝑿̅ S.D. t
ก่อนเรียน 40 17.33 3.90 37.70*
หลังเรียน 40 31.25 3.14
จากตาราง แสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 17.33 และค่าเฉลี่ยคะแนน การทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 31.25 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนน การทดสอบก่อนเรียนและหลัง เรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
อภิปรายผล
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านความเข้าใจในการอ่าน ภาษาอังกฤษก่อนและหลังจากที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ เข้าใจ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลจากการศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้านความเข้าใจในการอ่าน ภาษาอังกฤษก่อนและ หลังจากที่ได้รับการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไป วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
จากผลดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการใช้เทคนิค KWL Plus มีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้น ทั้งนี้ จากการสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียน พบว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในการอ่านอย่างกระตือรือร้น มีการฝึกฝนตนเองและการใช้ความคิดในเรื่อง ที่อ่าน มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการอ่าน มีการสรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่อ่าน จัดการกับความรู้ตาม ความเข้าใจของตนเองโดยการใช้แผนผังมโนทัศน์หรือแผนผังความคิดและพูดหรือเขียนสรุปความจากเรื่องที่ อ่านในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานการวิจัยของหลาย ๆ คน ที่ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการใช้ เทคนิคการสอน KWL Plus ดังนี้
เดือนฉาย จินดา (2559) ได้ศึกษาการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่นบ้านถ้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนถ้ำปิ่นวิทยา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่นบ้านถ้ำมีค่าเท่ากับ 80.26/84.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มลทิชา เกตุมณี (2557) ได้ศึกษาการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ จากนิตยสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหนองเสือ จังหวัดราชบุรี พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจจากนิตยสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.60/82.42 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจจากนิตยสารภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ มาก
พิรุฬคณา พิเชียรเสถียร (2553) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของการใช้เทคนิค KWL Plus ที่มีต่อการอ่าน จับใจความภาษาอังกฤษ พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของ นักเรียนที่ได้รับการอสนแบบ KWL Plus แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความคิดเห็นของ นักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง และ 3) นักเรียนมี พัฒนาการการเรียนรู้จากการได้รับการเรียนด้วยเทคนิค KWL Plus ด้านการอ่านอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ด้านการ เชื่อมโยงความคิดจากการอ่านด้วยการเขียนสรุปความอยู่ในระดับ ดีมาก
ศศิธร ชวาลไชย (2554 : 77) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ภาษาอังกฤษ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL Plus ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าแผนการจัดการ เรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบ KWL Plus ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.5792 แสดงว่า นักเรียนมี ความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 57.92
คาร์ และ โอเกิล (Carr and Ogle, 1987 : 626 631) ได้พัฒนาการสอนอ่านด้วยเทคนิค KWL Plus และทำการทดลองกับนักเรียนเกรด 9 ที่เรียนอ่านและอยู่ในคลินิกซ่อมเสริมจากการสังเกตแบบไม่เป็น ทางการและจากการพูดคุยกับนักเรียนปรากฏว่า นักเรียนสามารถถ่ายโอนทักษะการอ่านด้วยเทคนิค KWL Plus ไปสู่สถานการณ์อื่น ๆ ได้ และนักเรียนสามารถย่อความและมีความเข้าใจในการอ่านดีขึ้น ซึ่งสอดคล้อง กับ ควีออโช (Quiocho, 1997 : 450 454)ได้ศึกษากลวิธีการพัฒนาในการเรียนเกี่ยวกับความเข้าใจเนื้อหา ประเภทวิชาการของนักเรียนเกรด 6และ เกรด 8 โรงเรียนระดับกลางในประเทศสหรัฐอเมริกา 1 ห้องเรียน มี จำนวน 90 คน ผลปรากฏว่าการสอนอ่านด้วยเทคนิค KWL Plus สามารถพัฒนาความเข้าใจในการอ่านเรื่อง ของนักเรียนได้ดีขึ้น จากผลการทดลองและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้กล่าวอ้างข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า นักเรียนที่ได้รับ การสอนโดยใช้เทคนิคการสอน KWL Plus สามารถส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจได้เป็น อย่างดีจึงเหมาะสำหรับการจัดกิจกรรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษและสามารถแก้ปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยในครั้งนี้ผู้รายงานพบข้อสังเกตหลายอย่างและมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 การสร้างแบบทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจไปใช้กับนักเรียนควรคำนึง ระดับของภาษา และความเหมาะสมของเนื้อหากับวัยของผู้เรียน
1.2 การสอนโดยเทคนิค KWL Plus เป็นเทคนิคการสอนอ่านที่สามารถตรวจสอบระดับความเข้าใจ ในการอ่านของนักเรียนได้ ดังนั้นผู้ที่จะนำเทคนิคนี้ไปใช้ ควรศึกษาขั้นตอนและกระบวนการสอนให้เข้าใจอย่าง ถูกต้อง
2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ในการสอนคำศัพท์ยากประจำหน่วย ควรเพิ่มเทคนิคการสอนที่หลากหลายให้มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนเกิดการจดจำที่คงทน และควรใช้เวลาในการสอนให้มากขึ้น เช่น ใน 1 ชั่วโมงเรียน อาจจะสอนเพียงแค่คำศัพท์ยากเพียงอย่างเดียว แล้วค่อยเข้าสู่บทอ่านในชั่วโมงเรียนถัดไป
2.2 ในการแบ่งกลุ่มทำงาน ควรแบ่งเป็นกลุ่มไม่เกินกลุ่มละ 4 คน เนื่องจากผู้วิจัยสังเกต พบว่า การ ที่มีนักเรียนมากเกินไปใน 1 กลุ่ม ทำให้นักเรียนมีภาระ ความรับผิดชอบต่อกิจกรรมกลุ่มที่น้อย อาจส่งผลต่อ ความรู้ที่นักเรียนจะได้รับ
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เดือนฉาย จินดา. (2559). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ท้องถิ่นบ้านถ้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ปองภพ วิทิพย์รอด. (2552, 30 สิงหาคม). เด็กไทยอ่อนภาษาอังกฤษ ปัญหาอยู่ตรงไหน. มติชน รายวัน, น. 7. พิรุฬคณา พิเชียรเสถึยร. ประสิทธิภาพของการใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ที่มีต่อการอ่านเพื่อความ เข้าใจภาษาอังกฤษ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
มลทิชา เกตุมณี. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจจากนิตยสาร ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 2557.
ศศิธร ชวาลไชย. (2554). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ KWL Plus ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อำนวย สุนทรโชติ. (2554, 21 มีนาคม). อนาคตการศึกษาอยู่ในมือคุณ. มติชนรายวัน, น. 7.
Carr, E, and Ogle. (1987, April). K-W-L Plus : A Strategies for Comprehension and Summarization. Journal of Reading, 626 631.
Quiocho, A. (1997, March). The quest to comprehended expository text : Applied Research. Journal of Adolescent and Adult Literacy, 40(6), 450 454