บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน : การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัย
อาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวรักชนก ภูที
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย
วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่รายงาน : 2566
การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัย อาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ (1)เพื่อศึกษาสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย (2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัย อาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย(3)เพื่อประเมินผลรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียวิทยาลัย อาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายและ (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และสถานประกอบการที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัย อาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานได้แก่ (1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 (3) เอกสารเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ รูปแบบการจัดการบริหารแบบมีส่วนร่วมแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคายสังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย (4) ผู้บริหาร จำนวน 2 คน (5) ครูทีปฏิบัติหน้าที่การสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1-3 จำนวน 14 คน จากการเลือกแบบเจาะจง (6) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน จากการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling)
โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ไม่ใช่ผู้บริหารและครู (7) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1-3 จำนวน 93 คน (8) สถานประกอบการ จำนวน 5 คนจากการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling)กรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมด้วยวิธีการเชิงระบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การศึกษาศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัย อาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1,) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : R and D) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R1) เป็นการนำไปใช้ (Implement : 1) การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินและปรับปรุง (Evaluation : E) การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และสถานประกอบการที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียน แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัย อาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
1.1กระบวนการรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัย อาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ผลจากการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทำให้ได้มาซึ่งรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เรียกว่า "NKMVC Model" ประกอบด้วย ดังนี้
1.1.1 การสร้างเครือข่ายการศึกษา (Network: N) เป็นขั้นการร่วมคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ เกี่ยวกับ คุณภาพการจัดกิจกรรมและแนวทางในการบริหารเพื่อพัฒนาด้านทักษะอาชีพของนักเรียนประชุมเครือข่ายทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชน เครือข่ายอาชีวศึกษาจังหวัดหนองคายและจังหวัดใกล้เคียง อาทิ อาชีวศึกษาอุดรธานี และเครือข่ายเอกชน เช่น วิทยาลัยสันตพลสถานประกอบการเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการศึกษาด้านอาชีวศึกษาร่วมกัน
1.1.2 การส่งเสริมความรู้พัฒนาสื่อ (Knowledge: K) เป็นการร่วมตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมพัฒนาด้านทักษะอาชีพของนักเรียนส่งเสริมครูให้มีความรู้ พัฒนาสื่อ เทคนิคการสอน ให้มีความสามารถที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และพัฒนาทักษะวิชาชีพ โดยมีกระบวนการพัฒนาที่หลากหลาย ฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ เช่น การอบรม การศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ เป็นต้น
1.1.3 การบริหารจัดการ (Manangment: M) เป็นการร่วมตัดสินใจในการเลือกใช้แนวทางในการแก้ปัญหา และนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาด้านทักษะอาชีพของ นักเรียนให้หัวหน้าฝ่ายและคุณครูทุกคน ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ จนเกิดวัฒนธรรมทางเทคโนโลยีที่ทันกับโลกปัจจุบัน
1.1.4 การดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Vision: V) เป็นการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคายให้ บรรลุตามวัถุประสงค์ของวิสัยทัศน์คือมุ่งเน้นผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการ ชำนาญในวิชาชีพ มีจิตอาสา พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี มีทักษะชีวิตตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง
1.1.5 การตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุง (Cheking: C) เป็นการร่วมของกันของผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการ ต้องตรวจสอบว่า แผนดังกล่าวมีผลลัพธ์เป็นไปตามตัวชี้วัดที่ต้องการหรือไม่ แต่ถ้าไม่ประสบความสำเร็จ ก็ควรนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา แล้วดำเนินการใหม่ จนกว่าจะประสบความสำเร็จหรือผ่านตัวชี้วัดที่กำหนดไว้
การนำรูปแบบการบริหารแบบมีการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของ นักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เรียกว่า "NKMVC Model" ไปใช้ให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะต้องมีเงื่อนไขการนำไปใช้ 3 ประการ คือ (1) ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจในการบริหาร มีภาวะผู้นำที่เกื้อหนุนที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และ (2) ครูต้องมีส่วนร่วม และมุ่งมั่นจริงในการพัฒนาด้านทักษะอาชีพของนักเรียน มีความกระตือรือร้นในการคิดค้น แนวทางในการพัฒนานักเรียน และทักษะในการทำงานเป็นทีมร่วมกัน(3)ชุมชน ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาด้านทักษะอาชีพของนักเรียน
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคายสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคายจังหวัดหนองคาย พบว่า ทุกด้าน ทุกข้อโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ดี
3. ผลการประเมินตรวจสอบความสมเหตุ สมผล เชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของ รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พบว่า ผลการตรวจสอบความสมเหตุ สมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้และความสอดคล้องของร่าง รูปแบบการบริหารแบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัย อาชีวศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พบว่า ไม่มีประเด็นใด ที่ไม่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบและสามารถนำไปใช้จริงได้ มีการส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องความสนใจและความถนัดของนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและประสานความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง ชุมชนและสถานประกอบการ ในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของสุรินทร์ นำนาผล (2555 : 42-44) ซึ่งพบว่า ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนจะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทสบาลเมืองหนองคาย สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ได้มีการจัดโครงสร้างองค์กร ของข่ายงานและหน้าที่การบริหารงานที่ชัดเจน ดำเนินงานตามระบบบริหารของวงจรเดมมิ่ง (Deming cycle ) คือ การวางแผน(Planning) การจัดองค์กร(Organizing) การลงมือปฏิบัติ(Doing) การตรวจสอบ (Checking ) และการปรับปรุง(Acting)รวมทั้งกำหนดเป้าหมายและผลผลิตขั้นต่ำเป็นตามหลักการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา