ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการ ดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา สุภาพร บุญครอง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านด่าน
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียน ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านด่าน ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 9 ชุด 2) แผนจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 11 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.36 0.77 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21 0.74 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2
และค่า E.I. และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการหาค่า t แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.07/84.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 เท่ากับ 0.7559 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 75.59
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด