ชื่อโครงงาน การศึกษา Carbon กับความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างพื้นที่ป่าไม้และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย
สู่มิติ “น่านหนึ่งเดียว”
สถานศึกษา โรงเรียนตาลชุมพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
เลขที่ 105 ตำบลตาลชุม อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110
ชื่อผู้จัดทำ 1.นายพิสิษฐ์ ทิศคำ
2.นางสาวอรปรียา คำวัง
3.นางสาวธิดารัตน์ หมื่นคำเรือง
ครูที่ปรึกษาโครงงาน นายสมพงษ์ อุทธิยา และนางณัฐสุดา เรืองวุฒิปัญญา
บทคัดย่อ
จากการศึกษาค้นคว้า สำรวจข้อมูลการสะสมคาร์บอน และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในจังหวัดน่านย้อนหลัง เพื่อนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปริมาณป่าไม้ จุดความร้อนและการเกิดภาวะเรือนกระจกในจังหวัดน่าน สามารถสรุปผลได้ตรงตามจุดมุ่งหมายในการศึกษาดังนี้
1. ค่าการสะสมคาร์บอนไดออกไซน์ในต้นไม้ของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยประมาณ 2,775.386 kgCO2eq และเทียบเคียงต้นไม้ที่ศึกษาของโรงเรียนตาลชุมพิทยาคมทั้งหมด มีค่าประมาณ 9,014,861.541 kgCO2eq
2. ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยเทียบกับเวลาในเขตพื้นที่จังหวัดน่าน ย้อนหลัง 17 ปี มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันแบบเส้นตรง ซึ่งมีสมการพยากรณ์ คือ f(x) = (0.056)x + 38.853 จากสมการนี้พบว่า เป็นฟังก์ชันเพิ่ม แสดงว่ายิ่งเวลาเพิ่มขึ้นอุณหภูมิก็มีโอกาสสูงขึ้น
3. จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ของ Carbon กับความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างพื้นที่ป่าไม้และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย สู่มิติ “น่านหนึ่งเดียว” ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ
3.1 นำผลการวิเคราะห์เสนอเป็นโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
3.2 เป็นตัวแทนนำเสนอข้อมูลให้แก่กิจกรรมตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียนและโครงการรักษ์ป่าน่านของโรงเรียนตาลชุมพิทยาคม
3.3 ให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลแก่คณะครู เพื่อนนักเรียนในโอกาสต่างๆ เช่น คาบอบรมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ การปลูกป่าของสถานศึกษา เป็นต้น
3.4 ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากโครงงานให้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ในวาระการประชุมผู้ปกครองนักเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
3.5 ผลของโครงงานนั้น ตัวแทนนักเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของระดับภาคในการประกวดโครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
3.6 เป็นวิทยากรนักเรียนให้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ป่า ตามโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมสำหรับเด็กและเยาวนจังหวัดน่าน เพื่อ “น่านหนึ่งเดียว”ณ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาน่าน
3.7 จัดทำเอกสาร และแผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ผลงานนักเรียนลงบนเว็บไซต์ให้กับโรงเรียนตามชุมพิทยาคมในโอกาสต่างๆ และเผยแพร่ผ่านสำนักงานเว็บไซต์ครูบ้านนอกดอนคอม
3.8 เป็นตัวแทนของสถานศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “SHIFTing the Focus to Children Environmental Defenders in Asia : A Regional Webinar for Children. การเสวนาระดับภูมิภาคสำหรับความร่วมมือและกิจกรรมของเยาวชนเพื่อสิ่งแวดล้อม”
3.9 เป็นตัวแทนนักเรียนบรรยายข้อมูลในฐานเรียนรู้บูรณาการเกี่ยวกับระบบนิเวศป่าไม้เมืองน่าน ในโครงการรักการอ่านของสถานศึกษา
4. ผลการสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับการทำโครงงานความสัมพันธ์ระหว่าง Carbon กับความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างพื้นที่ป่าไม้และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย สู่มิติ “น่านหนึ่งเดียว” นั้น มีค่าเฉลี่ยภาพรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.81 โดยมีระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม นั่นหมายความว่าผู้ที่มีโอกาสตอบแบบสอบถามทุกคนมีความสนใจ และมีความพอใจที่สมาชิกทุกคนได้พยายามทำโครงงานนี้ขึ้น และเป็นการนำเสนอต่อหน้าผู้ปกครองอย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ และเกิดความยินดีที่คณะผู้จัดทำได้เกิดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการนำเสนอ ทักษะการใช้เทคโนโลยี และที่สำคัญคือทักษะการแก้ปัญหา ได้อย่างชัด ซึ่งผลของโครงงานนั้นก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงส่งผลให้ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมากนั่นเอง
โดยผลการทำโครงงานในครั้งนี้ได้นำมาใช้เป็นประโยชน์อย่างมากในการใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าไม้ในจังหวัดน่าน ในการช่วยกันสานต่อนโยบายและรณรงค์ในการพัฒนาระบบนิเวศของจังหวัดน่าน เพื่อใช้ประชาชนในจังหวัดน่านเกิดเกิดความตระหนักรักษาผืนป่าให้กับลูกหลานต่อไปในอนาคต จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของน่านหนึ่งเดียว นั่นเอง และยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการทำแบบฝึกหัด ทำแบบทดสอบ รวมถึงสามารถนำเทคนิควิธีการนี้ไปใช้สอนเสริมทักษะแก่เพื่อนๆ รุ่นน้องนักเรียนที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูล ได้เช่นกัน จนทำให้เกิดความตระหนักและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และสามารถนำไปบูรณาการข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้เพิ่มมากขึ้น