กระบวนการ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง PASSE MODEL
1. P: Planning การวางแผน คือ การวิเคราะห์สภาพและความต้องการในการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย การกำหนดวิธีการดำเนินการ และการกำหนดทรัพยากรในการวางแผนขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 การวิเคราะห์สภาพและความต้องการในการวางแผนขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์สภาพความต้องการ การจัดลำดับความสำคัญในการวางแผนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
1.2 การกำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ วิธีการ รูปแบบ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาสาระเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา
1.3 การกำหนดวิธีการดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การกำหนดวิธีการดำเนินการพัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะ และกำหนดวิธีดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง
1.4 การกำหนดทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดระบบโครงสร้าง มอบหมายผู้รับผิดชอบ งบประมาณ และการสนับสนุนทรัพยากรตามความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. A: Activity กิจกรรมในการขับเคลื่อน คือ กิจกรรมในการพัฒนานักเรียน กิจกรรมในการพัฒนาครู กิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาและต่อยอดความรู้ กิจกรรมการยกย่องเชิดชู ดังนี้
2.1 กิจกรรมในการพัฒนานักเรียน เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนานักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชา การจัดโครงการหรือกิจกรรมต่างๆตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 กิจกรรมในการพัฒนาครู เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนาครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.3 กิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาและต่อยอดความรู้ การส่งเสริมให้นักเรียนและครูเข้าร่วมการแข่งขันรายการต่างๆเพื่อพัฒนาและต่อยอดความรู้ของตนเอง
2.4 กิจกรรมการยกย่องเชิดชู เป็นการยกย่องเชิดชูนักเรียนและครูในการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การมอบรางวัล มอบเกียรติติบัตร มอบโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ
3. S: Supporting การสนับสนุน คือ การสนับสนุนในด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการจัดการ ดังนี้
3.1 การสนับสนุนด้านบุคลากร เป็นการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ สนับสนุนจำนวนบุคลากรที่เพียงพอต่อการดำเนินงาน พัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเอง
3.2 การสนับสนุนด้านงบประมาณ เป็นการสนับสนุนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานที่เพียงพอต่อการดำเนินงาน และสามารถใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้จ่ายด้วยความคุ้มค่าคุ้มทุน และเกิดประโยชน์สูงสุด
3.3 การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์หรือวัตถุดิบ เป็นการจัดหาวัสดุอุปกรณ์หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการดำเนินงานให้มีความพร้อม และมีความเหมาะสมกับการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนด
3.4 การสนับสนุนด้านการจัดการ เป็นการสนับสนุนการทำงานร่วมกันของบุคลากร และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว และเหมาะสมกับยุคปัจจุบันเพื่อให้สามารถดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีคุณภาพ
4. S: Supervision การกำกับดูแล คือ การกำหนดวิธีการ การกำกับดูแลการดำเนินงาน การให้คำแนะนำ และการกำกับดูแลควบคุมคุณภาพในการดำเนินงาน ดังนี้
4.1 การกำหนดวิธีการติดตามแผน เป็นการรวบรวมข้อมูล การดำเนินการติดตาม การรายงานผลการติดตาม และการให้ข้อมูลย้อนกลับ
4.2 การกำกับดูแลการดำเนินงาน เป็นการควบคุมการดำเนินงานเป็นระยะๆเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
4.3 การให้คำแนะนำ เป็นการให้ข้อเสนอแนะ ให้คำปรึกษา และช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรค์ต่างๆ
4.4 การควบคุมคุณภาพในการดำเนินงาน เป็นการควบคุมการดำเนินงานทุกขั้นตอนให้มีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
5. E: Evaluation การประเมินผล คือ การกำหนดตัวชี้วัด การสร้างเครื่องมือ การตัดสินผล และการนำผลการประเมินไปพัฒนาและปรับปรุง
5.1 การกำหนดตัวชี้วัดในการประเมิน เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลที่มีความชัดเจน การวิเคราะห์เป้าหมายของการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิด และการกำหนดเป้าหมายการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5.2 การสร้างเครื่องมือในการประเมิน เป็นการสร้างเครื่องมือที่สามารถวัดด้านความรู้ สามารถวัดด้านทักษะหรือกระบวนการ และด้านเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.3 การตัดสินผลการประเมิน เป็นการประเมินตัวชี้วัด และการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ได้ดำเนินการ
5.4 การนำผลการประเมินไปพัฒนาและปรับปรุง เป็นการนำผลการประเมินไปพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมในทุกด้านอย่างมีคุณภาพ