ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา IAKSMA Model เพื่อส่งเสริม
ทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางจาริณี ไพเมือง
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา IAKSMA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบ
การเรียนการสอนสังคมศึกษา IAKSMA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 4) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่
3 เศรษฐศาสตร์ 5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา IAKSMA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโรงเรียนบ้านสาคูมิตรภาพที่ 195 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน และครูผู้สอนสังคมศึกษาระดับประถมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ครูและนักเรียน 2) แผนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา IAKSMA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา IAKSMA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่3 เศรษฐศาสตร์ Orientation and data collection ; Analysis ; Construction ; Eealuation Model (IAKSMA Model) มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน คือ1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction to the lesson : I) 2) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analytical thinking stage : A) 3) ขั้นสร้างความรู้ (Knowledge creation step : K) 4) ขั้นสรุป (Summary steps : S) 5) ขั้นวัดผลและประเมินผล (Measurement and evaluation steps : M) 6) ขั้นมุ่งสู่การนำไปใช้และเผยแพร่สู่ชุมชน (Aimed for use and dissemination to the community : A)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.83/89.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา IAKSMA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 88.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา IAKSMA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก
นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานโดยใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง ส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและร่วมสร้างสรรค์สังคมได้
คำสำคัญ รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา IAKSMA Model เพื่อส่งเสริมทักษะ
การคิดวิเคราะห์