บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านคลองประทุน” ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method Research) ที่ออกแบบเป็นแบบวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Methods)
มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารวิชาการของโรงเรียนบ้านคลองประทุน ในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนบ้านคลองประทุน ในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 3) ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านคลองประทุนเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 4) ประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านคลองประทุนในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ดำเนินการวิจัย 2 วงรอบ คือวงรอบที่ 1 (R1D1) มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 วงรอบที่ 2 (R2D2) มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และระยะ
ที่ 4 การประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านคลองประทุน ในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ประกอบด้วย
กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียน ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนาหลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การวัดและประเมินผล และ4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล
สภาพที่พึ่งประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น โดยภาพรวมพบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีค่า
ดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จุดแข็ง และจุดอ่อนของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล เป็นจุดอ่อน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นจุดแข็งของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
2. ผลการพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนบ้านคลองประทุน ในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 พบว่า
กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยะภาพทางดิจิทัลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 9 กลยุทธ์รอง และ 53 วิธีดำเนินการ ความสำเร็จของกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ซึ่งประเมินตามตัวชี้วัดกลยุทธ์ ตามกรอบกลยุทธ์การบริหารวิชาการ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ ในภาพรวมส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม
3. ผลการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านคลองประทุนเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีผลการวิจัย 5 ประเด็น ดังนี้
3.1 ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้กลยุทธ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลก่อนและหลัง
การดำเนินการตามกลยุทธ์ พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการเรียนเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ผลการประเมินพฤติกรรมและความมีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล หลังการดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 85.60 และระดับดี ร้อยละ 14.40
3.4 ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลหลัง
การดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารวิชาการ อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 48.57 ระดับดี ร้อยละ
48.57 และระดับพอใช้ ร้อยละ 2.86
3.5 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล หลัง
การดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารวิชาการ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาความพึงพอใจ
ในแต่ละกลยุทธ์ของนักเรียน พบว่า กลยุทธ์ที่ 3 พลิกฟื้นการวัดและประเมินผลเพื่อเสริมสร้าง
อัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านคลองประทุน เพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีผลการวิจัย 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 ผลการวัดความสำเร็จของการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยะภาพทางดิจิทัล โดยประเมินตามตัวชี้วัดกลยุทธ์ ตามกรอบกลยุทธ์การบริหารวิชาการ พบว่าเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ผู้เรียนมีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล มีเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลในด้านอัจฉริยภาพทางดิจิทัลและมีสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถสร้างเสริมสร้างพฤติกรรมและแนวคิดทางด้านดิจิทัล
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการตามกลยุทธ์
การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล พบว่า ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตาม
กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลมีความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด โดยมีกลยุทธ์ที่ 3 พลิกฟื้นการวัดและประเมินผลเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล
ของนักเรียน เป็นลำดับที่ 1 กลยุทธ์ที่ 2 ปรับกระบวนทัศน์การจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียน กลยุทธ์ที่ 4 ขับเคลื่อนการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี
เพื่อการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และกลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับหลักสูตร สถานศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับ
4.3 การประเมินอัจฉริยภาพทางดิจิทัลเมื่อผ่านไป 1 เดือน พบว่า พฤติกรรมและแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนหลังการดำเนินการตามกลยุทธ์ อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 100 แยกเป็นอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 87.80 และระดับดี ร้อยละ 14.4 ส่วนทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัล พบว่า อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีมาก แยกเป็นอยู่
ในระดับดีมาก ร้อยละ 74.29 และระดับดี ร้อยละ 21.05
4.4 ประโยชน์ที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลแยกตามกลุ่มดังนี้
กลุ่มผู้เรียนพบว่าผู้เรียนรู้และเข้าใจอันตรายและผลกระทบด้านสุขภาพอันเกิดจากการใช้
เทคโนโลยีดิจิตอลไม่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญและการจัดสรรการใช้เวลากับการใช้สื่อดิจิทัล
ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาดในการสื่อสารและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมสามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะการใช้สื่อดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
มีพัฒนาการทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
กลุ่มครูผู้สอนพบว่าครูผู้สอนมีความรู้มีความมั่นใจและเกิดทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องมีโครงการตามกลยุทธ์การบริหารวิชาการที่เสริมสร้างให้นักเรียนมีอัจฉริยภาพทางดิจิตอลมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโซเชียลจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรงเรียนบ้านคลองประทุนมีหลักสูตรและคู่มือการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล เกิดประโยชน์ที่ทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาครู สามารถพัฒนานักเรียนให้มีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล เกิดการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารในระบบงานต่าง ๆ ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมถึงการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้องและรวดเร็วทำให้ผู้ปกครองชุมชนและหน่วยงานในท้องถิ่นให้การยอมรับภาพการทำงานที่ทันสมัย
ชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพ
ทางดิจิทัล โดยชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เนื่องจากชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากลยุทธ์ รับรู้และรับผิดชอบร่วมกับผู้วิจัย ครู และกรรมการดำเนินงานจึงเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของกลยุทธ์เกิดการขับเคลื่อนร่วมกันในโรงเรียน
คำสำคัญ การพัฒนา กลยุทธ์ การบริหารวิชาการ อัจฉริยภาพทางดิจิทัล