รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อวิจัย การศึกษาค้นคว้าพัฒนาด้านการอ่านวิชาภาษาไทยในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/6 ของนักเรียนโรงเรียนหนองไผ่
research and Study Thai language reading at grade level Grade 9 Students of nongphai school
ชื่อผู้วิจัย นายธนกฤต ปทุมมาศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
วิชาที่เลือกทำวิจัยภาษาไทย รหัสวิชา ท23101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาการอ่านเรื่องจากหนังสือวิชาภาษาไทย โดยการใช้ กิจกรรมการอ่านเรื่อง และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 15 คน โรงเรียนหนองไผ่ โดยให้นักเรียนอ่านเรื่องที่ครูกำหนดให้ หลังจากนั้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน จากนั้นวิเคราะห์ผลคะแนนโดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยและร้อยละพร้อมทั้งให้นักเรียนทำแบบประเมินหนังสือ
ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาและวิเคราะห์การประเมินความคิดเห็นแสดงให้เห็นว่า โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยระดับคะแนนเฉลี่ย x ได้ 4.20 และผลการหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านหลังจากนักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดท้ายบทโดยคิดเฉลี่ยเป็นร้อยละ 84.67 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 64.23
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเรียนการสอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ประการหนึ่งคือ มุ่งปลูกฝังให้นักเรียนได้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน การปลูกฝังให้นักเรียนรักการอ่านจึงมีความจำเป็นหนังสือหรือห้องสมุดจึงเป็นครูคนที่สองของนักเรียนครูจึงจำเป็นต้องจักหาแหล่งค้นคว้าหาความรู้ให้นักเรียนแทนการเป็นผู้บอกเป็นผู้พูดหรือจักทำกิจกรรมต่างๆเสียเอง การส่งเสริมการเรียนให้แก่นักเรียนจึงมีความจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา
ผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนกลุ่มวิชาภาษาไทย พบว่านักเรียนขาดทักษะในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง หนังสือสำหรับการอ่านและค้นคว้าบางเนื้อหามีไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน นักเรียนบางส่วนยังมีสมรรถภาพในการอ่านไม่ดีพอ นักเรียนบางส่วนยังไม่มีนิสัยรักการอ่าน เมื่อรู้สภาพปัญหาแล้ว ก็นำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางเสริมการอ่านพอจะสรุปได้ว่าหนังสือส่งเสริมการอ่าน หมายถึงหนังสือที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เป็นไปในทางส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่านและมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย
1.2.1 นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้การอ่านหนังสือวิชาภาษาไทยได้ด้วยตนเอง
1.2.2 อ่านแล้วเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของภาษาไทย
1.2.3 ช่วยเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน
1.2.4 ช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ตามหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น
1.3 สมมติฐานของการวิจัย
การวิจัยเรื่องการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาพัฒนาการอ่านเรื่องจากหนังสือวิชาภาษาไทยโดยการใช้ กิจกรรมการอ่านเรื่อง และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับเนื้อเรื่องกำหนดสมมติฐานดังนี้
1.3.1 นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้การอ่านหนังสือวิชาภาษาไทยแตกต่างกัน
1.3.2 นักเรียนอ่านหนังสือแล้วเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินของภาษาไทยแตกต่างกัน
1.4 ขอบเขตการศึกษา
1.4.1 สถานที่ในการศึกษา โรงเรียน หนองไผ่
1.4.2 ระยะเวลาในการศึกษา 1 มิถุนายน 2566 1 กันยายน 2566
1.5 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
แบทเลอร์และเคลย์กล่าวว่า การอ่านคือการถ่ายทอดความหมายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยอาศัยภาษาเป็นสื่อ โดยผู้เขียนถ่ายทอดความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจตามความคิดและเจตนาของผู้เขียน ซึ่งการอ่านนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้เช่นเดียวกับการพูด การออกเสียงเป็นคำๆ หรือหลายคำ ซึ่งรวมกันเข้าเป็นประโยคที่มีความหมายเมื่อเราอ่านนั้น มิได้จำกัดแต่การอ่านเพียงอย่างเดียว แต่การพูดเป็นรากฐานของการอ่าน ก็เริ่มด้วยวิธีนี้เช่นกัน ( นิตยา ประพฤติกิจ.2564.2 )
ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์ ( 2565.2 ) กล่าวว่า การอ่านเป็นการแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และนำความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์ ตัวอักษรเป็นเครื่องหมายแทนคำพูด เพราะฉะนั้นหัวใจของการอ่านจึงอยู่ที่การเข้าใจความหมายของคำ
สรุปได้ว่า การอ่านคือ การรับการถ่ายทอดความหมายจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งโดยใช้ ตัวอักษรเป็นสื่อความคิดและเจตนาของผู้เขียน หรือการทำความเข้าใจกับสัญลักษณ์ที่ผู้เขียนต้องการ
1.6 ประโยชน์และคุณค่าของการวิจัย
1.นักเรียนมีการพัฒนาด้านการอ่านหนังสือส่งเสริมประสบการณ์วิชาภาษาไทย ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านหนังสือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6
2.ได้แนวทางในการฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบกระตือรือร้นและมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของการอ่าน ปัจจุบันได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการอ่านอย่างกว้างขวางมากและมีการกล่าวถึงความหมายของการอ่านในลักษณะต่างๆดังนี้ โดยทางแบทเลอร์และเคลย์ได้กล่าวว่าการอ่านคือการถ่ายทอดความหมายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยอาศัยภาษาเป็นสื่อ โดยผู้เขียนถ่ายทอดความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจตามความคิดและเจตนาของผู้เขียน ซึ่งการอ่านนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้เช่นเดียวกับการพูด การออกเสียงเป็นคำๆ หรือหลายคำ ซึ่งรวมกันเข้าเป็นประโยคที่มีความหมายเมื่อเราอ่านนั้น มิได้จำกัดแต่การอ่านเพียงอย่างเดียว แต่การพูดเป็นรากฐานของการอ่าน ก็เริ่มด้วยวิธีนี้เช่นกัน
( นิตยา ประพฤติกิจ.2562.2 )
ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์ ( 2564.2 ) กล่าวว่า การอ่านเป็นการแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และนำความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์ ตัวอักษรเป็นเครื่องหมายแทนคำพูด เพราะฉะนั้นหัวใจของการอ่านจึงอยู่ที่การเข้าใจความหมายของคำ
สรุปได้ว่า การอ่านคือ การรับการถ่ายทอดความหมายจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งโดยใช้ ตัวอักษรเป็นสื่อความคิดและเจตนาของผู้เขียน หรือการทำความเข้าใจกับสัญลักษณ์ที่ผู้เขียนต้องการ
ความหมายของภาษาพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน(2561:616)ระบุไว้ว่า ภาษา หมายถึง เสียงหรือกิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ พระยาอนุมารราชธน (2510:10) อธิบายว่า ภาษากล่าวอย่างกว้างคือ วิธีทำความเข้าใจระหว่างคนกับคน วิธีการทำความเข้าใจย่อมทำได้หลายวิธีแล้วแต่ความสามารถทำความเข้าใจกันและกันได้ จะเห็นว่าตามทัศนะของพระยาอนุมารราชธนนั้น ถือว่าทุกสิ่งที่สามารถทำความเข้าใจกันได้ ล้วนแต่เป็นภาษาทั้งสิ้น เช่น การอธิบายด้วยถ้อยคำ การสาธิตด้วยภาพ การพยักหน้า สั่นศีรษะ ฯลฯ ประพจน์ อัศววิรุฬหการ (2560:77) กล่าวถึงภาษาไว้ว่า เป็นความสามารถในการสื่อสารที่มีอยู่ในสมองหรือในจิตใจของมนุษย์ ในส่วนที่แสดงออกมาเป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ก็คือ คำพูด เป็นภาษาที่สัมผัสได้โดยใช้โสตประสาท หรืออาจเป็นเครื่องหมายต่างๆที่สัมผัสได้โดยจักษุประสาท หรือ อาจจะเป็นเครื่องหมายที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส เช่น ภาษาของคนตาบอด
สรุปได้ว่า ภาษาหมายถึง การสื่อความหมายของคนโดยใช้เสียงหรือสัญลักษณ์ตลอดจนกิริยาท่าทางที่เกิดจากสมองหรือจิตใจของมนุษย์ทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันภาษาเป็นระบบการสื่อสารที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์กลุ่มชนที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นสังคมย่อมมีภาษาใช้ในการติดต่อบอกความประสงค์ ความรู้สึกนึกคิด ถ่ายทอดประสบการณ์ และความรู่แก่กัน ( พิรุธ -โสภวงค์.2564:93 )
นักทฤษฎีพัฒนาการได้ศึกษาความสำคัญของภาษาที่ว่า เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมและสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ดวงเดือน ศาสตรภัทร ( 2560:214 ) ได้กล่าวว่าภาษามีความสำคัญอยู่ 3 ประการ
ความสำคัญและประโยชน์ของการอ่านการอ่านเป็นการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้เกิดทักษะต่างๆตลอดจนความก้าวหน้าทางวิชาชีพเกิดความคิดสร้างสรรค์ความเพลิดเพลินรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ทำให้มนุษย์ทันต่อเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆของโลก สามารถแก้ปัญหาทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และปัญหาส่วนตัวได้ ( กานต์มณี ศักดิ์เจริญ.2562:332 ) การอ่านเป็นทักษะที่ต้องฝึกเช่นเดียวกับทักษะอื่นๆเด็กมีทักษะในการอ่านไวมีสมาธิในการอ่านต่อเนื่องจับประเด็นความได้ชัดเจนมีอารมณ์และจินตนาการร่วมอยู่ด้วยทำให้เกิดความชำนาญในการรับรู้ทางด้านการคิดเป็นการสรุปการตอบโต้ทำให้เกิดความคิดเป็นระบบและการรับรู้เป็นระบบการแสดงออกและการสื่อสารต่อผู้อื่นต่อโลกภายนอกก็ชัดเจนเป็นระบบซึ่งอนุภาพของการอ่านหนังสือจะนำเด็กไปสู่เส้นทางของการเป็นคนฉลาด
ปัจจัยส่งเสริมการอ่าน
สมิธและจอห์นสัน ได้อธิบายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีต่อการส่งเสริมและพัฒนาการด้านการอ่านของนักเรียนไว้ต่อดังนี้ ระดับสติปัญญา การอ่านเป็นงานประเภทหนึ่งที่เด็กต้องพัฒนาให้เกิดความสำเร็จ การพัฒนาด้านการอ่านนี้ พบว่า เด็กบางคนทำได้ดีกว่าเด็กบางคนทั้งนี้เนื่องจากสติปัญญานั่นเอง ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและความพร้อม การเริ่มต้นสอนอ่าน ต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสารมารถของเด็กควบคู่ไปด้วย เพราะการอ่านต้องใช้ทักษะต่างๆที่เป็นทักษะย่อยประกอบกัน
บันลือ พฤกษะวัน ( 2564:134-135 ) ได้กล่าวว่า ความรับผิดชอบในหน้าที่ของครูเกี่ยวกับการสอนการอ่านนั้นหาสิ้นสุดลงที่การสอนให้นักเรียนอ่านหนังสือได้เท่านั้น หน้าที่อีกส่วนหนึ่งก็คือ การส่งเสริมให้เด็กอ่านหนังสือตามลังได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะทางภาษา ความสนใจ นิสัยรักการอ่าน ครูมีวิธีการส่งเสริมการอ่านของเด็ก การจัดสภาพแวดล้อมในการอ่าน ให้มีหนังสือดีๆ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดสำหรับการอ่าน ครูและเด็ก ควรแสดงหนังสือต่างๆที่จะให้เด็กทราบและสนใจติดตามว่าหนังสือดี หนังสือใหม่ที่น่าสนใจสำหรับเด็ก
การจัดมุมหนังสือสำหรับเด็ก มุมหนังสือควรมีความสว่างเพียงพอและเป็นส่วนตัว ควรอยู่ห่างจากมุมที่มีการเคลื่อนไหวมากๆ จัดให้มีการเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ โต๊ะหรือชั้นวางหนังสือ เก้าอี้สำหรับเด็ก พรม หรือ เบาะรองนั่ง ป้ายนิทรรศการที่เกี่ยวกับหนังสือหรือภาพที่ต้องการแนะนำให้เด็กรู้จัก
ครอบครัวที่มีบุตรน้อยมักได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างดีกว่าครอบครัวที่มีบุตรมาก การที่ตอบสนองความต้องการของเด็กแต่ละคนอาจจะไม่ทัดเทียมกันหรือไม่เพียงพอเท่าทีควร การปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อหนังสืออาจมีโอกาสน้อยลงด้วย เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาแนะนำหนังสือหรือจัดหาหนังสือดีๆมาให้ลูกอ่านได้เพราะมัวทำมาหากิน หรือจัดหามาได้แล้วต้องมีการแบ่งปันกัน รับช่วงกันในระหว่างลูกทำให้เด็กมีโอกาสจับต้องหรือเป็นเจ้าของน้อยลง ความสัมพันธ์ในครอบครัวก็มีส่วนสนับสนุนเจตคติที่ดีต่อหนังสือได้ กล่าวคือ ถ้าครอบครัวมีความสัมพันธ์ ความรัก ความเข้าใจ ความโอบอ้อมอารี ตลอดจนรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง เด็กในครอบครัวก็จะได้รับความอบอุ่น กำลังใจ รู้จักการแบ่งเวลา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ง่ายต่อการพัฒนาปลูกฝังเจตคติที่ดีงามในเรื่องต่างๆ เช่น การพูด การปรับตัว การอ่าน การเลือกหาหนังสือ การเก็บรักษา
ตลอดจนการแก้ปัญหา และช่วยพัฒนาการอ่าน เศรษฐกิจของครอบครัว มีส่วนเกี่ยวข้องกับเจตคติของเด็กต่อหนังสืออย่างเห็นได้ชัดกล่าวคือครอบครัวที่มีฐานะดีพอจะจัดหาหนังสือที่มีคุณค่าให้เด็กได้อ่านมากกว่าครอบครัวที่ขัดสน เจตคติ ค่านิยม และจุดมุ่งหมายของครอบครัวมีส่วนเสริมสร้างเจตคติของเด็กต่อหนังสือกล่าวคือ ถ้าครอบครัวใดมีเจตคติและค่านิยมที่ดีต่อหนังสือก็มักพยายามหาวิธีปลูกฝังเจตคติดังกล่าวให้แก่เด็กไม่ว่าเป็นการจัดหาหนังสือ แนะนำให้อ่าน แก้ไขข้อบกพร่องในการอ่าน
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากร / กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 ในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน โรงเรียนหนองไผ่
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.2.1 หนังสือส่งเสรมการอ่านภาษาไทย
3.2.2 แบบประเมินหนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง ภาษาไทยสำหรับนักเรียน
3.3 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การจัดหาหนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง และวิธีการดำเนินศึกษาค้นคว้าการศึกษาค้นคว้านี้เป็นการจัดหาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 ได้แบ่งวิธีดำเนินการตามลำดับดังนี้
3.3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
3.3.3 วิธีการสร้างเครื่องมือ
3.3.4 การดำเนินการทดลอง
3.3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3.4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้จัดทำได้ดำเนินการสร้างแบบประเมินหนังสือส่งเสริมการอ่านดังนี้
3.4.1 ศึกษาแบบประเมินหนังสือส่งเสริมการอ่าน
3.4.2 การสร้างแบบประเมินหนังสือส่งเสริมการอ่าน
3.4.3 การสร้างแบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านในการสร้างแบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนต่อการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ผู้จัดทำได้ลำดับการสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้
3.4.3.1 ศึกษาแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนของ Likert
3.4.3.2 การสร้างแบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมารค่าตามวิธีการของ Likert ซึ่งมี 5 ระดับ คือ เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสม ปานกลาง เหมาะสมน้อย เหมาะสมน้อยที่สุด
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย
ผู้จัดทำได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้
4.1 หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่หาค่าเฉลี่ย x ของคะแนนที่ได้จากการตรวจแบบฝึกหัด
4.2 วิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียน
การเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลในการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 ของโรงเรียนหนองไผ่
ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดหาหนังสือส่งเสริมการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6
ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดหาหนังสือส่งเสริมการอ่าน สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 ด้านเนื้อหา การดำเนินเรื่อง (ดังตาราง 1)
ผลการหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6
โรงเรียนหนองไผ่
การหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/6 โรงเรียนหนองไผ่ ขั้นที่ 1 (ดังตาราง 2)
4.3 การหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6
โรงเรียนหนองไผ่ ขั้นที่ 2 (ดังตาราง 3)
6. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
6.1 ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดหาหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนหนองไผ่
ตาราง 1 ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดหาหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนหนองไผ่
โดยรวมอยู่ในระดับดี (X = 4.20) โดยทำการประเมินในเรื่อง ขนาด รูปเล่ม ตัวอักษรเหมาะสม สะดวกต่อการนำไปใช้ อยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x = 4.5) รูปภาพเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง อยู่ในระดับเหมาะสมมาก(x = 4.7) เนื้อเรื่องสนุกชวนคิดตาม อยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x = 4) เนื้อหาไม่ยากและไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย อยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x = 4.9)
ช่วยให้เกิดความกระตือรือร้น และรักการอ่านมากขึ้น อยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x = 3.9)
นักเรียนได้รับประโยชน์จากเรื่องที่อ่าน อยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x = 4.8)
นักเรียนสนุกสนานเพลิดเพลินกับเรื่องที่อ่าน อยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x = 3.5)
นักเรียนอ่านแล้วจับใจความไม่ได้ อยู่ในระดับเหมาะสมน้อย (x = 3.8)
เล่าเรื่องที่อ่านได้อย่างมั่นใจ อยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง (x = 3.3)
นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้กับตนเอง (x = 4.2)
2. ผลการหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6
ขั้นที่ 1 ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน เพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่องของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ในด้านต่างๆโดยการสังเกตและสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 15 คน หลังจากให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ข้อบกพร่องและข้อคิดเห็นในการวาดรูปให้สวยงามเรื่องอ่านเข้าใจง่ายดี
ตารางที่ 2 ข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไข ในการหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3/6 ขั้นที่ 1 โรงเรียนหนองไผ่
ข้อบกพร่องและความคิดเห็น แนวทางการแก้ไข
1. รูปภาพประกอบน้อย 1. จัดให้มีรูปภาพประกอบที่น่าสนใจ
2. คำบางคำความหมายซับซ้อน 2. สอดแทรกการแปลความหมายในคำยาก
3. เนื้อเรื่องไม่น่าสนใจ 3. ให้มีเนื้อเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้น
บทที่5 สรุปผล การอภิปราย และข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาและวิเคราะห์การประเมินความคิดเห็นในการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนหนองไผ่ แสดงให้เห็นว่า โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยระดับคะแนนเฉลี่ย (x) ได้ 4.20 และผลการหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน หลังจากนักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดท้ายบท โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 84.67 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 64.23
5.2 อภิปรายผล
จาการศึกษาพบว่าหนังสือส่งเสริมการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 ที่ผู้จัดทำได้ทำขึ้นนี้ สามารถช่วยพัฒนาการอ่านและช่วยเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน นักเรียนได้รับประโยชน์ สนุกสนานเพลิดเพลิน อ่านจับใจความได้ และเล่าเรื่องที่อ่านได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งยังนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้กับตัวนักเรียน โดยดูไดจากผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดหาหนังสือส่งเสริมการอ่าน และมีการวิเคราะห์ผลการทำแบบฝึกหัดท้ายบท พบว่าโดยรวมนักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัดได้โดยมีคะแนนเฉลี่ย 64.23คะแนน จาก คะแนนเต็ม 70 คะแนน
จะเห็นได้ว่าจากการที่นักเรียนได้มีโอกาสอ่านเรื่อง ช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาการอ่านและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ในการจัดหาหนังสือส่งเสริมการอ่านอาจจะใช้เนื้อหาหลายเรื่องที่มากกว่าเรื่องเดียวโดยอาจจะหาเรื่องอื่นๆมาเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยให้ได้ผลดีที่สุด
5.3.2 ในการวิจัยครั้งต่อไปอาจลดปริมาณของกลุ่มตัวอย่างลง อาจเจาะจงทำการวิจัยกลุ่มนักเรียนที่ขาดทักษะในการอ่าน เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป
บรรณานุกรม
ณรงค์ มั่นเศรษฐวิทย์. ภาษากับการพัฒนาความคิด.กทม.สนพ.โอเดียนสโตร์,2564
ทิศนา แขมมณีและคณะ.วิทยาการด้านการคิด.กทม.บริษัทเดอมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเม้นท์จำกัด,2564
เนชั่น กรุ๊ป.คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์กทม.,มูลนิธิปูนซีเมนต์ไทยจำกัด(มหาชน) มปพ.
วิชัย วงษ์ใหญ่.พลังการเรียนรู้:ในกระบวนการทัศน์ใหม่.นนทบุรี: SR printing limited Partnership,2562
ล้วน สายยศและอังคนา สายยศ.หลักการวิจัยทางการศึกษา.กทม; ศึกษาพร.2562