เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อผู้วิจัย นายชัชวาลย์ อินทุสมิต
ชั้น ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นชั้นปีที่ 2/8
ชื่อเรื่อง การพัฒนาการเรียนวิชาศิลปะภาพทิวทัศน์ ใต้ท้องทะเลมัธยมศึกษา
ตอนต้นชั้นปีที่ 2
สภาพปัญหา
จากการตรวจผลงานภาคปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมต้น พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 19 คน จากจำนวนเต็ม 43 คน เขียนภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเลมีข้อบกพร่องด้านการใช้สี แสงเงายังผิดอยู่มาก เช่น ปะการัง โขดหินในท้องทะเล พืชที่เกิดในน้ำใต้ท้องทะเล ยังขาดความสมดุล ค่าของสี โทนของสี และชนิดของปลาในใต้ท้องทะเล ยังใช้สีไม่ใกล้กับความเป็นจริง ผู้วิจัยจึงคิดหาวิธีการแก้ไข ในการพัฒนานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 โดยใช้กิจกรรมความคิดสร้างสรรค์พัฒนานักเรียนให้ดียิ่งขึ้น
ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ไข
1. ครูสนทนากับนักเรียนกับกี่ยวกับการวาดภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเลเป็นรายบุคคล
2. ครูให้นักเรียนฝึกแรเงาและระบายสีภาพทิวทัศน์บ่อย ๆ
3. ครูให้นักเรียนหาภาพจากแหล่งเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด หรือภาพประกอบการเรียนสัตว์น้ำเค็ม
4. ครูหาภาพเหมือนจริง หรือวาดภาพให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่างประกอบการสอน
5. บันทึกการสังเกตนักเรียนขณะฝึกวาดภาพเป็นรายบุคคล
6. สรุปและประเมินผลงานภาคปฏิบัติของนักเรียน
จุดประสงค์การวิจัย
1. เพื่อส่งเสริมการวาดภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเล ได้ถูกต้องตามหลักองค์ประกอบศิลป์
2. เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีในการวาดภาพระบายสีในระดับขั้นสูงขึ้นไป
ระยะเวลา
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2561 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2562
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ตรวจผลงานภาคปฏิบัติของนักเรียนมัธยมต้นทั้งหมด
2. บันทึกนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านการวาดภาพระบายสี ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2/8 จำนวน 19 คน
3. วางแผนการจัดกิจกรรม
4. จัดเตรียมอุปกรณ์และสื่อในการจัดกิจกรรม
5. นักเรียนปฏิบัติเป็นรายบุคคล
6. สังเกตและประเมินผลงานภาคปฏิบัติของนักเรียน
7. ประเมินผลงานนักเรียนเป็นรายบุคคล
8. สรุปพัฒนาการของนักเรียนในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง
9. รวบรวมข้อมูลและสรุปผลการวิจัย
งานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง
การพัฒนาการเรียนวิชาศิลปะ ภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเลชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นชั้นปีที่ 2
ผู้วิจัย
นายชัชวาลย์ อินทุสมิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
โดยได้รับความเห็นชอบจาก
ประธานสาขา
( นายนิทสัน แก้วสระแสน )
อาจารย์ที่ปรึกษา
( นายชัชวาลย์ อินทุสมิต )
แบบฟอร์มรายงานการวิจัยชั้นเรียน ปีการศึกษา 2561
ชื่องานวิจัย การพัฒนาการเรียนวิชาศิลปะภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเล
ชื่อผู้วิจัย นายชัชวาลย์ อินทุสมิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
อาจารย์ที่ปรึกษา นายชัชวาลย์ อินทุสมิต
เค้าโครงการทำวิจัยในชั้นเรียน มี ไม่มี
ที่มาความสำคัญของการวิจัย มี ไม่มี
ออกแบบเก็บข้อมูล เสร็จ ไม่เสร็จ
เก็บข้อมูลเรียบร้อย เสร็จ ไม่เสร็จ
แปรผลและอภิปรายผล เสร็จ ไม่เสร็จ
สรุปเป็นรูปเล่ม เสร็จ ไม่เสร็จ
(นายชัชวาลย์ อินทุสมิต )
ผู้วิจัย
( นายชัชวาลย์ อินทุสมิต )
อาจารย์ที่ปรึกษา
ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนาการเรียนวิชาศิลปะภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเล ชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้นชั้นปีที่ 2
ความสำคัญและที่มา
ผู้วิจัยให้ผู้เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 1 ห้อง วาดภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเล จากการตรวจผลงานของผู้เรียน พบว่าผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 19 คนจากจำนวนเต็ม 43 คน วาดภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเล มีข้อบกพร่องด้านการใช้สี แสงเงา ยังผิดอยู่มาก เช่น ปะการัง โขดหินในท้องทะเล พืชที่เกิดในน้ำใต้ท้องทะเล ยังขาดความสมดุล ค่าของสี โทนของสี และชนิดของปลาในทะเล ยังใช้สีไม่ใกล้กับความเป็นจริง ผู้วิจัยจึงคิดหาวิธีการแก้ไขในการพัฒนาการวาดภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 19 คน โดยใช้กิจกรรมความคิดสร้างสรรค์พัฒนาผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
จุดประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อส่งเสริมการวาดภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเล และภาพทิวทัศน์
ทั่ว ๆ ไป ได้ถูกต้องตามหลักองค์ประกอบศิลป์
2. เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีในการวาดภาพระบายสีในระดับขั้นสูงขึ้นไป
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ตารางการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียน
2. ตัวแปรตาม พัฒนาทักษะการวาดภาพให้ดีขึ้น
กรอบแนวคิดในการวิจัย
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ พัฒนาทักษะการวาดภาพให้ดีขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 มีการพัฒนาการวาดภาพและการให้สีภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเลได้ดีขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2/8 ปีการศึกษา 2561 จำนวน19 คน
เนื้อหากิจกรรม - การสนทนากับผู้เรียน
- การฝึกปฏิบัติ
- การศึกษาหาความรู้จากแหล่งการเรียนต่าง ๆ
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาชั้น 2/8 โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2561 โดยมีวิธีการดำเนินการเพื่อการพัฒนาดังต่อไปนี้
ที่ วัน เดือน ปี ขั้นตอนดำเนินงาน หมายเหตุ
1. 8 ธ.ค. 2562 ผู้เรียนดูตัวอย่างภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเลผู้วิจัยอธิบายและเสนอแนะขั้นตอนในการวาดภาพและระบายสี
2. 5 ม.ค.2562 ผู้เรียนร่างภาพ ระบายสีส่วนประกอบของภาพสัตว์ใต้ท้องทะเล เช่น สาหร่ายทะเล
โขดหิน และ ปะการัง
3. 12 ม.ค. 2562 ผู้วิจัยแนะนำการแรเงา ค่าของสี รวมทั้งการระบายสีที่ถูกต้อง
4. 12 ม.ค. 2562 ผู้วิจัยแนะนำสถานที่ ที่จะไปดูสัตว์ใต้ท้องทะเล ในจังหวัดระยอง และจังหวัดใกล้เคียง
5. 2 -13 ก.พ. 62 ตรวจผลงานและบันทึกรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยให้เผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและเก็บรวบรวมข้อมูลนำผลมาเปรียบเทียบหาค่าร้อยละ
ประกาศคุณูปการ
รายงานการวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ขอขอบคุณ ท่านผู้อำนวยการ นายสนิท รีนับถือ ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน และขอขอบคุณ ครูนิทสัน แก้วสระแสน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ที่ให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ตลอดเวลาของการจัดทำงานวิจัยในครั้งนี้
นายชัชวาลย์ อินทุสมิต
ผู้วิจัย
โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิยาคม
ชื่องานวิจัย การพัฒนาการเรียนวิชาศิลปะภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเล ชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้นชั้นปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นายชัชวาลย์ อินทุสมิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยได้รับมอบหมายจากงานนโยบายและวางแผนให้จัดทำงานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัยได้จัดทำเรื่อง การพัฒนาการเรียนวิชาศิลปะภาพทิวทัศน์สัตว์ใต้ท้องทะเล ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเลือกผู้เรียน จำนวน 19 คน เพราะจากการตรวจผลของผู้เรียนห้องพบว่าผู้เรียนยังไม่เข้าใจวิธีการวาดภาพ การลากเส้น และการลงแสงสีของภาพ และองค์ประกอบศิลป์
จากการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยครั้งแรกของผู้เรียนเท่ากับ 5.84 คะแนนเฉลี่ยครั้งหลังของผู้เรียนเท่ากับ 11.89 ดังนั้นผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 11.89 5.84 = 6.05 แสดงให้เห็นว่า การให้ความรู้ ความใกล้ชิด ให้คำปรึกษา แนะนำในการทำงานของผู้เรียนแล้วเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกคะแนนในการทำงานของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง จะเห็นว่าผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงานและมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น
การทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ให้ความรู้ ความใกล้ชิด ให้คำปรึกษา แนะนำในการทำงานแล้วเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกคะแนนในการทำงานของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
จะเห็นว่าผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น
เปรียบเทียบคะแนนการวาดภาพระบายสีสัตว์ใต้ท้องทะเล ครั้งแรก
วันที่ 2 ธันวาคม 2562 และครั้งสุดท้าย วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562
คะแนนเต็ม 15 คะแนน
ที่ ผู้เรียน คะแนน
ครั้งแรก คะแนน
ครั้งสุดท้าย ความก้าวหน้า
1. ด.ช.กฤษดา ช้อยจินดา 6 12 + 6
2. ด.ช.กิตติศักดิ์ แซ่อึ้ง 6 13 + 7
3. ด.ช.ชิติพัทธ์ ดอกไม้ศรีจันทร์ 6 12 + 6
4. ด.ช.ธนากร ทิมหอม 6 12 + 6
5. ด.ช.นฤดล น้ำสุวรรณ 6 12 + 6
6. ด.ช.ปฐมพงษ์ จุ่นดีวงษ์ 8 13 + 5
7. ด.ช.ปรัชญา แพรกทอง 5 12 + 7
8. ด.ช.พงษ์พัฒน์ นาคโสมกุล 6 12 + 6
9. ด.ช.พีระพล จงสอน 6 12 + 6
10. ด.ช.ศิรภณ รื่นเริงกลิ่น 6 12 + 6
11. ด.ช.สหวัสส์ ศาสตร์เวช 8 13 + 5
12. ด.ช.สันติพร เรืองวอน 5 11 + 6
13. ด.ช.อนุรักษ์ เดชมาก 5 11 + 6
14. ด.ช.อภิเษก คำแก้ว 6 12 + 6
15. ด.ญ.ขนิษฐา อ่อนแก้ว 6 12 + 6
16. ด.ญ.ชลากร ปออ่อน 5 11 + 6
17. ด.ญ.วิรากานต์ โนนศิริ 5 11 + 6
18. ด.ญ.ศศิวรรณ สุทธาวรรณ 5 11 + 6
19. ด.ญ.สุภารัตน์ มีพงษ์เภา 5 12 + 7
รวม 111 226 + 115
ค่าเฉลี่ย 5.84 11.89 + 6.05
สรุปผล
จากตารางพบว่า คะแนนเฉลี่ยครั้งแรกของผู้เรียนเท่ากับ 5.84 คะแนนเฉลี่ยครั้งหลังของผู้เรียนเท่ากับ 11.89 ดังนั้นผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 11.89 5.84 = 6.05 แสดงให้เห็นว่า การให้ความรู้ ความใกล้ชิด ให้คำปรึกษา แนะนำในการทำงานของผู้เรียนแล้วเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกคะแนนในการทำงานของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง จะเห็นว่าผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงานและมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น