โรงเรียนบ้านแหลม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ขอรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านแหลม ตั้งอยู่เลขที่ 79/3 หมู่ที่ ๓ ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายภาคภูมิ ชมช่วยธานี เบอร์โทรศัพท์ 080-831229 จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 9 คน จำแนกเป็นข้าราชการครู 5 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูพี่เลี้ยงอนุบาล 1 คน วิทยากรอิสลามศึกษา 1 คน นักการภารโรง จำนวน 1 คน จำนวนนักเรียน รวม 73 คน จำแนก เป็นระดับปฐมวัย 21 คน ระดับประถมศึกษา 52 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
ผลการประเมินภาพรวมของสถานศึกษา
ระดับปฐมวัยอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนบ้านแหลมจัดโครงการ/กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กมีน้ำหนัก สวนสูงตามเกณฑมาตรฐาน เคลื่อนไหวรางกายคลองแคลว ทรงตัวไดดี ใชมือและตาประสานสัมพันธไดดี ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยสวนตน และปฏิบัติจนเปนนิสัย ปฏิบัติตนตามขอตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด และระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย มีความร่าเริง แจ่มใส สามารถแสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสมกับบางสถานการณ์ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ยอมรับและพอใจ ในความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี เคารพสิทธิ รู้หน้าที่รับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก มีเมตตา กรุณา มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน วินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง ส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับการประนีประนอมแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดรวบยอด มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ เช่น งานศิลปะ การเคลื่อนไหวท่าทาง การเล่นอิสระ ใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก อุปกรณ์ดิจิตอล ต่างๆ เป็นต้น เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้
ผลการพัฒนา
ในการดำเนินการด้านคุณภาพผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนมีความสามารถ ในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา มีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีความสามารถสร้างนวัตกรรมตามระดับชั้น สามารถเลือกใช้สื่อเทคโนโลยี ใน การค้นคว้าหาความรู้ มีทักษะสืบค้นข้อมูลต่างๆ นำมาสรุปความคิด โดยผ่านการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ รู้จักวางแผน และทำงานร่วมกับผู้อื่น การกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆและบุคคลต่างๆ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักศาสนา เข้าร่วมกิจกรรม จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน รู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด รู้จักป้องกันตนเองจากสารเสพติด รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย ส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง ยอมรับกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษาและของสังคม สามารถยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลาย และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมของสังคม
จุดเด่น
1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
2. ผู้เรียนมีผลการประเมินการทดสอบระดับชาติที่เพิ่มขึ้น
3. ผู้เรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
4. มีแหล่งเรียนรู้ภายในที่เหมาะสม มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย
จุดที่ควรพัฒนา
1. การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. ผลการประเมินระดับชาติให้สูงขึ้น
3. กิจกรรมที่ส่งเสริมด้านการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ คิดคำนวณ การสื่อสาร
ให้มากขึ้น
4. พัฒนาความสามารถด้านภาษาต่างประเทศให้สามารถสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ให้มากยิ่งขึ้น
แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
1. ควรจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21
2. ส่งเสริมครูในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดขั้นสูง
3. ส่งเสริมนักเรียนในการสร้างนวัตกรรมที่สร้างสรรค์
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
1.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
มีผลการประเมินภาพรวมของสถานศึกษา
อยู่ในระดับดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านคุณภาพผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตร มีการประชุมจัดทำ แผนปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย มีกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้าน รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา คุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนบ้านแหลมมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษาที่ชัดเจน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ดำเนินงานพัฒนา วิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาครูและ บุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัด การเรียนรู้ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวน การคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่ง เรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก การตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็น ระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและ ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผลการพัฒนา
โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้ นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ จากการประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ผลการอ่านออกเขียนได้อยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 75.00 สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนนักเรียนมีคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ 100 มีผลการอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนผ่านเกณฑ์ที่ สถานศึกษากำหนด ร้อยละ 80.00 ทางโรงเรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่ สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนบ้านแหลม มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียน นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการ ของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีแผนพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูและ บุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความ ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อม ทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและ ภายนอกห้องเรียนสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัด การเรียนรู้และมีความปลอดภัย และมีการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ สภาพของสถานศึกษา ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนจัดการเรียนรู้ผ่าน กระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีแผน การจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้รวมทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีการบริหารจัดการ ชั้นเรียนเชิงบวกเด็กรักที่จะเรียนรู้ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข จุดเด่น ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ครูรู้จักผู้เรียน เป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้ มาปรับปรุง ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับ หน่วยการเรียนรู้ ครูมีการจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอก ห้องเรียนครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่ง เรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อ ที่หลากหลาย ครูร่วมกันออกแบบการวัดผลประเมินผลเพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (PLC) เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ นำไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้
จุดเด่น
นักเรียนสามารถอ่านได้ เขียนคล่อง มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีการประเมินครบทุกด้าน ตามคุณภาพของผู้เรียน นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์ มาตรฐาน ผู้เรียนมีสุขภาพจิตที่ดี ผู้เรียนห่างไกลจากสิ่งเสพติดให้โทษต่าง ๆ โรงเรียนมีการบริหารและ การจัดการอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้โรงเรียน ครู นักเรียน เข้าร่วมการประกวดต่างๆเพื่อพัฒนาผลงานในด้าน ต่างๆ สถานศึกษาได้ให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมห้องเรียนให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้มีการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน วิธีการที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
จุดที่ควรพัฒนา
1. แม้ครูจะได้รับการพัฒนาโดยการเข้ารับการฝึกอบรม แต่ในทางปฏิบัติจริง การจัดครูผู้สอน เข้าสอนไม่ตรงกับความถนัดในแต่ละกลุ่มสาระ และมีครูไม่เพียงพอต่อชั้นเรียน
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต้องพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะวิชาหลัก และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีเพียงบางภาคเรียนเท่านั้น
3. นักเรียนยังจำเป็นต้องมีการฝึกฝนทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง และมีการสืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ให้มาก ไม่พึ่งพาผู้ปกครองมากนัก ผู้บริหารและครู มีความกระตือรือร้นที่จะดำเนินการจัดการศึกษาที่สนองนโยบายการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง แต่ยัง ขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจน และขาดงบประมาณในการสนับสนุน
แนวทางการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
จากผลการดำเนินงานทั้งหมด โรงเรียนจะต้องพัฒนาบุคลากร และส่งเสริมนักเรียนให้ได้รับ การพัฒนา ตามศักยภาพให้ครบในทุกด้าน และต้องพัฒนาในด้านดังต่อไปนี้
1. โรงเรียนเร่งพัฒนาการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณและการคิดวิเคราะห์
2. โรงเรียนศึกษาวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการประเมินระดับชาติ
ในบางกลุ่มสาระลดลง โดยวิเคราะห์ทั้งในภาพรวมของโรงเรียนและผู้เรียนรายบุคคล เพื่อนำผลมาพัฒนา ปรับปรุงการจัดการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป
3. ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น และสร้างเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ มีความเข็มแข็ง เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
5. ส่งเสริมให้ครูมีเครื่องมือในการวัดผลการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามสภาพจริง อิง ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้พัฒนา ตนเอง
6. ฝ่ายวิชาการจัดทำเครื่องมือในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและเอกสารธุรการชั้นเรียนให้ เป็นรูปแบบมาตรฐาน มีข้อมูลที่ครูผู้สอนสามารถนำมาวางแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของ ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ
7. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้หรือการจัด กิจกรรมให้แก่ผู้เรียนมากขึ้น